แม้ว่าโรคมะเร็งจะเป็นโรคร้ายที่มีอาการรุนแรง แต่ปัจจุบันมีการรักษาที่ทันสมัย ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายมากขึ้น ( cancer )
มะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 แม้ว่ามะเร็งจะเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งที่ผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตามเนื้องอกของอวัยวะต่างๆ อาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป
โรคมะเร็งคืออะไร?
โรคมะเร็ง คือ โรคที่มีการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ โดยเซลล์มะเร็งจะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วกว่าเซลล์ปกติของร่างกาย และร่างกายไม่สามารถกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้ได้ทัน ทำให้เซลล์มะเร็งเหล่านี้เพิ่มจำนวนและกลายเป็นเนื้องอกที่ผิดปกติ มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนไปกดเบียดและทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้น ๆ และอวัยวะข้างเคียง และหากไม่ได้รับการรักษาเซลล์มะเร็งเหล่านี้สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ไกลออกไปผ่านระบบไหล เวียนเลือดและน้ำเหลือง ทำให้อวัยวะเหล่านั้นมีเซลล์มะเร็งไปเจริญอยู่และแบ่งตัวเป็นเนื้อเยื่อมะเร็งแล้วทำลายอวัยวะนั้น ๆ ซึ่งหากมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะหลาย ๆ ระบบก็จะทำให้การทำงานของร่างกายเสียไป จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
7 สัญญาณอันตรายเสี่ยง “โรคมะเร็ง”
- ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนแปลง
- แผลที่ไม่รู้จักหาย
- ร่างกายมีก้อนตุ่ม
- กลุ้มใจเรื่องการกลืนอาหาร
- ทวารทั้งหลายมีเลือดไหล
- ไฝ หูดที่เปลี่ยนไป
- ไอและเสียงแหบจนเรื้อรัง
โรคมะเร็งยอดฮิตที่คนไทยเป็นมากที่สุด
มะเร็งตับ
เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย มักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า โรคนี้จัดเป็นโรครุนแรงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดโรคหนึ่ง เพราะโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ ผู้ป่วยกว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักจะอยู่ในระยะท้ายของโรคทำให้ไม่มีทางรักษาให้หายได้แล้ว พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งตับ ผู้ที่ชอบทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ไหม้เกรียม หรืออาหารที่มีเชื้อรา อาหารที่ใส่สารกันบูด ที่สำคัญคือ ผู้ที่ชอบเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท
มะเร็งปอด
ปัจจุบันมะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบมากในประเทศไทย โดยพบในเพศชายเป็นอันดับ 2 และในเพศหญิงเป็นอันดับ 4 จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดมากกว่า 85% เกิดจากการสูบบุหรี่ และอีก 30% มาจากผู้ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดเป็นมะเร็งชนิดนี้เช่น มลพิษทางอากาศ พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งปอด การสูบบุหรี่ด้วยตัวเองหรือการสูดดมควันบุหรี่มือสอง การสูดดมฝุ่น รวมถึงมลพิษในอากาศเป็นระยะเวลายาวนาน
มะเร็งปากมดลูก
เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้หญิงจำนวนมาก เนื่องจากเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ง่าย จึงไม่น่าแปลกใจที่ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่มากถึง 500,000 คนทั่วโลก และยังเป็นอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในผู้หญิงไทย มักพบในช่วงอายุ 30-70 ปี (พบมากในช่วง 50 ปีขึ้นไป) แต่คนที่อายุก็ยังมีโอกาสเป็นได้ พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ต่ำกว่า 18 ปี มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย รวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่อง สตรีที่สูบบุหรี่หรือผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบบุหรี่
มะเร็งเต้านม
เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 1 ของโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง จะเริ่มพบได้ตั้งแต่วัยสาวเป็นต้นไป และจะพบได้มากขึ้นตามอายุ ประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม ส่วนมากจึงจะพบในหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี แต่ไม่ใช่ผู้หญิงเท่านั้นที่มีโอกาสเป็น เพราะผู้ชายเองก็เป็นได้แต่แค่น้อยกว่าเท่านั้นเอง พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งเต้านม คนที่ชอบอาหารที่มีไขมันสูง ชอบกินอาหารขยะ อาหารฟาสต์ฟู้ด หรือชอบสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
มะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งลำไส้ที่ถือเป็นหนึ่งในสามของชนิดมะเร็งสุดฮิตของคนไทย พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,300,000 คนต่อปี อาจเป็นเพราะว่าโรคนี้เกิดจากอาหารที่เราทานกันเป็นประจำ โดยที่ไม่รู้ตัวว่าอาหารเหล่านั้นอาจมีสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มักพบในอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป แต่อาจพบในเด็กโตได้ โดยผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน
วิธีดูแลร่างกายให้ห่างไกลมะเร็ง
- ออกกำลังกายให้มากขึ้น การออกกำลังกายนานครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด การออกกำลังกายไม่จำเป็น ต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงแบบนักกีฬาการเล่นโยคะ เดินหรือเต้นแอโรบิก ก็ถือเป็นการ ออกกำลังกายที่ช่วยต่อสู้กับ มะเร็งได้ดีที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยไม่ให้คุณเป็น โรคอ้วน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด
- เลิกบุหรี่ ในแต่ละปี มะเร็งปอดคร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดในบรรดามะเร็งชนิดต่าง ๆ ทั้งหมด ดังนั้นหากคุณติดบุหรี่ การเลิกสูบเสียแต่วันนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งสำคัญ ที่สุดที่จะลดความเสี่ยงจากมะเร็งปอดและโรคอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากบุหรี่ เลิกบุหรี่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณสามารถขอคำปรึกษาถึงวิธีการเลิก แบบต่างๆ จากแพทย์ได้ ทั้งการรักษาด้วยยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งวิธีการเหล่านี้ จะช่วยทำให้คุณเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ ผักจำพวก บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการต่อสู้กับมะเร็ง รวมทั้งเป็นส่วน ประกอบสำคัญในตำรับอาหารต้านมะเร็ง นอกจากนี้ ผลเบอร์รี่ ถั่วแดง และชาเขียวก็ได้ชื่อว่าอุดมไปด้วยสาร ต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับ ไวน์แดง ช็อกโกแลต และถั่วพีแกน ซึ่งสาร ต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ช่วย ร่างกายต่อต้านปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ปกติ ซึ่งในท้ายที่สุดอาจ กลายเป็นเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานแต่พอประมาณ
- คิดบวกทำจิตใจให้มีความสุข จัดการกับความเครียด ไม่ให้กระทบการนอน เพราะความเครียดสะสมมีส่วนทำให้ร่างกายเกิดอาการอักเสบ จนพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้ การนอนที่ไม่ได้คุณภาพยังส่งผลกระทบอีกมากมายต่อระบบการทำงานของร่างกาย จนทำให้ทรุดโทรมและต่อยอดสู่การเปิดโอกาสให้มะเร็งลุกลามได้อีกด้วย
อาหารก่อความเสี่ยงโรคมะเร็ง
มะเร็งเป็นอีกหนึ่งโรคที่ร้ายแรงที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง คือ อาหาร ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ อาหารหมักดอง อาหารรมควัน เนื้อแปรรูป อาหารทอด โดยเฉพาะกรณีใช้น้ำมันซ้ำ เนื่องจากของทอดมักมีไขมันทรานส์สูง
แนวทางการรักษามะเร็ง
- การรักษาด้วยคีโม เป็นยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวเร็ว และต่อเนื่อง ทั้งที่ต้นตอและที่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย ซึ่งยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในหลายรูปแบบ ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวต่อไปได้และตายในที่สุด
- การรักษาด้วยการฉายแสง เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้นๆ ซึ่งในแต่ละครั้งที่ฉายแสงนั้น เซลล์มะเร็งจะสะสมความผิดปกติของยีนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากรังสีได้และเซลล์นั้นก็จะตายลงการรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีการรักษามะเร็งที่อยู่เฉพาะที่ ยังไม่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงอื่นหรือไม่อยู่ระยะแพร่กระจาย
เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.