โรคเกาต์ เป็นโรคข้อซึ่งเกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งโรคนี้รักษาหายขาดได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ( Gout )
เกาต์ เป็นชื่อโรคที่คุ้นหู แม้จะได้ยินชื่อโรคเกาต์อยู่บ่อยๆ ก็มีน้อยคนที่จะรู้จักว่าคืออะไร บางคนอาจประสบปัญหาปวดข้อและกระดูกซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกาย
โรคเก๊าท์เกิดจากสาเหตุใด
หลายคนมีความเชื่อว่าโรคเก๊าท์เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทสัตว์ปีก ซึ่งจริงๆ แล้วถือเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดเนื่องจากโรคเก๊าท์มีสาเหตุมาจากการความผิดปกติของร่างกาย ที่ไม่สามารถขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้ จึงทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกในเลือดสูง ส่งผลให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ที่ปวดตามบริเวณข้อและปวดกระดูก และเกิดอาการบวม แดงตามข้ออย่างรุนแรง
กรดยูริกเปรียบเสมือนของเสียในร่างกาย โดยกรดยูริกส่วนใหญ่เกิดจากขบวนการสร้างเซลล์ใหม่ๆ เพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป และมีกรดยูริกอีกส่วนที่เกิดจากการสลายของอาหารพิวรีน หรือโปรตีนที่รับประทานเข้าไป ทั้งนี้การสะสมของกรดยูริกที่มากเกินไปไม่ได้มาจากการทานอาหารที่มีโปรตีนสูง แต่มาจากการที่ร่างกายมีความผิดปกติทำให้ไม่สามารถขจัดกรดยูริกออกจากไตได้มากเพียงพอ โดยเฉลี่ยแล้วจะมีการสะสมในร่างกายตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ทำให้มักพบผู้ป่วยโรคเก๊าท์ในวัย 35 - 45 ปี
ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นกรดยูริกในเลือด
- การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการระดับกรดยูริกในร่างกาย หรือกลไกการขับกรดยูริก ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ ไม่ว่าจะเป็น ยาเคมีบำบัดบางชนิด ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิตบางชนิด หรือ ยาแอสไพริน
- การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ กุ้ง ปลาซาร์ดีน หอยแมลงภู่ กะปิ
- โรคบางชนิดที่กระตุ้นร่างกายให้สร้างกรดยูริกมากกว่าปกติ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต
- อาการป่วยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ลูคีเมีย โรคมะเร็ง และโรคสะเก็ดเงิน
ระยะอาการของโรคเก๊าท์โรคเก๊าท์สามารถแบ่งอาการของผู้ป่วยออกเป็น 3 ระยะหลักๆ ดังนี้
- ระยะเฉียบพลัน
ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่ในระยะนี้จะมีอาการปวดข้อแบบเฉียบพลันทันที มักพบอาการปวดตอนกลางคืน และบริเวณเกิดอาการปวดได้บ่อย ได้แก่ หัวแม่เท้าและที่ข้อเท้า
สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ในระยะเฉียบพลันแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาการปวดเก๊าท์ยังคงสามารถหายไปเองได้ แต่จะกลับมาปวดซ้ำๆ อีกเรื่อยๆ และมีอาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ
- ระยะช่วงพัก
ในระยะช่วงพักผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะไม่มีอาการปวดข้อ และสามารถใช้ชีวิตประจำวันหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ โดยที่เมื่อมีอาการปวดข้อระยะเวลาที่ปวดจะสั้นลง แต่ความถี่ของอาการปวดมากจะมากกว่าระยะเฉียบพลัน และจะปวดถี่ขึ้นเรื่อยๆ
- ระยะเรื้อรัง
ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์มานานกว่า 10 ปีขึ้นไป จะมีอาการข้ออักเสบหลายข้อ และปวดตลอดเวลา ไม่มีช่วงเว้นว่างหายสนิท และในระยะนี้มักมีปุ่มก้อนขึ้นตามข้อต่างๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบ
โดยปุ่มเหล่านี้เกิดจากก้อนผลึกยูเรทที่มีการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเรื้อรังหากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี จะสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้อาการของโรครุนแรงมากกว่าเดิม
โรคเก๊าท์เกิดในบริเวณใดบ้าง
- ปวดข้อนิ้วหัวแม่เท้า ปวดข้อเท้า ข้อกลางเท้า
- ปวดข้อเข่า
- ปวดข้อมือ ข้อกลางมือ
- ปวดข้อศอก
- ปวดตาตุ่มของเท้า
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ถ้าหากมีอาการปวดตามข้อต่อต่างๆ ตามร่างกายอย่างกะทันหันหรือรุนแรง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีต่อไป เนื่องจากโรคเก๊าท์เป็นโรคที่ไม่สามารถหายไปได้เอง แต่อาการปวดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหากไม่เข้ารับการรักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธี
นอกเหนือจากโรคเก๊าท์แล้ว หากคุณมีอาการปวดตามข้อแม้ว่าจะไม่ได้เป็นโรคเก๊าท์ แต่ถ้าหากมีอาการปวดรุนแรงก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายและเรารับการรักษาที่ถูกวิธี
วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
สาเหตุหลักของโรคเก๊าท์มาจากระดับกรดยูริกที่สะสมมากเกินความจำเป็นในร่างกาย การป้องกันโรคเก๊าท์ที่สามารถทำได้คือการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง และสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถดูแลรักษาตัวเองเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้นได้ ดังนี้
- ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี
- ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ปีก อาหารทะเลบางชนิด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
- ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
- หากมีอาการปวดข้อเฉียบพลันแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้งาน
โรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดการที่ร่างกายทำงานผิดปกติ หรือการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเข้าไป ทำให้ไม่สามารถขับกรดยูริกออกได้หมด ทำให้เกิดการสะสม ของกรดยูริกในร่างกายและตกผลึกเป็นตะกอนตามข้อต่อจนทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดกระดูก แม้ว่าในปัจจุบันโรคเก๊าท์จะสามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว แต่ถ้าผู้ป่วยไม่เข้ารับการรักษาหรือรักษาผิดวิธีโรคเก๊าท์สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดนิ่วในไตหรือภาวะไตวายได้
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.