ออฟฟิศซินโดรมปัญหาเรื้อรังที่รักษาได้

โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน สาเหตุมาจากการนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ หรือนั่งไม่ถูกวิธี หากไม่รักษาหรือป้องกัน อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้ (office syndrome)

การนั่งท่าเดิมนานๆ ส่งผลให้ปวดหลังได้

ออฟฟิศซินโดรมโรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อยู่ท่าเดิมซ้ำๆจนปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
หากได้รับการรักษาที่ตรงจุดก็สามารถหายขาดได้

โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จัดอยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ซึ่งมักเกิดจากการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง โดยผลของมันจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ตลอดจนปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่นๆ ไล่ลงมาตั้งแต่คอหลัง บ่า ไหล่ แขน หรือแม้กระทั่งบริเวณข้อมือ หากผู้ที่พบว่ามีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ไม่ทำการรักษาตัวในทันทีที่พบอาการอาจทรุดหนักลง และลุกลามจนผู้ป่วยมีอาการปวดชนิดเรื้อรังก็เป็นได้

โดยพบได้บ่อยในกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย ต้นคอ บ่า และสะบักหากละเลย ปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา สามารถนำไปสู่โรคที่รุนแรงมากขึ้นเช่น กระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาท โดยอาการของออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อย ได้แก่

  • ปวดตึง ปวดหนักๆ ที่ท้ายทอย ต้นคอ บ่า สะบัก หรือเอว และสะโพก
  • อาการปวดร้าวขึ้นท้ายทอย ขมับ กระบอกตา 
  • อาการชา เย็นวูบวาบ คลื่นไส้ มึนศีรษะ

สาเหตุของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

โดยส่วนมากอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศเป็นหลัก นั่นเพราะพฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่นจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนลืมตัว ไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกขึ้นเดินไปไหนมาไหนเลย ซึ่งนี่เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อมัดต่างๆ เกิดอาการยึดเกร็งและอักเสบในเวลาต่อมา เนื่องจากโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่มาจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ นานๆ ดังนั้นสาเหตุของโรคจึงมาจากพฤติกรรมเหล่านี้

  1. ท่าทางการนั่ง ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ที่นั่งทำงานผิดท่าเป็นเวลานาน การวางมือ วางศอกบนโต๊ะในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง หรือการใช้ข้อมือซ้ำๆ จากการใช้เมาส์ ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อมือได้
  2. สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ระดับหน้าจอคอม ระยะห่างจากจอกับดวงตา หรือแม้แต่แสงสว่างภายในห้องก็มีผลทำให้ท่าทางการนั่งผิดไปหรือไม่เหมาะสม

แนวทางการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

ในปัจจุบันการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถกระทำได้หลากหลายวิธี โดยเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดนั่นคือ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองก่อน หรือการรับประทานยารักษา แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องทำกายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์ชนิดพิเศษ การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี การฝังเข็มแบบสลายจุดปวด กระตุ้นไฟฟ้า การนวดแผนไทย และอื่นๆ 

ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ รวมถึงตรวจดูว่ามีอาการแทรกซ้อนใดๆ หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้อย่างเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด

วิธีการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

  • รักษาด้วยยา
  • ทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัดตามความเหมาะสมของอาการเช่น อัลตร้าซาวด์ เลเซอร์รักษา การกระตุ้นไฟฟ้าและการประคบร้อน การยืดกล้ามเนื้อ
  • ฝังเข็ม บรรเทาอาการปวด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน ท่าทางการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องตามอิริยาบถ

ออฟฟิศซินโดรมโรคยอดฮิตของคนทำงาน

นอกเหนือจากการรักษาที่กล่าวมาแล้วในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาอาการปวดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย คือ

  • การรักษาด้วยคลื่นรักษาแบบรวมพลังงาน 
  • การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ซึ่งช่วยรักษาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เเละเห็นผลได้อย่างชัดเจน

การป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

  • หมั่นออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการปวดเมื่อย การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้เเข็งเเรงอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ เช่น ปรับเก้าอี้ให้อยู่ในท่านั่งที่สบาย ปรับจอคอมให้อยู่พอดีกับระดับสายตา
  • เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเสียใหม่ โดยจากที่เคยนั่งอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ให้หาเวลาไปเดินผ่อนคลายกล้ามเนื้อและพักสายตาอย่างน้อยทุกๆ1 ชั่วโมงกำลังดี
  • หากพบว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถหายได้จากการยืดกล้ามเนื้อ การปรับอิริยาบถในการทำงาน หรือการดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมโดยทันที

ควรเปลี่ยนอิริยาบถนั่งการนั่งทำงานเพื่อลดอาการปวดหลังโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ขยับกล้ามเนื้อปล่อยให้ตัวเองนั่งอยู่ท่าเดิม จนทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง จนเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ ตลอดจนพัฒนากลายเป็นอาการปวดแบบเรื้อรังซึ่งนั่นสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย หากใครกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่เเนะนำให้ลองไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกกายภาพบำบัดเพื่อได้รับการรักษาตั้งเเต่เนิ่นๆ

เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.