การอาบน้ำ เป็นสิ่งที่ใครหลายคนรู้สึกไม่อยากทำ แต่จริงๆ แล้วความขี้เกียจอาบน้ำ มีอะไรมากกว่านั้น เพราะมันเชื่อมโยงไปถึงปัญหาสุขภาพจิตได้ ( bath )
นิสัยไม่ชอบอาบน้ำ นอกจากทำให้ร่างกายสกปรกเเล้วยังส่งผลให้มีกลิ่นตัว เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย สิ่งสกปรกต่างๆจะสะสมอยู่บนผิวหนังจำนวนมาก ทำให้ผิวเกิดผื่นคันได้
อาบน้ำอย่างไรให้ผิวแข็งแรง ?
เคล็ดลับอีกวิธีหนึ่งในการหย่างเซิงส่งเสริมสุขภาพประจำวัน สามารถทำได้โดยการอาบน้ำ และการอาบน้ำอย่างถูกวิธีจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและระบบเมตาบอลิซึม ขจัดสิ่งสกปรกและสารอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายอ่อนล้า และช่วยส่งเสริมคุณภาพของการนอนหลับพักผ่อนให้สนิทและดียิ่งขึ้น
รู้หรือไม่ ? หากคุณอาบน้ำผิดวิธี ก็อาจจะทำให้เสียสุขภาพได้อีกเช่นกัน
1. ก่อนอาบน้ำควรเตรียมพร้อมร่างกายประมาณ 5-10 นาที เพื่อปรับสภาพร่างกายให้อบอุ่น อุณหภูมิในร่างกายพอเหมาะในการอาบน้ำหรือแช่น้ำหากอาบน้ำในขณะที่ร่างกายเหนื่อยล้าจากการทำงานอย่างหนัก เมื่อร่างกายมากระทบกับอุณภูมิน้ำที่เย็นมา สัมผัสกับผิว จะทำให้ระบบภายในร่างกายเกิดอาการรวน เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายและภายนอกร่างกายเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ส่งผลทำให้เกิดเป็นหวัดได้ง่ายและบางคนเป็นหวัดทันที
2. ควรระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าหู จะส่งผลทำให้หูอักเสบได้
3. ควรเริ่มต้นชะล้างร่างกายด้วยน้ำเปล่าก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว การใช้น้ำเปล่าล้างผิว เป็นการเริ่มต้นเพื่อชำระล้างฝุ่นละออง หรือคราบเหงื่อ สิ่งสกปรกที่เคลือบผิวออกจากตัวก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดฟอกตามตัว ส่วนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวนั้น ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนกับผิว หรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีน้อย หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติ จะช่วยป้องกันผิวที่อาจระคายเคืองได้ง่าย
4. ในขณะอาบน้ำควรทำความสะอาดเริ่มต้นตั้งแต่คอ ไล่ลงไปเรื่อยๆ จนถึงส่วนล่าง รวมไปถึงจุดข้อพับส่วนต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนที่สะสมคราบไคลและแบคทีเรียเวลาที่เหงื่อออก การใช้สครับขัดผิวควบคู่ไปด้วยจะช่วยผลัดเซลล์ผิวที่แห้ง ออกจากร่างกาย ช่วยชะล้างสิ่งสกปรก และทำให้ผิวนุ่มเนียนมากขึ้น
ช่วงเวลาในการอาบน้ำก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรอาบน้ำช่วงเวลาดึก เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศจะเริ่มเย็น อาจจะทำให้เป็นหวัดและไม่สบายได้ง่าย รวมไปถึงวันที่มีแดดจัด อากาศร้อนจัดอีกเช่นกัน หากคุณอาบน้ำในวันที่อากาศร้อนจัด อาจทำให้หลอดเลือดขยายตัวอย่างฉับพลัน ส่งผลทำให้หัวใจและสมองขาดเลือดอย่างกระทันหัน จนเกิดอาการวิงเวียนและแน่นหน้าอก และอาจเกิดอันตรายในกรณีที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ , ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
6. อุณภูมิของน้ำที่อาบแบบไหนถึงจะดีต่อสุขภาพ น้ำที่อาบไม่ควรร้อนหรือเย็นจัดเกินไป หากเป็นน้ำอุ่นจะดี และที่สำคัญไม่ควรอาบน้ำเกิน 15-20 นาที
7. การล้างหน้า ควรล้างหน้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป พยายามไม่ขัดถูใบหน้าด้วยมือรุนแรง ใช้เพียงปลายนิ้วกดนวดใบหน้าเบาๆ จะช่วยกำจัดสิ่งอุดตันในรูขมขนบนใบหน้า ช่วยผ่อนคลายและเป็นการกระตุ้นเลือดบนใบหน้าให้ไหลเวียนดีขึ้น
เราจำเป็นต้อง “อาบน้ำ” ทุกวันหรือไม่?
เรามาดูสาเหตุที่ทำให้เราอยากอาบน้ำกันก่อน
- กลิ่นตัว กลิ่นเหงื่อ
- อากาศร้อน อยากรู้สึกสะอาดสดชื่น
- อยากรู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอน
- เป็นหนึ่งในกิจกรรมตอนเช้าที่ต้องทำ
- อาบน้ำหลังทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้เหงื่อออกมาก เช่น ออกกำลังกาย
แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเราไม่มีเหงื่อ ไม่ได้เป็นคนกลิ่นตัวแรง ไม่ได้ออกกำลังกาย และไม่ได้อยากได้รับความรู้สึกสดชื่นอะไรแต่อย่างใด เช่น เราอาจจะไม่ได้ทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออก อยู่บ้านเปิดแอร์นอนทั้งวัน หรืออยู่ในภูมิอากาศที่หนาวเย็นตลอดเวลา เราไม่อาบน้ำทุกวันได้หรือไม่?
จริงๆ แล้วไม่มีผลงานวิจัยอะไรที่จะยืนยันได้ว่า การไม่ได้อาบน้ำทุกวันส่งผลเสียอะไรต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน แต่การอาบน้ำ “บ่อยเกินไป” อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ดังนี้
- ผิวอาจแห้งเกินไปจนทำให้รู้สึกคัน ระคายเคือง
- ผิวที่แห้งแตกอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เชื้อโรค แบคทีเรียเข้ามาทำร้ายผิว ทำให้ผิวติดเชื้อ เป็นโรคผิวหนัง หรือทำให้เกิดอาการแพ้ได้
- การใช้สบู่ หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อาจทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีต่อผิวหนังบางส่วนออกไปด้วย
- ผิวหนังของเรายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีจุลินทรีย์ดี ที่ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคบางอย่างได้ การอาบน้ำบ่อยเกินไปจงอาจทำให้ร่างกายลดทอนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคบางอย่างไปด้วยเช่นกัน
อาบน้ำบ่อยแค่ไหน ถึงจะเหมาะสม?
การอาบน้ำทุกวันถือว่าบ่อยเกินไปหรือไม่? คำตอบไม่เฉพาะตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าผิวหนังของคุณมีความสกปรกมากน้อยแค่ไหน ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น หากอยู่ในประเทศไทย เหงื่อออกตั้งแต่ก้าวแรกที่ออกนอกบ้าน คุณก็ควรอาบน้ำทุกวัน แต่หากคุณไม่ได้ทำกิจกรรมที่เหงื่อออก และอยู่ประเทศที่มีอากาศหนาว คุณอาจไม่จำเป็นต้องอาบน้ำทุกวัน อาบเฉพาะช่วงที่รู้สึกว่าร่างกายต้องการความสดชื่น มีกลิ่นตัว หรือเหตุผลอื่นๆ
วิธีการอาบน้ำ ที่เหมาะสมกับร่างกาย
การอาบน้ำที่เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคนอาจมีวิธีที่แตกต่างกันไปโดยปกติการอาบน้ำจะมี 2 วิธีหลักในการอาบน้ำ
- การอาบน้ำด้วยฝักบัว : จะสามารถทำความสะอาดได้อย่างทั่วร่างกาย และฝักบัวยังสามารถปรับแรงดันน้ำ และรูปแบบการไหลของน้ำได้อย่างหลากหลาย การใช้ฝักบัวในการอาบน้ำจะดีต่อระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย ช่วยผ่อนคลายจากความเมื่อยล้า คลายเครียด และช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี
- การอาบน้ำด้วยอ่างอาบน้ำ : การแช่น้ำในอ่างน้ำจะช่วยลดอาการเจ็บปวด อาการอักเสบในร่างกาย บรรเทาความเครียด ก่อนการแช่อางอาบน้ำ ควรล้างตัวเพื่อขจัดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกตามร่างกายให้สะอาดและค่อยลงแช่น้ำ เพราะการแช่น้ำอุ่นจะช่วยกระตุ้นให้เลือดในหลอดเลือดไหลเวียนได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่งผลให้โลหิตไหลเวียนได้ทั่วร่างกายอีกด้วย
วิธีอาบน้ำ ให้ดีต่อผิว
- การเตรียมความพร้อมก่อนการอาบน้ำ
- การเตรียมพร้อมร่างกาย ก่อนการอาบน้ำเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะร่างกายอาจเสียสมดุลในการปรับอุณหภูมิ โดยไม่ควรอาบน้ำหลังออกกำลังกายเสร็จทันที ซึ่งเราควรใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีเพื่อปรับอุณหภูมิร่างกายก่อนการอาบน้
- อุณหภูมิของน้ำ
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนมากเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวแห้งและทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ควรใช้น้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง เพื่อเพิ่มความสบาย และทำให้ชุ่มชื้นของผิวไม่แห้งคัน
- ระยะเวลาในการอาบน้ำ
- การอาบน้ำไม่ควรใช้เวลานานหรืออาบน้ำดึกเกินไป เพราะอาจทำให้ทำให้ร่างกายเสียสมดุลในการปรับอุณหภูมิ ทำให้เกิดผิวแห้งและทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น
- การบำรุงผิวหลังจากการอาบน้ำ
- หลังจากการอาบน้ำเสร็จแล้ว ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะสมเพื่อบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นและแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และยิ่งการใช้ครีมหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำมัน จะช่วยบำรุงผิวและช่วยปรับสภาพผิว เพื่อคืนความชุ่มชื้นและความอ่อนโยนให้กับผิวให้ดียิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติม : อาบน้ำดึกทำลายสุขภาพจริงหรือไม่
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.