โรคร้ายช่วงหน้าร้อนอันตรายถึงชีวิต

ปีนี้อากาศร้อนอุณหภูมิสูงทั้งวัน ออกไปข้างนอกทีไรร่างกายอ่อนเพลีย เสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดด ( summer )

summer

สภาพอากาศร้อนจัดเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดด หากร่างกายได้รับความร้อนมากๆส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย จึงจำเป็นมากที่จะต้องดูแลตัวเองให้ดี เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

อากาศร้อนจัดเสี่ยงเป็นโรคลมแดด

อากาศร้อนจัดเดือนเมษา พฤษภา เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่หลายคนจะได้ออกไปเที่ยว หรือกลับบ้านไปพบกับครอบครัวช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ ยังเป็นเดือนที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปีแล้ว มีความเสี่ยงเกิดอาการป่วยจากอาการที่ร้อน ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอีกหลายโรค รวมทั้งภาวะฉุกเฉิน อย่าง “โรคลมแดด” หรือ Heat Stroke 

โรคลมแดดคืออะไร (ฮีทสโตรก)

อากาศที่ร้อนจัดในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้เราต้องเฝ้าระวังภาวะลมแดดโดยเมื่อออกกําลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในสภาพอากาศร้อนชื้น และดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้นมาก การถ่ายเทของอากาศไม่ดี จะทำให้อุณหภูมิร่างกายของเราเพิ่มสูงขึ้นจนอาจเป็นลมแดดได้ โดยเฉพาะในทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคลมแดดแม้ว่าจะไม่ได้ทํากิจกรรมที่ใช้แรงก็ตาม 

อาการของโรคลมแดด

โรคลมแดดไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่สัมผัสกับอากาศร้อน แต่เกิดขึ้นจากการอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานานหรือในอุณหภูมิที่ร้อนสูง ซึ่งเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หากรุนแรงมากอาจทำให้เกิดการชักเกร็งและเสียชีวิตได้ในที่สุด

  • หน้ามืด 
  • วิงเวียน 
  • ปวดศีรษะ 
  • ชัก หมดสติ  
  • ไตวาย  
  • ช็อก ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ  

หากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ถ้าไม่รีบปฐมพยาบาลให้ทันท่วงที อย่าลืมสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และควรรู้ขีดจำกัดของร่างกาย หากไม่สามารถทนความร้อนได้ ควรออกมาอยู่ที่โลงและอากาศถ่ายเทโดยเร็ว

วิธีป้องกันตัวเองจากโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศแออัดร้อนจัด
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้
  • หมั่นดื่มน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถึงแม้จะไม่หิวก็ตาม เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
  • อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงสิ่งมีชีวิตไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ความร้อนภายในรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงมาก
  • เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่อากาศร้อนและไม่ควรอยู่ตามลำพัง
  • สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเท ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง
  • สวมแว่นกันแดด สวมหมวกป้องกันความร้อน กางร่มเพื่อไม่ให้ความร้อนสัมผัสโดนร่างกาย
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหากมีอาการผิดปกติ หรืออาการที่บ่งบอกตามข้างต้น ขอให้รีบพบแพทย์โดยทันที

การรักษาโรคลมแดด

หากเป็นลมแดด ควรโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน เพราะการพยายามลดอุณหภูมิร่างกายเองนั้นอาจไม่สำเร็จ ระหว่างรอความช่วยเหลือนั้น ผู้ป่วยไม่ควรดื่มน้ำ การรักษาโรคลมแดด เบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยการลดอุณหภูมิร่างกาย โดยพาผู้ป่วยเข้ามาในร่มหรือในที่ที่มีเครื่องปรับอากาศและมีอุณหภูมิที่เย็น ถอดเสื้อผ้าและคลายเครื่องแต่งกายที่รัดแน่นเกินไป และอาจเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น ใช้ถุงน้ำแข็งวางบริเวณศีรษะ ลำคอ รักแร้ และขาหนีบ ใช้สเปรย์น้ำเย็นพ่น หรือนำผู้ป่วยลงแช่ในอ่างอาบน้ำเย็นในระหว่างที่รอรถพยาบาล ที่สำคัญคือห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากเครื่องดื่มจำพวกนี้จะทำให้ความสามารถในการปรับอุณหภูมิของร่างกายสูญเสียไป และน้ำเย็นจะทำให้เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหารได้

ป้องกันตัวเองเมื่อต้องอยู่ในที่มีอากาศร้อนจัด

 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นพบเมื่อเจอผู้ที่เป็นโรคฮีทสโตรก

  • ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม
  • กันคนที่ห้อมล้อมผู้ป่วยออก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น
  • นอนศีรษะราบ ยกขาสูงทั้งสองข้าง โดยหาของมารองปลายเท้า เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น
  • คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่น ปลดเข็มขัด ถอดรองเท้า ถุงเท้า
  • ถอดเครื่องประดับที่ไม่จำเป็นออก
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำอุณหภูมิห้อง เช็ดใบหน้า ลำตัว ท้ายทอยและข้อพับโดยการเช็ดทวนรูขุมขนขึ้นไป เช็ดแบบทางเดียว
  • หรือใช้น้ำแข็งประคบที่ซอกคอ ขาหนีบ รักแร้
  • รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

การรับมือกับอากาศร้อนเป็นเรื่องสำคัญเพราะอาการฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นควรระมัดระวังและดูแลสุขภาพอย่างดีในช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนจัดทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย การรักษาอุณหภูมิของร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกาย จิบน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ควรป้องกันตัวเองด้วยการหมั่นสังเกตอาการเมื่อออกแดด และปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวไปเบื้องต้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก 

อ่านเพิ่มเติม : ฮีทสโตรกภัยเงียบจากอากาศร้อนจัดที่มีความอันตรายถึงชีวิต

ดื่มน้ำบ่อยๆป้องกันร่างกายขาดน้ำ

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.