อาการท้องผูกปัญหากวนใจของใครหลายคน หากปล่อยให้ท้องผูกนาน ๆ อาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคริดสีดวงได้ (constipation )
หลายๆคนคงจะมีปัญหาท้องผูกมาเป็นเวลานานและมักจะว่ามันเป็นเรื่องปกติ แต่ในความจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันนานๆ จนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง
รู้จักกับท้องผูก เกิดจากอะไร
อาการท้องผูกนั้น จะเกิดขึ้นเมื่ออาหารที่ถูกย่อยแล้วแต่ค้างอยู่ในลำไส้นานจนเกินไป และเมื่อลำไส้ดูดซึมน้ำจากอาหารที่ย่อยแล้วในลำไส้นั้น จะทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง จนทำให้กล้ามเนื้อส่วนไส้ตรงนั้นขับอุจจาระออกได้ยาก จนทำให้ต้องใช้แรงเบ่งมากขึ้นและทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ โดยส่วนใหญ่เรามักเข้าใจว่าท้องผูก คือ การที่ไม่มีการขับถ่ายหรือมีความถี่ในการขับถ่ายลดลงกว่าปกติ การมีอุจจาระที่แข็งและยากต่อการขับถ่าย ซึ่งจริง ๆ แล้วถูกต้องเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
ภาวะท้องผูกในทางการแพทย์ยังรวมไปถึงการมีอาการใดอาการหนึ่ง ดังนี้
- การมีอุจจาระแข็ง
- ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระลดลงกว่าปกติ
- ใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย
- มีความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่ายหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
- หลังถ่ายอุจจาระเรียบร้อยแล้วยังมีความรู้สึกถ่ายไม่หมดหรือถ่ายอุจจาระไม่สุด
สาเหตุของอาการท้องผูก
- การอั้นอุจจาระ
- การรับประทานอาหารที่มีปริมาณเส้นใยไม่เพียงพอ
- ขาดการออกกำลังกาย (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ)
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาระงับปวด ยาลดกรด ยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก ยาขับปัสสาวะ
- ดื่มน้ำน้อย
- มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป
- ปัญหาความเครียด
- ปัญหาทางด้านจิตใจ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
อาการท้องผูกนั้นเกิดจากการที่ลำไส้ดูดซึมน้ำมากเกินไป จนทำให้อุจจาระแห้ง แต่อาการท้องผูกก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มากากใยน้อย ดื่มน้ำน้อยเกินไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อย กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนไป เช่น การเดินทางไกล ไปจนถึงการกลั้นอุจจาระ นอกจากนี้แล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกนั้น ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการทานยาบางชนิดไป จนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติ ของระบบทางเดินอาหารอีกด้วย
วิธีรักษาและดูแลเมื่อเกิดอาการท้องผูก
เมื่อเกิดอาการท้องผูกและไปพบแพทย์แล้ว แพทย์จะทำการรักษาอาการนั้นๆ ตามสาเหตุที่เป็น ซึ่งวิธีการรักษานั้นจะมีหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมการขับถ่าย การทานอาหาร การดื่มน้ำ และการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ การรักษาโดยใช้ยาระบายขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ และไม่ควรไปซื้อยามารับประทานเอง ไปจนถึงการฝึกขับถ่ายอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและให้การขับถ่ายนั้นเป็นไปอย่างปกติที่สุด
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง โดยเฉพาะผัก ผลไม้และธัญพืช
- ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8–10 แก้วต่อวัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน
- ไม่ควรใช้ยาระบายติดต่อกันเป็นเวลานาน หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยการใช้ยา
ยาที่ช่วยรักษาอาการท้องผูกสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น เส้นใยหรือไฟเบอร์ มีสารที่มีคุณสมบัติในการดูดน้ำได้ดี อุจจาระจึงนิ่มและถ่ายออกได้ง่าย ยาระบายกลุ่มกระตุ้น ช่วยกระตุ้นจังหวะการบีบตัวของลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น ยาระบายกลุ่มออสโมซิส ช่วยออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้อุจจาระไม่แห้งและแข็งจนถ่ายออกลำบาก ยาช่วยหล่อลื่นอุจจาระ ยาเหน็บและการสวนอุจจาระ เป็นต้น ทั้งนี้ควรดูแลรักษาสุขภาพและรับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีอนามัยที่ดีอยู่เสมอ
ปรับตัวปรับพฤติกรรมลดเสี่ยง “ท้องผูกเรื้อรัง” ได้
ถ้าไม่อยากทรมานกับ “อาการท้องผูกเรื้อรัง” เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ก็ช่วยให้เราสามารถขับถ่ายได้ดีขึ้น
- หากปวดอุจจาระ ควรรีบเข้าห้องน้ำทันทีที่ทำได้ อย่ากลั้นเอาไว้
- กินอาหารที่มีกากใยและไฟเบอร์สูง เช่น พืชตระกูลถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด
- ลดการกินอาหารจำพวกเนื้อแดง นมและผลิตภัณฑ์จากนม และอาหารแปรรูป
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ถ่ายง่าย
- ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการกระตุ้นลำไส้ให้ทำงานปกติ
- พยายามขับถ่ายให้เป็นเวลา
- เมื่อรู้สึกเครียดควรหากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียด เช่น นั่งสมาธิ ฟังเพลง เดินเล่น ดูหนังที่ชอบ
ใครก็ตามที่มีความผิดปกติในเรื่องระบบการขับถ่าย ให้รีบมาพบแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างถูกต้องตรงสาเหตุ เพราะหากปล่อยไว้นานๆ อาจเกิดโรคร้ายแรงแทรกซ้อนขึ้นมาได้
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.