นอนตกหมอนบ่อย สัญญาณเตือนหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

เคยตื่นนอนตอนเช้าแล้วรู้สึกปวดเมื่อยต้นคอจนเอี้ยวหรือก้มเงยไม่ได้ไหม วันนี้มารู้จักกับสาเหตุ และวิธีแก้อาการนอนตกหมอนกัน (sleep on pillow )

sleep on pillow

อาการปวดคอจนหันไม่ได้ หรือรู้สึกคอเคล็ดหลังตื่นนอน คงเป็นอาการที่ใครหลายคนรู้สึกไม่ดี ทำอะไรก็ไม่สะดวก จนไม่อยากทำอะไรเลย เป็นอาการที่รบกวนการใช้ชีวิตพอสมควร

นอนตกหมอน ปวดต้นคอ เกิดจากอะไร?

เกิดจากการนอนผิดท่า ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากใช้หมอนหนุนที่ไม่เหมาะสมกับสรีระต้นคอ เป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ชอบนอนดิ้น และเปลี่ยนท่าไปมาระหว่างคืน

นอนหมอนสูงเกินไป

การนอนหมอนสูงอาจทำให้แนวกระดูกสันหลังคออยู่ในลักษณะของการก้มอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับตอนเรานั่งท่าหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น เมื่อเราอยู่ในท่านี้นานเกินไปก็ทำให้กล้ามเนื้อคอทำงานหนักมากกว่าปกติ หรือเกิดการตึงตัวมากเกินไป เมื่อเราเปลี่ยนท่านอนไป เป็นท่าตะแคงทำให้ศีรษะเอียงและตกหมอนได้จึงทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บและตื่นมามีอาการปวดคอตามมาได้

นอนหมอนต่ำเกินไป 

การนอนหมอนต่ำจะทำให้ลักษณะคอของเราแหงนเงยตลอดเวลา เมื่อจังหวะเวลาที่เราเอียงศีรษะขณะนอนแล้วหมอนไม่รองรับกับช่วงคอ บ่า ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัวมาก จนส่งผลเป็นอาการปวดคอในตอนเช้า หรือรู้สึกคอเคล็ดจนหันไม่ได้นั่นเอง

นอนคว่ำดูมือถือ หรืออ่านหนังสือ 

การนอนคว่ำบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน ก็สามารถเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัวได้ง่าย เนื่องจากในท่านอนคว่ำเราต้องเกร็งศีรษะตลอดเวลาซึ่งการที่กล้ามเนื้อเกร็งอยู่ตลอดเวลาก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว และองศาในการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อลดลง จึงทำให้การหันซ้าย หรือขวาทำได้น้อยลง หรือหันแล้วเกิดอาการเจ็บได้นั้นเอง

ทำไมคอเป็นก้อน จากการนอนตกหมอน

แล้วอาการ ‘คอเป็นก้อน’ จากการนอนตกหมอน เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องบอกก่อนว่าอาการคอเป็นก้อนที่หลายคนสงสัยกันถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ 

กล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว นั่นเอง ซึ่งการที่กล้ามเนื้อคอมีความตึงตัวทำให้องศาการเคลื่อนไหวคอของเราลดลงตามไปด้วย เมื่อเรานอนและหมอนไม่ซัพพอร์ตคอ บ่า ไหล่ ขณะที่เรานอนและเปลี่ยนท่าทางก็ยิ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดหรือหันเกินองศาที่กล้ามเนื้อคอจะรับไหว เลยส่งผลให้ตอนตื่นเช้ามาเรารู้สึกปวดคอ หันศีรษะไม่ได้ และมีอาการปวดร้าวเพิ่มมากขึ้นในบริเวณกล้ามเนื้อคอที่มีปัญหา โดยส่วนมากแล้วอาการปวดคอ หรือหันศีรษะไม่ได้ ก็จะมีอาการอยู่ประมาณ 2-3 วัน แต่ก็ค่อนข้างส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันพอสมควร 

ไม่ควรนอนหมอนที่สูงเกินไปอาจทำให้คอเคล็ดได้

 วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น

  1. ประคบเย็น อาจใช้น้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้าขนหนู หรือใช้เจลประคบเย็นห่อด้วยผ้าขนหนู ประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 15-20 นาที สามารถทำได้ทุก 2 ชั่วโมง ไม่แนะนำให้ประคบร้อน เนื่องจากอยู่ในระยะที่มีการอักเสบ การประคบร้อนจะทำให้อาการแย่ลง
  2. นวดกล้ามเนื้อคอเบา ๆ ด้วยการกดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวดเบา ๆ ไม่ให้รู้สึกเจ็บขณะนวด จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนนุ่มลง ไม่แนะนำให้นวดแรงมากจนเกินไป เพราะจะทำให้มีการอักเสบมากขึ้น
  3. การเคลื่อนไหวข้อต่อหรือยืดกล้ามเนื้อคอด้วยตนเอง
    3.1 การเคลื่อนไหวคอด้วยตนเองทำโดย นั่งตัวตรง เคลื่อนไหวคอในทิศก้ม เงย เอียง และหมุนคอ ในแต่ละทิศทางช้า ๆ จนรู้สึกตึง ทิศทางละ 5-10 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน

วิธีรักษาอาการนอนตกหมอน

  1. หลีกเลี่ยงการหันศีรษะอย่างรวดเร็วและรุนแรง เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อคออักเสบเพิ่มได้ ลดทอนคุณภาพการใช้ชีวิตประจำวันลงด้วย
  2. ทำกายภาพเบื้องต้นง่ายๆ ด้วยตนเอง ด้วยการประคบร้อน เพียงใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น บิดหมาดๆ แล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวด 15 – 20 นาที ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อผ่อนคลายลง
  3. นวดเบาๆ ใช้แรงบีบพอประมาณ ไม่กดบริเวณที่ปวดแรงเกินไป แนะนำให้ประคบร้อนแล้วค่อยนวด กล้ามเนื้อจะได้คลายตัวเร็วขึ้น ควรนวดด้วยตัวเองจะดีที่สุด เพราะหากให้คนอื่นนวด ระดับแรงกดอาจแรงเกินไป ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบเพิ่ม
  4. หากบรรเทาและรักษาด้วยตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

ลดอาการนอนตกหมอน ด้วยการเลือกหมอนให้เหมาะกับสรีระต้นคอ

ขนาดหมอนที่เหมาะสม

ต้องไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป เลือกขนาดหมอนให้พอดีกับสรีระต้นคอของเรา รวมถึงท่านอนที่เราถนัดให้มากที่สุด ทางที่ดีควรทดลองนอนก่อนซื้อจะได้มั่นใจก่อนใช้จริง

ความเฟิร์มของหมอน

เลือกให้พอดี ต้องไม่แข็ง ไม่แน่น หรือนุ่มยวบจนเกินไป บางท่านเลือกระดับความเฟิร์มของหมอนตามความชอบส่วนตัว ซึ่งถือว่าไม่ผิดนะคะ แต่ทางที่ดีอยากแนะนำว่าหากจะซื้อหมอนใบใหม่ให้ลองเปรียบเทียบกับใบเก่าดูก่อนก็ได้ค่ะ เช่น ลองนอนตะแคงหรือนอนหงายรู้สึกว่ารองรับต้นคอได้ดี นอนสบายกว่าหมอนใบเก่าอย่างเห็นได้ชัด ถ้าใช่แสดงว่าระดับความเฟิร์มอาจยังไม่เหมาะกับสรีระการนอนของเรา ให้ลองเลือกหมอนที่แน่นขึ้น หรือนุ่มลงจากใบก่อน

คุณภาพของวัสดุที่ใช้ผลิต

คือสิ่งสำคัญมากโดยเฉพาะการใช้งานในระยะยาว ทั้งตัวไส้หมอนด้านใน และผ้าหุ้มหมอนด้านนอก ต้องระบุชัดเจนว่าผลิตจากวัสดุประเภทไหน มีใบรับรองคุณภาพหรือเปล่า รวมทั้งวิธีในการดูแลรักษาต้องทำอย่างไร ก่อนซื้ออย่าลืมพิจารณาสิ่งเหล่านี้กันด้วยนะคะ จะได้มั่นใจว่าหมอนที่เราได้มีคุณภาพ 

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการปวดประมาณ 2 – 3 วัน จากนั้นอาการปวดจะค่อย ๆ ลดลงและหายไป แต่ถ้าอาการยังไม่ทุเลาหรือปวดมากขึ้นควรรีบมาพบแพทย์ เพราะอาจมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบรุนแรงหรือเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ รวมถึงหากมีอาการนอนตกหมอนบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจจะได้แก้ไขปัญหาอย่างถูกจุด

 เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ

เลือกหมอนที่ได้มาตรฐานป้องกันหมอนรองกระดูกเสื่อม

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง