รักษารอยแผลเป็นง่ายๆเเต่ได้ผลจริง

รอยแผลเป็น อุปสรรคของความสวยงาม สร้างความไม่มั่นใจให้กับทุกคน หากมีวิธีทำให้ผิวกลับมาเนียนเหมือนเดิมคงจะดีอยู่ไม่น้อย ( scar )

scar

เมื่อผิวหนังได้รับบาดเจ็บจนเป็นแผล ร่างกายจะตอบสนองในการซ่อมแซมผิวหนังบริเวณนั้น จะผลิตคอลลาเจน เพื่อช่วยสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายขึ้นใหม่ทำให้บาดแผลสมานกัน

แผลเป็น (Scar) คือ รอยที่เหลือหลังจากบาดแผลหายสนิท หากแผลเป็นอยู่ในแนวเดียวกับรอยย่นผิวหนัง แผลเป็นจะไม่ชัด เพราะซ่อนไปในแนวผิวหนัง ดังนั้นแผลเป็นจากอุบัติเหตุจึงมักชัดเจนกว่าแผลจากการผ่าตัด

แผลเป็นมีผลกระทบต่อเราอย่างไร

แผลเป็น สามารถเป็นสาเหตุให้บางคนนั้นสูญเสียความมั่นใจ โดยผลที่มีต่อจิตใจนี้มักจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งของแผลเป็น หรือลักษณะในการเกิดของแผลเป็น รวมทั้งปัจจัยทางด้านอายุ และเพศของบุคคลนั้นๆ

ลักษณะแผลเป็น

แผลเป็นที่มีปัญหาแยกได้ตามลักษณะ ได้แก่

  1. ปัญหาแผลนูนมักเกิดจาก 2 ภาวะ คือ แผลคีลอยด์ เป็นแผลที่นูนออกนอกขอบเขตของแผลเดิมมาก มีอาการคัน มักเกิดบริเวณหน้าอกจากการผ่าตัดหัวใจ บริเวณหัวไหล่จากการปลูกฝี ติ่งหูหลังการเจาะหู หรือเป็นที่อื่น ๆ และปัจจัยทางพันธุกรรมเสริมแผลเป็นนูน เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายเพื่อให้แผลหาย แผลเป็นอยู่ในขอบเขตของแผลเดิม
  2. แผลเป็นหลุม
  3. แผลยืดกว้างจากรอยเย็บเดิม
  4. แผลที่มีการดึงรั้ง โดยเฉพาะเมื่อแผลเชื่อมโยงระหว่างข้อต่อ
  5. แผลที่มีความตึง

แผลเป็นที่เรารู้จักมีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน

แผลเป็นจากอุบัติเหตุทั่วไป

เกิดจากเนื้อเยื่อผิวหนังได้รับบาดเจ็บ จากการถูกกระแทก ของมีคม ถูกความร้อน หรือเย็นจัดหรือเกิดจากเหตุที่เราไม่คาดคิด นับเป็นแผลเป็นที่เกิดจากอุบัติเหตุ เกิดเป็นรอยแผลหดรั้ง ทำให้บริเวณแผลผิดรูปได้

แผลจากการผ่าตัด

การศัลยกรรม การผ่าตัดทั่วไป รวมถึงผ่าคลอดบุตร มักจะทิ้งรอยแผลเป็นที่มีรอยคล้ำสีจางๆเอาไว้หลังจากที่ตัดไหมไปแล้ว ถ้าเป็นรอยเล็กๆใช้เวลาไม่นานมักจะจางหายไปเอง ด้วยกลไลการสร้างเซลล์เพื่อมาซ่อมแซมร่างกาย แต่หากเป็นแผลใหญ่มีรอยเป็นปื้นที่ของแผลกว้าง กว่ารอยจะจางลงก็ต้องใช้เวลานาน รักษา แผลเป็น

แผลเป็นหลุมสิว

เกิดจากสิวอุดตันถูกเชื้อแบคทีเรีย มาทำการย่อยสิวที่ใต้ผิวหนัง ไม่สามารถออกมานอกผิวได้ ทำให้ใต้ผิวเกิดการอักเสบเป็นหนอง หนองแตกทำให้คอลลาเจนบริเวณนั้นเกิด การทำลายเซลล์ผิวเกิดความเสียหาย แต่ร่างกายของเรามีความฉลาดมาก เพราะจะทำการซ่อมแซ่มผิวจนเป็นพังผืดขึงตึงบริเวณที่หนองแตก และในที่สุดก็เป็นหลุมสิว ยิ่งถ้าใครเป็นสิวอักเสบเยอะๆ ผิวก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดรอยแผลเป็นหลุมสิวได้ง่ายมากๆ

แผลเป็นคีลอยด์ (แผลนูน)

เกิดจากกระบวนการรักษาแผล มีการสร้างคอลลาเจนมากผิดปกติ ทำให้เนื้อเยื่อของแผลเป็นที่เกิดขึ้นกว้างขึ้นจนเกินขอบเขตของแผลเดิมมีลักษณะนูน มีสีเข้มกว่าสีผิวปกติ และอาจมีอาการคัน หรือเจ็บร่วมด้วย รอยแผลเป็นชนิดนี้จะไม่หายไปเองหรือยุบลงไปเองตามธรรมชาติ บางคนมีอาการเจ็บ รู้สึกผิวตึงรั้งร่วมด้วย แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่ส่งผลด้านความสวยงามและสภาพจิตใจได้ 

รอยบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุ

วิธีรักษาแผลเป็นให้จางลง

หลายคนอาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินอีในการรักษาแผลเป็น เพราะวิตามินอีได้รับการโฆษณาอย่างแพร่หลายว่ามีสรรพคุณในการช่วยรักษาแผลเป็นได้ แต่ความจริงแล้ววิตามินอีมีส่วนช่วยในการบำรุงผิวในระหว่างการสมานแผลเท่านั้น อาจไม่มีประสิทธิภาพโดยตรงในการทำให้รอยแผลเป็นดีขึ้นได้  

การรักษาแผลเป็น การรักษาแผลเป็นแต่ละชนิดก็มีขั้นตอนการรักษาแตกต่างกัน ถ้าแผลเป็นแบบมีรอยดำรอยแดง ก็สามารถใช้ยาลดรอยดำรอยแดงได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือทำเลเซอร์ลดรอยก็ช่วยได้แล้ว ส่วนแผลเป็นแบบยุบตัว ต้องทายากระตุ้นการสร้างคอลลาเจนพวกกรดวิตามินเอ หรือกระตุ้นเนื้อเยื่อด้วยการผ่าตัดหรือเลเซอร์ก็ช่วยได้ ส่วนแผลเป็นแบบนูนและคีลอยด์ ต้องฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในแผลเป็น บางคนอาจต้องรักษาแผลเป็นด้วยความเย็นและเลเซอร์ รวมไปจนถึงการฉายรังสีร่วมด้วย

รักษาแผลเป็นด้วยการผ่าตัด 

โดยจะเป็นการตัดแผลออกหรือลดขนาดของแผลเป็นให้เล็กลง เหมาะสำหรับคนที่ที่ทำการรักษาด้วยการฉีดยาเสตียรอยด์แล้วผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควร หรือใช้กับแผลคีลอยด์บริเวณตำแหน่งที่ผ่าตัดได้ เช่น แผลคีลอยด์ติ่งหูที่มีขนาดใหญ่มาก โดยตัดออกทั้งหมดหรือตัดบางส่วนออกให้เล็กลง การรักษาแผลเป็นคีลอยด์ด้วยการผ่าตัด จำเป็นต้องใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอื่น เพราะแม้จะผ่าตัดแล้วก็ยังมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้

รักษาแผลเป็นด้วยเลเซอร์ 

เป็นอีกทางเลือกในการรักษา โดยเลเซอร์ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนใหม่ และกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ จึงช่วยให้สีแผลเป็นดูจางลง ลดความนูนของแผล ให้ดูเนียนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะแผลเป็นจากคีลอยด์ หรือการผ่าตัดคลอดบุตร ผ่าตัดรักษาโรคต่างๆ ทางนรีเวช ก็สามารถใช้การรักษาด้วยวิธีนี้ได้ เพื่อคืนความมั่นใจให้คุณ โดยแนะนำให้รับการเลเซอร์อย่างน้อย 3 ครั้งจึงจะเห็นผลลัพท์ที่น่าพึงพอใจ

รักษาแผลเป็นด้วยการทานอาหารมีประโยชน์ 

การหมั่นรับประทานอาหารที่ช่วยสมานแผล ก็จะช่วยทำให้แผลของเราหายได้เร็วขึ้น

ผักใบเขียวมีทั้งธาตุเหล็กและสังกะสีค่ะ แร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้ถือเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเรื่องของการสมานแผลได้ดี ช่วยสังเคราะห์โปรตีนและคอลลาเจน แถมยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวใหม่ได้ด้วย การรับประทานผักใบเขียวจะช่วยทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แผลสมานเร็วขึ้นและช่วยลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นได้

เนื้อปลามีไขมันดีซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ได้ นอกจากนี้ไขมันดียังช่วยยืดเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เกิดการสมานแผลได้เร็วขึ้น ซึ่งไขมันดีนอกจากจะมีมากในเนื้อปลาแล้ว ยังพบในอาหารจำพวกน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง อัลมอนด์  

น้ำถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายและยังมีส่วนช่วยในกระบวนการสมานแผลของร่างกายค่ะ เมื่อร่างกายมีความชุ่มชื้น เซลล์ผิวหนังก็จะสามารถเคลื่อนที่จากขอบแผลมาปิดคุมบาดแผลได้ดี กลับกันหากร่างกายเราขาดน้ำ ก็จะทำให้ผิวแห้งและสามารถเพิ่มความเจ็บปวดบริเวณบาดแผลได้ 

รักษาแผลเป็นด้วยการทายา 

ทายา ยาบางชนิดจะมีส่วนประกอบเป็นสารที่ช่วยลดการอักเสบ และลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน ผลก็คือ แผลเป็นที่เป็นรอยแดง รอยคล้ำดำ ค่อยๆ จางลง บางชนิดจะเป็นซิลิโคน มีทั้งรูปแบบแผ่นเจลแปะ หรือเป็นเนื้อเจลเหลว ทาเพื่อกดทับบริเวณแผล ที่นูนอยู่จะแบนลง และไม่นูนมากขึ้น แต่ต้องมีวินัยใช้สม่ำเสมอ

  • ควรใช้ในขณะที่แผลแห้งปิดสนิท ไม่ควรใช้กับแผลสด
  • ก่อนทาควรล้างมือให้สะอาด และเช็ดมือให้แห้งก่อนทุกครั้ง
  • หมั่นทาบาง ๆ ที่รอยแผลเป็นอย่างสม่ำเสมอ และใช้อย่างต่อเนื่องทุกเช้า-เย็น
  • ควรใช้ขณะที่ผิวแห้งเท่านั้น ห้ามใช้กับผิวเปียก
  • ใช้ร่วมกับครีมกันแดด และพยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดรอยดำ

การรักษาแผลเป็นอาจต้องใช้เวลา แต่เมื่อทำอย่างต่อเนื่องย่อมได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าแน่นอน เเต่สมัยนี้มีวิธีการเลเซอร์ที่ได้ผลเร็วขึ้น เเละทำให้แผลนั้นหายเเบบเนียบสนิท เพิ่มความมั่นใจของคุณให้กลับมาอีกครั้ง

อ่านเพิ่มเติม : ชอบทำศัลยกรรมบ่อยๆ จนกลายเป็นโรคเสพติดศัลยกรรมโดยไม่รู้ตัวการทายาเพื่อช่วยให้แผลเป็นหายเร็วขึ้น

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง