ประโยชน์ของกัญชา รักษาโรคอะไรได้บ้าง

เมื่อกัญชาถูกปลดล็อกจากสารเสพติดสู่การนำมาใช้อย่างเสรี ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแม้กัญชาจะให้โทษในด้านอื่นๆ แต่ในทางการเเพทย์แล้ว กัญชาถือว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณที่ดีหลายอย่าง ( cannabis )

 cannabis

ใบกัญชาขึ้นชื่อว่าเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดกว้างอย่างเสรีเเล้ว มีประโยชน์ทางการเเพทย์มีฤทธิ์ทำให้เกิดความผ่อนคลาย นำมาใช้เพื่อรักษาโรคมากมาย

กัญชา คืออะไร

กัญชา เป็นพืชล้มลุกคล้ายต้นหญ้า มีสารเคมีอยู่ในใบกัญชาชื่อ Cannabinoids ในปัจจุบัน กัญชานิยมนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น สเปรย์ น้ำมัน แคปซูล เครื่องพ่นไอระเหยทางการแพทย์ ไปจนถึงการนำมาใส่ในอาหาร และเครื่องดื่มต่างๆทำให้มีรสชาติที่ดีอร่อยขึ้น และในทางการแพทย์นั้น กัญชาทุกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ โดยแต่ละรูปแบบของการรักษา ให้ปริมาณความเข้มของสารแคนนาบินอยด์ที่ไม่เหมือนกัน และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล  

สรรพคุณ ของกัญชา คุณสมบัติกัญชา มีอะไรบ้าง

  • ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น
  • นอนหลับง่าย 
  • ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
  • ต่อต้านอาการซึมเศร้า
  • ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

กัญชากับประโยชน์ทางการแพทย์

ปัจจุบันมีการนำกัญชามาใช้เพื่อรักษาโรคและความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายมากมาย โดยข้อมูลการศึกษาวิจัยในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ยังมีข้อมูลจำกัด อย่างไรก็ตาม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อเป็นแนวทางการใช้ ดังนี้

  • ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด
  • โรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชัก
  • ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  • การเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย

กัญชาใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

การใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงที่ผู้ใช้ควรทราบคือ หลังจากการใช้สารสกัดกัญชาแล้วจะมี อาการง่วงซึม ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ ไม่ควรทำงานกับเครื่องจักรกล หากท่านมีอาการเวียนศีรษะ ร่างกายเสียความสมดุล หัวใจเต้นเร็วหรือช้าลง และความดันโลหิตผิดปกติ ควรลดปริมาณการใช้ แต่หากมีความผิดปกติ เช่น อาการสับสน กระวนกระวาย วิตกกังวล ประสาทหลอน รวมถึงหากใช้แล้วเกิดอาการแพ้ เช่น มีผื่นขึ้น หน้าบวม ตาบวม ริมฝีปากบวม ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์ทันที

หากนำกัญชามาใส่ในอาหารช่วยทำให้รสชาติอร่อยขึ้น

โทษของกัญชาต่อสุขภาพ

 ทำให้เกิดอาการเมากัญชา

อาการเมากัญชาอาจเป็นโทษของกัญชาที่ควรระวัง โดยร่างกายอาจดูดซึมสาร THC จากกัญชาเข้าสู่เลือด เมื่อเลือดไหลเวียนไปที่สมองหรืออวัยวะอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการเมากัญชาได้ ซึ่งอาการเมากัญชามักเกิดขึ้นในระยะสั้นและแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล เช่น 

  • มีปัญหาด้านการทรงตัว
  • ตอบสนองช้าลง มีปัญหาด้านความจำและการตัดสินใจ
  • สับสน มึนงง ง่วงซึม
  • วิตกกังวล หวาดระแวง
  • ความดันโลหิตลดลง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ตาแดง
  • มองเห็นภาพหลอน

พัฒนาการของสมองลดลง

การใช้กัญชาหรือการสูดดมควันจากกัญชาในเด็กและวัยรุ่นที่สมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ อาจเกิดโทษของกัญชาต่อพัฒนาการของสมองได้ โดยอาจส่งผลให้การทำงานของสมองลดลง เช่น มีปัญหาด้านความจำ เรียนรู้ได้ช้า โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในระยะยาว หรืออาจเกิดขึ้นนานตลอดชีวิตก็ได้เช่นกัน

เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

การใช้กัญชาผ่านการสูบอาจก่อให้เกิดโทษของกัญชาเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ โดยอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อปอดและลำคอ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด เช่น หลอดลมอักเสบ หรือถุงลมโป่งพองนอกจากนี้ การใช้กัญชายังอาจมีสารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นสารก่อมะเร็ง และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้ 

กลุ่มคนที่ควรระมัดระวังอย่างมากเมื่อต้องใช้กัญชา ได้แก่

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยจิตเวช
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด เนื่องจากเพิ่มโอกาสในการทำให้เกิดภาวะเลือดเหลว เลือดหยุดยาก และอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้
  • ห้ามใช้กัญชาในคนอายุต่ำกว่า 20 ปีเนื่องจากมีผลรบกวนการทำงานของสมอง และการพัฒนาด้านอารมณ์
  • ห้ามใช้กัญชา ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากกัญชาสามารถผ่านรกและน้ำนมไปสู่ทารกทำให้เกิดอันตรายได้
  • ห้ามใช้กัญชาในผู้สูงอายุ เพราะเสี่ยงต่อการทำให้ใจสั่น ความดันโลหิตตก

ถึงแม้ว่ากัญชาจะมีประโยชน์ต่อการรักษาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ แต่ก็ยังคงมีโทษของกัญชาต่าง ๆ ที่ควรระมัดระวัง ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการใช้กัญชาหรือกำลังมีปัญหาสุขภาพใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้กัญชา โดยแพทย์อาจช่วยแนะนำปริมาณหรือวิธีการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม : วิธีบำบัดความเครียด เพิ่มพลังความสุขให้ชีวิตง่ายๆ

กัญชาสามารถนำมาสกัดเพื่อนำไปรักษาโรคได้

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง