ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้อยู่เป็นประจำนั้น หากนำหลับมาใช้ซ้ำบ่อยๆ อาจเป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค จุลินทรีย์ต่างๆ มากมายที่เราอาจมองไม่เห็น ( Plastic bottles )
เมื่อจำเป็นต้องใช้ขวดพลาสติกซ้ำ การทำความสะอาดจึงจำเป็นเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อยู่ในขวดหรือกลิ่นเหม็นจากขวด เมื่อใช้ซ้ำทำให้ มีคราบแบคทีเรียและเชื้อราตกค้างอยู่
การทำความสะอาดขวดน้ำพลาสติก มีวิธีแก้ป้องกันและแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นได้ดังนี้
- ต้องล้างทำความสะอาดขวดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ด้วยแปรงล้างขวด เพราะเราไม่สามารถใช้มือเข้าไปขัดถูด้านในได้สะดวกเหมือนการล้างภาชนะอื่นๆ การใช้แปรงล้างขวดที่มีด้ามยาวจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการทำความสะอาดและป้องกันเรื่องคราบตกค้างต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
- ใส่น้ำเข้าไปในขวดสักประมาณครึ่งขวด จากนั้นให้เติมเกลือลงไปสักประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นก็ให้เขย่าขวดแรงๆจนเกลือละลาย และตั้งทิ้งไว้สักประมาณ5 นาที เสร็จแล้วจึงเทน้ำเกลือทิ้ง แล้วล้างเขย่าขวดด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งขวดจะใสสะอาดมากขึ้นและกลิ่นเหม็นก็หายไปด้วย
- ผสมน้ำกับน้ำส้มสายชู กรอกใส่ขวดน้ำดื่มให้ได้ประมาณครึ่งขวด เขย่าให้ทั่ว และพักทิ้งไว้สัก 10 นาที แล้วจึงล้างออกให้สะอาด
- ผสมน้ำอุ่นกับเบกกิ้งโซดา คนให้ละลายเข้ากัน นำไปกรอกใส่ขวดเขย่าให้ทั่ว หรือจะใช้แปรงล้างขวดช่วยขัดถูก็ได้ ตั้งทิ้งไว้ 5-10 นาที เททิ้งและล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
ขวดน้ำพลาสติกอันตรายหรือไม่ ?
อันตรายจากขวดน้ำอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของพลาสติกที่ใช้ผลิต ซึ่งพลาสติกบางชนิดก็อาจปล่อยสารเคมีอันตรายอย่างสาร BPA ที่ทำหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมนเพศในร่างกาย และอาจรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
พลาสติกที่นำมาผลิตขวดน้ำในไทยมี 5 ชนิด ได้แก่
- พอลิเอทิลีน (PE)
- พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET)
- พอลิพรอพิลีน (PP)
- พอลิคาร์บอเนต (PC)
- พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC)
นำขวดน้ำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ อันตรายหรือไม่ ?
การนำขวดน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำอาจไม่เป็นอันตรายอย่างที่คิด เนื่องจากมีการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่พบว่า สารเคมีจากขวดน้ำพลาสติกไม่ได้เกินค่าที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานสากลซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจาก การดื่มน้ำ ที่บรรจุในขวดน้ำพลาสติก ก็อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในขวดน้ำมากกว่า ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า แม้ขวดน้ำพลาสติกมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานเพียงครั้งเดียว แต่ก็อาจนำมาใช้บรรจุซ้ำได้อย่างปลอดภัย เพียงแต่ต้องทำความสะอาดขวดอย่างเหมาะสม
การนำขวดน้ำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการล้างทำความสะอาดขวด PET ที่มีรูปทรง หรือร่องที่เป็นลวดลายสวยงามของขวด หากเราล้างไม่สะอาดพอจะทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี ถ้าสังเกตว่าขวดน้ำที่ผ่านการล้าง และใช้ซ้ำนาน ๆ เริ่มมีรอยร้าว บุบ แตก มีสีที่เปลี่ยนไป ขุ่น หรือมีคราบเหลืองให้ทิ้งทันที
นอกจากนี้หากเก็บพลาสติกชนิดนี้ไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม ก็สามารถเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะเมื่อขวดน้ำพลาสติก ถูกแสงแดดหรือความร้อนเป็นเวลานาน ทำให้สารเคมีบนขวดพลาสติกสลายตัว ละลายปนในน้ำดื่ม หรือหากวางน้ำดื่มไว้ใกล้สารเคมี วัตถุอันตราย หรือผงซักฟอก ก็จะส่งผลให้น้ำในขวดพลาสติกดูดกลิ่นสารเคมีเข้าไปได้ ทำให้มีกลิ่นไม่ชวนดื่ม และมีโอกาสที่สารนั้นอาจปนเปื้อนสู่น้ำดื่ม ซึ่งเราก็จะได้รับสารเคมีนั้นไปด้วย
การทำความสะอาดขวดน้ำก่อนนำกลับมาใช้ใหม่
วิธีทำความสะอาดขวดน้ำตามคำแนะนำของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้
- ล้างมือให้สะอาดก่อนล้างขวด
- เปิดฝาขวดน้ำและหงายฝาไว้บนบริเวณที่สะอาด
- เช็ดหรือทำความสะอาดรอบปากขวดให้หมดจด
- ล้างภายในขวดให้สะอาด
- ทิ้งขวดน้ำไว้ให้แห้งก่อนนำมาใช้ซ้ำ
ดังนั้นสรุปได้ว่า สามารถนำ ขวดพลาสติก PET กลับมาใช้ซ้ำได้ ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ไม่ควรใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งเนื่องจากอาจก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ ถ้าจำเป็นต้องใช้ซ้ำ ก็ควรทำความสะอาดเพื่อลดการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเห็นว่าขวด PET เริ่มขุ่น มีรอยขีดข่วน บุบหรือแตก ก็ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำอีก
เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่สะสมในรอยแตกของบรรจุภัณฑ์และส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้
เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.