ปวดหัวอยู่บ่อยๆ อย่าเพิ่งชะล่าใจ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไมเกรนหรือโรคเนื้องอกในสมองได้ ( headache )
ปวดหัวเป็นโรคยอดฮิตของทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่ที่พบได้บ่อยมักเป็นชนิดไม่รุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลตัวเอง เเต่อาการปวดหัวบางชนิด เเค่กินยาอย่างเดียวอาจไม่หายปวดหัว (Headaches) หรือปวดศีรษะ เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะหรือคอส่วนบน ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกระโหลกศีรษะ หรือสมองเกิดการอักเสบหรือระคายเคือง จนทำให้เกิดอาการปวดขึ้น โดยอาการปวดอาจมาจากเส้นประสาท บริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ปาก และคอกล้ามเนื้อของคอหรือไหล่ และหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง
ปวดหัวบอกอะไร?
โดยปกติแล้วอาการปวดหัวแต่ละประเภทมักมีลักษณะการปวดที่แตกต่างกันออกไป เช่น อาการปวดหัวไมเกรนเป็นการปวดตุบๆที่ศีรษะข้างใดข้างหนึง อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวจะมีอาการปวดเหมือนโดนบีบรัดค่อนไปทางขมับและหน้าผากโดยมักปวดทั่วทั้งศีรษะ หรืออาการปวดคลัสเตอร์ เป็นอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณเบ้าตาหรือด้านหลังตา ทั้งนี้ความถี่และความรุนแรงของอาการปวดหัว จะเป็นไปตามสาเหตุของอาการปวดหัวแต่ละประเภท และตำแหน่งที่ปวดอาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของใบหน้า กะโหลก หรือทั้งศีรษะ
อาการแบบไหน เรียกว่า “ปวดหัวเรื้อรัง”
อาการปวดหัวเรื้อรังเป็นอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นมากกว่า 15 วันต่อเดือน โดยมักมีอาการปวดที่ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นการปวดหัวที่เกิดจากความเครียด, ไมเกรน, การกินยาแก้ปวดเกินขนาด, การใช้ยาแก้ปวดไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากโรคต่างๆภายในร่างกาย ทำให้เกิดเป็นอาการปวดหัวเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ปวดหัวเรื้อรังแบบเป็นอันตราย โดยอาการปวดหัวดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เนื้องอกในสมอง ซึ่งต้องได้รับการตรวจรักษาโดยด่วน ปวดเรื้อรังแบบไม่เป็นอันตราย แต่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันคืออาการปวดหัวที่เกิดขึ้น จากความเครียด การทำงาน อาการตึงของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการดังกล่าวถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตราย แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งหลายคนมักคิดว่าแค่อาการปวดหัวซื้อยามากินก็หาย หรือเป็นแค่อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ แค่ไปนวดเดี๋ยวอาการก็ดีขึ้น แต่ความจริงแล้วการที่เรารักษาเองอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ใช้ยาเกินขนาดจนส่งผลต่อตับและไต หรือกระทั่งการนวดคลายกล้ามเนื้อที่รุนแรง จนทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเลือดบาดเจ็บกลายเป็นปัญหาปวดหัวเรื้อรัง
อาการปวดหัวเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง มาดูกัน
ความเครียด
เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่หลายคนพบเจอ หากสังเกตดีๆ เมื่อไหร่ที่เครียดจะรู้สึกปวดหัวหนักๆ ที่ขมับทั้งสองข้าง ปวดตื้อๆ บางคนอาจปวดต้นคอ ไหล่ และหลังร่วมด้วย หากคุณมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ นั่นอาจแปลว่าคุณกำลังอยู่ในความเครียด กดดัน หรือวิตกกังวลลองผ่อนคลายด้วยการหากิจกรรมทำ หรือออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ดูบ้าง
พักผ่อนไม่เพียงพอ
การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตุบๆ ได้ในตอนเช้า นอกจากนี้ยังทำให้รู้สึกไม่อยากตื่น อ่อนเพลียจากอาการนอนน้อย ตื่นเช้ามาไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า อาจนำมาซึ่งความเครียด หงุดหงิดง่ายอีกด้วย ทางทีดีควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงจะดีกว่า
อากาศร้อนอบอ้าว
จริงๆ แล้วอากาศเป็นตัวกระตุ้นการปวดศีรษะชั้นดีเลยทีเดียว เพราะเมื่ออากาศร้อนขึ้น ความชื้นและความดันเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการสร้างสารเคมีในสมองซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้
ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
เพราะฮอร์โมนเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ โดยเฉพาะฮอร์โมนในช่วงมีรอบเดือน สาวๆ หลายคนมักมีอาการปวดศีรษะช่วงมีประจำเดือน นั่นก็เพราะว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการลดระดับลง ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ
อาการปวดศีรษะลักษณะใดที่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร่งด่วน?
- ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลันอย่างที่ไม่เคยปวดมาก่อนในชีวิต
- ปวดศีรษะทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น
- ปวดศีรษะเมื่อออกกำลังในกิจกรรมต่างๆ
- ปวดศีรษะร่วมกับอาการสับสน หลงลืม อ่อนเพลีย มีไข้สูง ความดันโลหิตสูง เกิดความผิดปกติทางการมองเห็น เสียการทรงตัว หมดสติ สูญเสียความรู้สึกตัว ซึมลง ชักเกร็ง
อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน บางครั้งอาการปวดเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถหายได้เองในระยะเวลาไม่นาน แต่เมื่อไหร่ที่เกิดความผิดปกติก็ไม่ควรละเลย เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่นๆ ตามมา
เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.