เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ ใช้อย่างไรให้ประหยัด

เคยสงสัยไหมว่าทำไมค่าไฟถึงเเพงขึ้น สาเหตุที่เเท้จริงมาจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่กินไฟสูงโดยที่คุณไม่รู้ตัว ( electrical appliance )

 electrical appliance

เคยสังเกตไหมว่าในบ้านของเรามีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากมายหลายชนิด เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรกินไฟมากกินไฟน้อย และเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรที่ทำให้ค่าไฟขึ้นแพงมากที่สุด 

รู้ได้อย่างไรว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเท่าไร

การที่จะดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนี้ใช้ไฟเท่าไร เราดูจากจำนวนวัตต์ ซึ่งก็คือหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า ที่จะระบุอยู่ในคู่มือหรือป้ายติดอยู่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวนี้ระบุว่า 1,000W ก็หมายความว่า ถ้าใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ชั่วโมงก็จะใช้ไฟ 1,000 วัตต์

เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดกินไฟมากที่สุด

เครื่องทำน้ำอุ่น 2,500 – 12,000 วัตต์

บ้านที่ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นขนาดใหญ่มาก ๆ อาจจะใช้กำลังไฟถึง 12,000 วัตต์ วันหนึ่งอาบน้ำหลายรอบ ก็จะกินไฟมาก ซึ่งถือว่ากินไฟเยอะกว่าแอร์อีก ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นตัวเล็ก ๆ ก็จะกินไฟประมาณ 2,500 วัตต์ ซึ่งคิดแล้วกินไฟมากกว่าต้มน้ำด้วยแก๊สหุงต้มอาบเสียอีก

เครื่องปรับอากาศ 1,200 – 3,300 วัตต์

หากคิดว่าเครื่องปรับอากาศ คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากที่สุดนั้นไม่ใช่ แม้ว่าจะมีในลำดับที่ 3 แต่หากเปิดบ่อย ๆ วันละหลายชั่วโมง ก็จะเสียค่าไฟเป็นอันดับ 1 ได้เช่นกัน เพราะอากาศเมืองไทยร้อนแบบนี้ก็อดจะเปิดแอร์นอนทุกวันไม่ได้ นอนแล้วก็ติดใจ นอนสบายจนต้องเปิดทุกคืน มีวิธีประหยัดแอร์ก็คือ ตั้งเวลาตัดก่อนตื่นสัก 1 ชั่วโมง หรือเปิดเฉพาะครึ่งคืนแรกแล้วค่อยมาปรับเป็นพัดลมต่อ ก็ลดความร้อนได้สักหน่อย

เตารีด 750 – 2,000 วัตต์

เตารีด ใช้กำลังไฟฟ้าพอ ๆ กับแอร์เลยทีเดียว โดยเฉพาะรุ่นที่เป็นเตารีดไอน้ำ ดังนั้นการจะรีดผ้าบ่อย ๆ ทีละตัวนั้นไม่เหมาะ อย่างน้อยต้องรีดทีละ 5 – 6 ตัว จะได้ประหยัดไฟ

เครื่องดูดฝุ่น 750 – 1,200 วัตต์

บางคนดูดฝุ่นทุกครั้งที่เห็นฝุ่น ถ้ารู้ว่าเครื่องดูดฝุ่นกินไฟขนาดนี้อาจจะเปลี่ยนมาเป็นใช้ไม้กวาด แล้วค่อยใช้เครื่องดูดฝุ่นเก็บฝุ่น เพราะเครื่องดูดฝุ่นกินไฟพอ ๆ กับเตารีด แต่หากใช้ไม่บ่อยก็ไม่เปลืองไฟเท่าไหร่

หม้อหุงข้าว  450 – 1,500 วัตต์

แต่ละบ้านมักจะหุงข้าววันละครั้งเพื่อหุง และเลือกฟังก์ชั่นอุ่นในมื้อต่อไป หม้อหุงข้าวกินไฟน้อยกว่าเตารีดและเครื่องดูดฝุ่นเพียงนิดเดียว หากเป็นเครื่องเล็ก ๆ 1 ลิตรก็กินไฟไม่มาก แต่จะใช้กำลังไฟเยอะตามขนาดของหม้อ 

ไดร์เป่าผม 400 – 1,000 วัตต์

ไดร์เป่าผมกินไฟไม่ต่างจากหม้อหุงข้าวมากเท่าไหร่ โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะสระผมวันละครั้ง หรือวันเว้นวัน เมื่อเป่าผมให้แห้งแต่ละรอบจะใช้เวลาราว 30 นาที ก็คือว่าเป็นค่าไฟที่ยอมรับได้สบาย ๆ หรือบางคนใช้พัดลมเป่าผมก็ช่วยให้ประหยัดไฟได้มากขึ้น

ไมโครเวฟ 100 – 1,000 วัตต์

อัตราการใช้กำลังไฟของไมโครเวฟนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของไมโครเวฟที่วัดเป็นคิว ทั้งโหมตละลายน้ำแข็ง หรืออุ่นอาหารให้ร้อนก็ใช้ไฟพอ ๆ กัน คนส่วนใหญ่ใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหารมากกว่าใช้ทำกับข้าว เพราะความร้อนส่งไปยังจุดเดียวของถาดวางในเครื่อง

ตู้เย็น 70 – 145 วัตต์

หากบ้านไหนไม่ใช้ตู้เย็นเบอร์ห้านี้จะทำให้ค่าไฟพุ่งสูงมาก เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้ต้องทำความเย็นตลอด เพื่อรักษาอากาศในตู้ไม่ให้ร้อนอบอ้าว อันจะเป็นเหตุให้อาหารเสียและบูดเร็ว

ปิดไฟทุกครั้งหลังการใช้งานช่วยลดค่าไฟได้

ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไรให้ประหยัด

ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5

การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟมากขึ้นได้ เพราะกระทรวงพลังงานได้ช่วยการันตีคุณภาพของการติดตั้ง

มีเครื่องหมาย มอก.

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกจำหน่ายโดยบริษัทผู้ผลิตหรือห้างร้านต่างๆ จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพ สามารถซื้อไปใช้งานได้อย่างปลอดภัยแน่นอน แต่ในทางกลับกัน หากพูดถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกขายตามท้องตลาดทั่วๆ ไป อาจทำให้คุณรู้สึกมั่นใจได้ไม่เต็ม 100% เพราะบางร้านอาจจะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาขายปะปนกันไปในราคาถูกก็เป็นได้ ซึ่งนอกจากจะไม่ช่วยประหยัดไฟแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อคุณและครอบครัวอีกด้วย

ขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน

ขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะกับพื้นที่การใช้งาน จะช่วยให้เครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำงานหนักเกินไป เกิดผลลัพธ์ที่ดี ใช้งานได้นาน และช่วยประหยัดไฟได้

ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้

ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องถอดปลั๊กออก เพราะกระแสไฟฟ้ายังวิ่งอยู่ในระบบ แม้ว่าจะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม และป้องกันการลัดวงจรภายใน จะทำให้เครื่องไฟฟ้าเสียหาย กินไฟมากกว่าเดิมและอาจจะต้องซื้อใหม่อีก

เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ 

    • ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตช์ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน

    • ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมาย มอก. 

    • ไม่ควรใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้านานเกินไป ควรหยุดพักเครื่องบ้าง เพื่อไม่ให้เครื่องทำงานหนักเกินไป เพราะถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความร้อนก็จะกินไฟมากขึ้น

ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหายภายใน แม้ว่าจะเป็นรอยขาดของสายไฟเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังไฟมากขึ้น กระแสไฟฟ้าจะรั่วออก เหมือนเราเปิดสายยางแล้วน้ำรั่วออกตลอดเวลา

หากทำตามวิธีดังที่กล่าวมาเเล้วรับรองว่าค่าไฟของคุณจะลดลง เวลาค่าไฟมาจะได้สบายใจหายห่วง เมื่อไม่ได้ใช้งานเเล้วควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งเพื่อเป็นการลดการใช้พลังงาน

อ่านเพิ่มเติม : หน้าร้อนนี้ไม่มีหวั่น เปิดแอร์ทั้งวันเเต่ประหยัดไฟ

เครื่องปรับอากาศกินไฟสูง ทำให้ค่าไฟเเพงขึ้น

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง