ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้เกิดโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ( PM 2.5 )
ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม คือฝุ่น PM 2.5 ที่ยังไม่หายไป มีผลกระทบต่อสุขภาพ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ และเข้าสู่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ฝุ่นPM 2.5 คืออะไร
ทำไมในประเทศไทยจึงมีค่ามลภาวะทางอากาศสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก ฝุ่นที่มีขนาดเล็กเหล่านี้มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร และมีวิธีป้องกันฝุ่นมลพิษนี้ให้หมดไปจากบ้านและครอบครัวคุณได้หรือไม่
เพราะฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถล่องลอยอยู่ในอากาศ เมื่อเราสูดเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย ขนจมูกของเราไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยกรองฝุ่นนั้นได้ ฝุ่นอนุภาคเล็ก ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ, ไซนัสอักเสบ, ไอเรื้อรัง หรือภูมิแพ้ผื่นคันตามร่างกายได้ในระยะยาว
ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากสาเหตุใด
- การคมนาคม ควันจากท่อไอเสีย และการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ก็เป็นอีกแหล่งกำเนิดใหญ่ของ PM 2.5 โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น การจราจรที่หนาแน่นทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 เป็นจำนวนมาก
- การผลิตไฟฟ้าและการทำอุตสาหกรรม พื้นที่ที่ปล่อยมลพิษมากที่สุดคือ นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และการเผาปิโตรเลียมและถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้นี้ปล่อยก๊าซพิษออกมามากมาย ก๊าซคาร์บอน (CO) รวมไปถึงฝุ่นละอองต่างๆ ด้วย
- ควันจากการสูบบุหรี่ จุดธูป เผากระดาษ จุดพลุ ทำอาหารประเภทปิ้งย่าง ควันรถ อู่ซ่อมรถ พ่นสีรถ ไอเสียจากรถยนต์ หรือการจราจร เป็นการเผาไหม้ของน้ำมันดีเซลจากรถยนต์ หรือยานพาหนะต่างๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศเช่นกัน
- การเผาป่า ก่อให้เกิดควันพิษ เเละ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจของคนเเละสิ่งมีชีวิต
อันตรายและผลกระทบผลกระทบทางสุขภาพ
- เกิดอาการไอ จาม หรือภูมิแพ้
- ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
- เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
- เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
- เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือโรคมะเร็งปอด
อันตรายและผลกระทบผลกระทบทางผิวหนัง
- มีผื่นคันตามตัว
- ปวดแสบปวดร้อน ระคายเคือง
- เป็นลมพิษ ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิดลมพิษบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ
- ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย
วิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM2.5
- สวมหน้ากาก N95 หรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี คือ คลุมจมูกลงมาถึงใต้คาง และต้องแนบสนิทกับใบหน้า เพื่อป้องกันฝุ่น
- เลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน ในบริเวณที่มีค่ามลพิษทางอากาศสูง หรือที่มีการจราจรหนาเเน่น
- หมั่นทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมของฝุ่นภายในบ้าน
- เลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 เช่น การเผาขยะ การเผาหญ้า ควันบุหรี่
- เช็กและติดตามข่าวสาร ติดตามคุณภาพอากาศฝุ่น PM 2.5 เสมอ โดยเฉพาะเมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ติดตามข่าวสาร หรือใช้แอปพลิเคชันตรวจสอบคุณภาพอากาศอยู่เสมอ เพื่อช่วยในการวางแผนทำกิจกรรมหรือแผนเดินทาง ซึ่งจะช่วยให้เราปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ได้
- เครื่องฟอกอากาศช่วยได้ ควรหาเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ มาเป็นตัวช่วย โดยเฉพาะหากใช้เวลาอยู่ภายในบ้านหรืออาคารเป็นเวลานาน อากาศอาจไม่ไหลเวียน เครื่องฟอกอากาศ นอกจากจะช่วยฟอกอากาศ กรองฝุ่นละออง ฝุ่นเชื้อโรคต่าง ๆ แล้ว ยังช่วยกรองกลิ่น และรักษาสมดุลความชื้นภายในบ้านอีกด้วย
- ทำความสะอาดร่างกาย เมื่อออกนอกบ้านแม้ว่าจะป้องกันอย่างดี แต่เมื่อกลับมาบ้านก็ควรรีบนำเสื้อผ้าไปซัก และทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย เพื่อกำจัดฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมที่อาจติดผิวหนังมา พร้อมทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวกันผิวแห้ง
- สวมแว่นตากันฝุ่น สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไปในสถานที่เสี่ยงฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ นอกจากการสวมใส่หน้ากากที่ได้มาตรฐานแล้ว ก็ควรมีแว่นตาสำหรับใส่กันฝุ่นเพื่อช่วยป้องกันดวงตาของคุณจากฝุ่นและมลพิษต่าง ๆ อีกด้วย
หากพบอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่น่ากังวล ไม่ว่าจะเป็นผื่นคัน ระคายเคืองจมูก ระคายเคืองตา ระคายเคืองผิว หรืออาการที่บ่งบอกถึงภูมิแพ้ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อเช็กร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการปวดศีรษะ เหนื่อยหอบ หายใจติดขัด ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัย
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.