โรคซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นกับคุณโดยไม่รู้ตัว

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งทางร่างกายและจิตใจ ( depression )

อาการซึมเศร้าชอบเก็บตัวคนเดียว

โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์และความรู้สึก รู้สึกเศร้า หดหู่ สิ้นหวัง เหมือนอยู่คนเดียว ชอบเก็บตัวเงียบๆ ไม่อยากเจอใคร หากเป็นมากบางรายถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกายแต่ที่คนส่วนใหญ่รู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าก็มักจะนึกถึงเพียงอาการหรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไป จึงคิดว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดหวังหรือการได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ และจะสามารถรักษาหรือแก้ไขได้ด้วยการให้กำลังใจ ซึ่งในความจริงแล้วเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีนจึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาตรวจสุขภาพจิตจากจิตแพทย์ เพราะนอกจากจะต้องบำบัดอย่างถูกวิธีแล้วยังอาจจะต้องใช้ยาในการรักษาจากทางโรงพยาบาลร่วมด้วย

อาการของโรคซึมเศร้า

  1. มีอาการเศร้ารู้สึกโดดเดี่ยว หดหู่ ผิดหวัง ไม่มีความสุข
  2. การเคลื่อนไหวเชื่องช้า กระสับกระส่ายผิดปกติ ไม่มีสมาธิ ไม่อยากทำอะไร
  3. นอนไม่หลับ นอนน้อยหรือมากเกินกว่าปกติ มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
  4. เหนื่อยง่าย หมดเรี่ยวแรง หงุดหงิดง่าย
  5. เบื่ออาหาร กินมากหรือน้อยจนเกินไป ส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้นหรือลดลงจนผิดปกติ
  6. มองโลกในแง่ร้าย คิดด้านลบ มองว่าตัวเองไร้ค่า หรือรู้สึกเกลียดตัวเอง
  7. มีพฤติกรรมทำร้ายร่างกายตนเอง หรือพยายามฆ่าตัวตาย หากมีพฤติกรรมเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  1. สถานการณ์เลวร้ายในชีวิต เช่น โดนทำร้าย ถูกข่มขืน ตกงาน ผิดหวังจากความรักหรือการเรียน สิ่งเหล่าจะทำให้เกิดความผิดหวังและความเศร้า หากไม่ได้รับการเยียวยาหรือรักษา จะนำไปสู่โรคซึมเศร้า
  2. ผลข้างเคียงของการเป็นโรคร้ายหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ภาวะไทรอยด์ทำให้ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ โรคลมชัก โรคสมองเสื่อม
  3. พันธุกรรม จากการสำรวจพบว่า หากมีฝาแฝดคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้า ฝาแฝดอีกคนมีโอกาสเป็นสูงถึง 60 – 80% หากคนในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง) ที่เป็นโรคซึมเศร้า จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไปถึง 20%
  4. ผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยนี้ จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย เนื่องจากอารมณ์และความรู้สึกแปรปรวน หรือความเศร้าจากการใช้ชีวิต เช่น อยู่คนเดียว ไม่มีลูกหลานดูแล

ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวไม่อยากพบเจอผู้คน

ทำอย่างไรจึงห่างไกลโรคซึมเศร้า

  • หมั่นดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารถูกสุขลักษณะ ไม่ใช้สารเสพติดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง
  • ในด้านจิตใจ ฝึกให้เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี ไม่คิดร้ายกับใคร ไม่กล่าวโทษตัวเองไปซะทุกเรื่อง ควรหางานอดิเรก คลายเครียดหากิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะกับวัย หรือเป็นจิตอาสา ทําสิ่งที่ทำให้รู้สึกตัวเองมั่นใจ มีคุณค่า รู้ว่าใครรักและเป็นห่วงก็ให้อยู่ใกล้คนๆนั้นและให้อยู่ห่างจากคนที่ไม่ถูกใจ
  • ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ไม่เคร่งเครียดหรือทำงานหนักเกินไป ไม่ไปอยู่ในสถานการณ์หรือดูข่าวร้ายที่ทำให้จิตใจหดหู่ หากมีการใช้ยาเพื่อรักษาโรคใดๆ อยู่ไม่ควรหยุดยาเอง โดยเฉพาะถ้ารักษาโรคด้านจิตเวชอยู่ควรกินยาตามแพทย์สั่ง อย่าได้ขาดหรือหยุดยาเอง

การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ทำความเข้าใจว่าการรักษามีหลายรูปแบบ

แน่นอนว่าโรคซึมเศร้าเป็นอาการป่วยและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรกินยาเพื่อรักษาอาการให้ดีขึ้น แต่ก็ใช่ว่ายาจะได้ผลกับผู้ป่วยทุกคน มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายคนที่ไม่ไหวกับผลข้างเคียงของยาจึงหยุดกินยาเอง หรือร้องขอที่จะหยุดกินยา ซึ่งถ้าคุณเป็นคนที่ยืนหยัดมากในการที่จะให้เขากินยา คุณก็จะยิ่งเครียดมากกับการที่ต้องเห็นเขาไม่กินยา สิ่งที่คุณควรทำก็คือชวนให้เขากลับไปพบจิตแพทย์เพื่อเล่าอาการข้างเคียงที่เกิดจากยา และขอให้จิตแพทย์ช่วยปรับแผนการรักษา โดยอาจจะลดยาลงแต่เพิ่มในส่วนของการทำจิตบำบัดเข้ามาแทน 

การรักษาด้วยยา 

การใช้ยาแก้เศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้าสาเหตุที่พบเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองการให้ยาแก้เศร้าเพื่อไปปรับสมดุลสารเคมีในสมองจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างมาก ยาแก้เศร้าช่วยบรรเทาอาการเศร้า ทานยาจนรู้สึกดีขึ้น และเมื่อดีขึ้นแล้วควรทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นแม้จะ รู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะกลับมาป่วยซ้ำหรืออาจมีอาการ กำเริบซ้ำ จึง ถือว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับยาระยะยาว

พบเเพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง


kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง