การดื่มน้ำที่ไม่สะอาด มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง

หลายคนมักมองข้ามเรื่องความสะอาดของน้ำดื่ม อาจเป็นต้นเหตุของอาการปวดท้อง หรือเป็นโรคร้ายแรงที่แก้ไขยากก็เป็นได้ ( drinking water )

ดื่มน้ำสะอาดเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพดี

น้ำดื่มเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีของร่างกาย หากน้ำที่เราดื่มไม่สะอาดเพียงพอ อาจทำให้เป็นสาเหตุของโรคติดต่อได้มากมาย ตั้งแต่ท้องร่วง ไปจนถึงอหิวาตกโรค

ร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 70% และหากขากน้ำติดต่อกันถึง 3 วัน อาจทำให้เสียชีวิตได้ เราจึงควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อปรับสมดุลในร่างกายทำให้มีสุขภาพดี คุณภาพน้ำดื่ม เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก หากดื่มน้ำไม่สะอาดย่อมให้โทษมากกว่าคุณประโยชน์แน่นอน

วิธีเช็ก “น้ำดื่ม” ว่าสะอาด ปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือไม่

  • ค่าความเป็นกรด-ด่าง มีการกำหนดไว้ว่า น้ำดื่มจะต้องมีค่าอยู่ในช่วง 6.5-8.5 ซึ่งมีความเป็นกรดหรือเบสเพียงเล็กน้อย สามารถดื่มได้ ไม่เป็นอันตราย
  • น้ำตู้หยอดเหรียญ ดื่มได้จากการสุ่มตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคในปี 2561 ของกรมอนามัยพบว่า มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภค โดยน้ำประปาน้ำตู้หยอดเหรียญและน้ำบรรจุถัง 20 ลิตร มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคมากที่สุด แต่หากพิจารณาจากปัจจัยภายนอกของตู้น้ำดื่มว่ามีการติดตั้งที่ได้ตามมาตรฐานหรือไม่ 
  • น้ำประปา อยู่ในมาตรฐานการตรวจวัดมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้ ที่ทางกรมอนามัยกำหนด เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพน้ำประปานั้น ใช้ตัวชี้วัดในการตรวจสอบมากถึง 21 ตัวชี้วัด ทั้งด้านกายภาพ เคมี แบคทีเรีย ค่าความกระด้าง ค่าความเป็นกรด-ด่าง ฯลฯ มั่นใจได้ว่าน้ำประปาไทยมีคุณภาพดี ทั้งนี้ควรตรวจสอบสภาพถังเก็บน้ำ สายน้ำ ก๊อกน้ำ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพดี ได้มาตรฐานอยู่เสมอด้วย
  • ดื่มน้ำต้มสุก ปลอดภัยกว่าสำหรับพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด หากซื้อน้ำอุปโภคบริโภคจากแหล่งที่ไม่มั่นใจในคุณภาพ ก่อนนำมาดื่ม ควรต้มน้ำให้เดือดอย่างน้อย 1 นาที แล้วเก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิดมิดชิด  drinking water

อันตรายจากน้ำดื่มไม่สะอาด

อหิวาตกโรค (Cholera)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มน้ำไม่สะอาด ทำให้แบคทีเรียเข้าไปอยู่ในลำไส้และสร้างพิษออกมาทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก เป็นสาเหตุของอาการท้องเดินอย่างรุนแรง จนอุจจาระเป็นสีน้ำซาวข้าวและถ่ายวันละหลาย ๆ ครั้ง ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว  หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 24 ชั่วโมงไปจนถึง 5 วัน

ทั้งนี้หากอาการไม่รุนแรง มักจะหายภายใน 1-5 วัน แต่หากอาการรุนแรง อาจมีท้องเดินและมีเนื้ออุจจาระมาก มีกลิ่นเหม็นคาว บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ หากอาการดังกล่าวไม่หายไปเองภายใน 1 – 6 วัน จะทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะขาดน้ำอย่างมาก, ลุกนั่งไม่ไหว, ปัสสาวะน้อย, หน้ามืด, เป็นลม หากรุนแรงอาจถึงขั้นช็อกและเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคบิด (Dysentery)

เป็นอาการท้องเสียอย่างรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชิเกลลา (Shigella) และอะมีบา (E. histolytica) โดยอาการที่พบได้แก่ ท้องเสีย และถ่ายอุจจาระบ่อย แม้ว่าช่วงแรกที่ได้รับเชื้อจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ภายหลังจะเริ่มท้องเสียติดต่อกันมากกว่า 3 ครั้งและอุจจาระเป็นน้ำ อาจมีมูกหรือมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระและอาการปวดเกร็ง หรือปวดแบบบีบ ๆ บริเวณท้องเป็นพัก ๆ หรืออาจปวดหน่วงบริเวณทวารหนัก นอกจากนี้ยังมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ขึ้นสูงมากตามมาด้วย

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid)

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ผ่านน้ำที่ปนเปื้อนและอาหาร หรือแม้กระทั่งสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อนี้ โดยมีอาการที่สังเกตได้คือไข้ต่ำและเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะช่วงกลางคืน ผู้ป่วยอาจมีไข้สูงได้มากถึง 40.5 องศาเซลเซียส รวมถึงอาการปวดศีรษะ ไอแห้ง เบื่ออาหารและน้ำหนักตัวลดลง รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย มีเหงื่อออกหรือผื่นขึ้นบริเวณหน้าท้องหรือหน้าอก ปวดท้อง ท้องบวม และท้องเสีย

โรคตับอักเสบเอ (Hepatitis)

เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Picornavirus ทำให้ตับอักเสบเฉียบพลัน โดยมีอาการที่สังเกตได้คือเป็นไข้, รู้สึกอ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร, คลื่นไส้อาเจียน, ท้องร่วง, ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้ม, รู้สึกแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา รวมถึงตัวและตาเหลืองตามมา

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)

เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าน้ำที่ได้รับ จึงมีน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนของเหลวและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง, หัวใจ, ไต และทางเดินอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้รู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ, ตาและปากแห้ง, ปัสสาวะน้อย, ท้องผูก, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้ อาเจียน, อ่อนเพลีย หากอาการรุนแรงจะมีอาการหัวใจเต้นแรงและเร็ว, หายใจหอบถี่ หรืออาจถึงขั้นช็อกหมดสติจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

การดื่มน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายส่งผลให้ผิวพรรณดี

เลือกเครื่องกรองน้ำถูกหลัก ป้องกันสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม

  1. หากต้องการเลือกเครื่องกรองน้ำสำหรับน้ำดื่ม ควรเลือกเครื่องที่มีไส้กรองหลายชั้นเพื่อคัดกรองสิ่งสกปรกได้หมดจด และควรมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรียด้วย
  2. พิจารณาจากสภาพน้ำดิบ เพราะน้ำประปาและน้ำบาดาลมีปริมาณสารปนเปื้อนแตกต่างกัน การเลือกเครื่องกรองน้ำให้เหมาะกับสภาพน้ำจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
  3. เลือกจากประเภทไส้กรอง ซึ่งไส้กรองแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติต่างกันไป เช่น ไส้กรองเยื่อ UF ช่วยดักจับแบคทีเรีย ไวรัส และจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำได้ดี ไส้กรองเมมเบรน กรองสารละลายที่ปนเปื้อนมากับน้ำได้ 
  4. ขนาดของเครื่องกรองน้ำต้องสัมพันธ์กับปริมาณการใช้น้ำและจำนวนสมาชิกในครอบครัว เพื่อไม่เป็นการสิ้นเปลืองน้ำและทำให้เครื่องกรองทำงานหนักโดยเปล่าประโยชน์
  5. เครื่องกรองน้ำต้องมีมาตรฐานรับรองความปลอดภัย หรือการรับรองจากสมาคมคุณภาพน้ำดื่มแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ NFS ซึ่งเป็นการรับรองผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่ตรงตามมาตรฐานสากล

การดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย ช่วยส่งผลให้สุขภาพดีได้ เมื่อสุขภาพดี ผิวพรรณก็จะเปล่งปลั่ง ดูมีน้ำมีนวล ผิวใส ระบบขับถ่ายดี สมองของเราประกอบด้วยน้ำถึง 85% น้ำจึงเป็นตัวกลางสำคัญในการนำพลังงาน ออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไปเลี้ยงสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสมองได้รับน้ำเพียงพอ ความคิดสร้างสรรค์ก็จะตามมา รับรองทำงานได้ดีไม่มีสะดุดแน่นอน  

 เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม : การดื่มน้ำสะอาดส่งผลให้มีสุขภาพดี ดื่มให้ถูกวิธีช่วยให้น้ำหนักลด

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง