ปัญหารองเท้ามีกลิ่นเหม็นไม่ใช่เรื่องเล็ก เสียความมั่นใจกับตัวเองเเละสร้างความเดือดร้อนกับคนรอบข้างได้ ( Smelly shoes )
รองเท้าเหม็น มักเกิดจากความอับชื้นหรือสกปรก ซึ่งเมื่อปล่อยให้ทับถมกันไปนานๆ ผสมกับแบคทีเรียในอากาศ จะส่งผลโดยตรงทำให้เกิดของเสียและกลิ่นไม่พึงประสงค์นั่นเอง
รองเท้าเหม็นแก้อย่างไร...เป็นคำถามยอดฮิตที่หลายคนต่างค้นหา เพราะรองเท้าเหม็นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัย ซึ่งทำให้เสียความมั่นใจหากต้องถอดรองเท้า เเละทำให้เท้าของเรามีกลิ่นเหม็นอีกด้วยสร้างความรำคาญใจเพราะไม่ว่าจะทำความสะอาดหรือใส่ถุงเท้าแล้วก็ตาม แต่รองเท้าก็ยังมีกลิ่นเหม็นเหมือนเคย ฉะนั้นเพื่อจะจัดการกลิ่นเหม็นของรองเท้านั้นจำเป็นจะต้องมารู้กับสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นก่อนเพื่อเป็นการป้องกัน รวมไปถึงมาเรียนรู้วิธีที่จะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นให้หมดไป
รองเท้าเหม็นเกิดจากอะไร
เนื่องมาจากกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรีย และสิ่งสกปรกความอับชื้น ในถุงเท้าและรองเท้า แบคทีเรียจะทำการย่อยโปรตีนจากหนังของรองเท้า จึงก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ขึ้น ยิ่งมีน้ำขังเป็นเวลานานๆ ก็ยิ่งเพิ่มกลิ่นรุนแรง ในช่วงฤดูฝน จากการสัมผัสกับน้ำฝนบ่อยๆ รองเท้าจะเกิดการอับชื้นขึ้น แบคทีเรียทำงานได้ดี เท้าของคนเรามีต่อมเหงื่อมากกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และแม้ว่าเหงื่อจะไม่มีกลิ่น แต่รองเท้าที่ชื้นและไม่ระบายอากาศเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งแบคทีเรียนี้เองจะผลิตของเสียที่เป็นกรดอินทรีย์ที่ทำให้รองเท้ามีกลิ่นเหม็น และถึงแม้จะทำความสะอาดเท้าหรือซักรองเท้าแล้วก็ตาม แบคทีเรียก็ยังคงอยู่ในรองเท้าและทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอยู่ดี นั่นหมายความว่าการจะขจัดกลิ่นเหม็นให้หมดไปได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่การทำความสะอาดรองเท้า
เท้าเหม็น เกิดจากอะไร?
เท้ามีกลิ่นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน บางคนอาจคิดว่าอาการเท้าเหม็นเกิดขึ้นเฉพาะคนที่ต้องใส่รองเท้าใส่ถุงเท้าเป็นเวลานานๆหรือใส่ตลอดทั้งวัน ทำให้เท้าอับชื้นและมีกลิ่น แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เท้ามีกลิ่นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น
- เกิดจากพันธุกรรม เนื่องจากต่อมเหงื่อในร่างกายทำงานมากกว่าปกติ ทำให้มีเหงื่อออกมามาก โดยเฉพาะบริเวณเท้า เมื่อเกิดความอับชื้นก็ทำให้มีกลิ่นเหม็น
- เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการเท้าเหม็นที่เกิดจากแบคทีเรีย เป็นเพราะเมื่อเท้าเปียกน้ำแล้วไม่ได้ทำความสะอาดให้แห้ง ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียและกลายเป็นผื่นผิวหนังจนเกิดการอักเสบ
- เกิดจากโรคผิวหนังและมีแผลที่เท้า การติดเชื้อราทำให้มีอาการคัน และผิวหนังลอกเป็นขุย เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือเป็นโรคเบาหวานก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่องและกลายเป็นแผลลุกลามทำให้มีกลิ่นเหม็น
- เกิดจากรองเท้าและถุงเท้าที่สวมใส่ รองเท้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดีเมื่อสวมใส่คู่กับถุงเท้าก็จะยิ่งทำให้มีเหงื่อออกที่เท้ามากขึ้น ทำให้เกิดการอับชื้นและเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เท้าเหม็น
- เกิดจากการซักรองเท้าเเล้วตากไม่ดี ไม่แห้งสนิท ทำให้เกิดกลิ่นอับสะสมในรองเท้า พอใส่รองเท้าเป็นเวลานานๆเข้า ก็เกิดปัญหากลิ่นเท้าตามมา
กลิ่นเหม็นที่เท้าเป็นกลิ่นของสารอินทรีย์ระเหยได้ที่ถูกสังเคราะห์โดยเชื้อแบคทีเรีย การเกิดกลิ่นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ เหงื่อ, เชื้อแบคทีเรีย, และเศษซากของเซลล์ผิวหนัง
- เหงื่อ : ฝ่าเท้าของคนเราเป็นบริเวณที่มีต่อมเหงื่อหนาแน่นที่สุดในร่างกาย ในสภาวะที่มีเหงื่อออกมากบวกกับการระบายอากาศที่ไม่ดีจะเป็นสาเหตุให้เท้าเกิดความอับชื้น ซึ่งเป็นสภาวะที่เชื้อแบคทีเรียชอบและเจริญได้ดี
- เชื้อแบคทีเรีย : เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นนั้นจัดอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียประจำถิ่นที่ผิวหนังมนุษย์ มีการศึกษาที่พบว่าความรุนแรงของกลิ่นเท้าและปริมาณเชื้อแบคทีเรียมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก กล่าวคือ เท้าด้านที่อับชื้นและมีกลิ่นเหม็น มีเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากกว่าเท้าด้านที่ไม่มีกลิ่นเหม็นอย่างมีนัยสำคัญ
- เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว : เศษซากของเซลล์ผิวหรือขี้ไคลที่สะสมบริเวณผิวหนังจะเป็นทำหน้าที่แหล่งอาหารชั้นดีให้กับเชื้อแบคทีเรียที่เท้า
วิธีดูแลรักษาอาการเท้าเหม็น
คนที่มีปัญหาเท้าเหม็น ก่อนดูแลรักษาต้องรู้สาเหตุก่อนว่าอาการเท้ามีกลิ่นของเราเกิดจากอะไร เพราะการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ เมื่อทราบสาเหตุก็จะทำให้ดูแลรักษาได้อย่างถูกวิธี และบางวิธีก็สามารถดูแลได้ง่ายๆด้วยตัวเราเอง เช่น
- ดูแลรักษาความสะอาดที่เท้า โดยการล้างเท้าด้วยสบู่หลังจากล้างเท้าแล้วควรเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้ง
- ตัดเล็บเท้าและดูแลทำความสะอาดตามซอกเล็บอย่างสม่ำเสมอ (อาทิตย์ละครั้ง) เพื่อป้องกันเชื้อรา
- คนที่มีโรคประจำตัวอย่างเช่น เบาหวาน ควรทำความสะอาดและตรวจบริเวณเท้าบ่อยๆเพื่อป้องกันการเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบปลายประสาท ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อมีแผลจะหายช้า อาจอักเสบ หรือ มีอาการเนื้อตาย
- ควรใส่ถุงเท้าทุกครั้งก่อนสวมรองเท้าเพื่อป้องกันรองเท้ากัด ควรเลือกถุงเท้าให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย
- เลือกสวมใส่รองเท้าที่ผลิตจากไมโครไฟเบอร์แทนรองเท้าหนังหรือรองเท้าผ้าใบ เพราะวัสดุไมโครไฟเบอร์มีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยแก้ปัญหาเท้าเหม็นให้หายขาดได้
- นำรองเท้าที่ใส่เป็นประจำไปซัก เเล้วตากแดดผึ่งลมให้แห้งสนิทท สามารถช่วยลดกลิ่นอับเเละลดการสะสมของเชื้อโรคได้
- สับเปลี่ยนหมุนเวียนการใช้รองเท้า โดยระหว่างที่ไม่ใช้ควรนำรองเท้ามาตากแดดและผึ่งให้แห้งก่อนนำมาใส่ใหม่
- เเช่เท้าด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำส้มสายชู เพื่อลดการเกิดเเบคทีเรียเเละกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
- ขัดเท้าและตามซอกนิ้วเท้าด้วยแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม หรือทายาที่มีฤทธิ์ลอกเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เช่น AHA เพื่อลดโอกาสในการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้สเปรย์ลดกลิ่นอับในรองเท้าฉีดรองเท้าก่อนสวมใส่ เพื่อลดกลิ่นเหม็นอับลงได้
- รักษาเท้าให้แห้งอยู่เสมอ ข้อนี้สำคัญมาก คุณควรดูแลรักษาเท้าไม่ให้เปียกหรืออับชื้น ถ้าเท้าเปียกชื้นก็รีบหาอะไรมาเช็ดให้แห้ง แล้วใช้แป้งมาโรยและทาให้ทั่วเท้าอยู่เสมอ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันความอับชื้นได้
- หมั่นทำความสะอาดตู้เก็บรองเท้า
- หากที่เท้ามีเหงื่อออกมากผิดปกติอาจจะด้วยสาเหตุจากฮอร์โมน หรือพันธุกรรม ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ปัญหาเรื่องกลิ่นเท้า รองเท้าเหม็นอับนั้นกระทบถึงความมั่นใจของตัวเองเชื่อว่าทุกคนต้องเคยประสบกับปัญหา “เท้าเหม็น” กันมาบ้างแล้ว อยู่ที่ว่าใครจะมีกลิ่นเหม็นมากหรือน้อยเท่านั้นเอง เเละในบางทีอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับคนรอบข้างได้ แต่หากลองทำตามเคล็ดลับดังกล่าว เชื่อว่าปัญหาเรื่องกลิ่นเท้าลดลงอย่างแน่นอน แต่ถ้าหากยังไม่ดีขึ้นให้ลองปรึกษาแพทย์ดูนะคะ
อ่านเพิ่มเติม :เหงื่อออกเยอะบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพ
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.