นอนมากเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน

คนเราชอบเลือกการพักผ่อนด้วยการนอน การนอนมากเกินไปก็ใช่ว่าจะดี ส่งผลต่อระบบร่างกายหลายอย่าง ( sleep )

การนอนหลับเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน

คนที่หัวถึงหมอนแล้วหลับได้ทันที อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไป อาจไม่ใช่ความโชคดีอย่างที่คิด การนอนมากเกินไปสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคนอนเกิน

โรคนอนเกิน คืออะไร ?

โรคนอนเกิน (Hypersomnia) เป็นโรคที่หลับเกินพอดี ขี้เซา นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลากินข้าว หรือพูดคุยกับคนอื่นก็ยังหลับได้ มีการนอนที่นานเกิน 8 ชั่วโมง โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกาย หรือทางใจ ต้องรีบพบแพทย์

สัญญาณอันตราย “โรคนอนเกิน”

  • ตื่นนอนยาก ขี้เซามาก
  • นอนเท่าไรก็ไม่พอ เพราะยังรู้สึกง่วง เพลีย อยู่ตลอดเวลา
  • อยากจะงีบนอนวันละหลาย ๆ ครั้ง
  • หากมีอาการหนักมาก อาจงีบหลับได้ในสถานการณ์ที่ไม่ควรหลับ เช่น ทานข้าว อยู่ในวงสนทนาที่เสียงดังระหว่างทำงาน
  • หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายกับเรื่องเล็กน้อย
  • ความจำไม่ค่อยดี สมองไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือคิดช้าทำช้า
  • วิตกกังวล หรือมีอาการซึมเศร้า

สาเหตุของโรคนอนเกินเกิดจากอะไร     

  • นอนหลับไม่เพียงพอเป็นเวลานาน
  • ปรับเวลานอนไม่ถูกต้อง
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย และการหลั่งของสารในสมองที่ผิดปกติ
  • ความผิดปกติทางระบบสมอง เช่น โรคทางสอง หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ
  • ความผิดปกติในช่วงเวลาของการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ หรือนอนกรน 

การนอนมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกาย

อาการที่บอกว่า นอนหลับมากเกินไป

การนอนมากเกินไป เป็นสิ่งที่ผิดปกติ เกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภาวะนี้จะมีลักษณะที่ต้องการนอนเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน อาจรู้สึกง่วงเพลีย แม้เราจะหลับมาอย่างมากเพียงพอแล้ว เมื่อตื่นขึ้นมาอาจงัวเงีย ไม่สดชื่น บางครั้งอาจจะรู้สึกสมาธิหรือความจำแย่ลง รู้สึกเพลียทั้งวันไม่ค่อยมีแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ บางคนอาจหงุดหงิดง่ายทำให้มีปัญหาทะเลาะกับบุคคลอื่น ๆ เป็นประจำ และระหว่างวันมีความต้องการที่จะนอนหลับหลาย ๆ ครั้ง บางรายอาจเกิดขึ้น ในเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ขับรถ ใช้เครื่องจักรที่อาจเกิดอันตราย ขณะคุยกัน หรือระหว่างรับประทานอาหาร 

วิธีแก้ไขอาการนอนมากเกินไป

  1. เข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม เพราะปกติร่างกายจะนอนหลับเป็นรอบ ถ้าเริ่มตั้งแต่เคลิ้ม ๆ สะลึมสะลือจนถึงขั้นหลับลึก จะกินเวลารอบละ 90 นาที คืนละ 5-6 รอบ ยิ่งนอนหัวค่ำก็จะทำให้มีโอกาสนอนได้หลับลึกมากขึ้น
  2. กำหนดตารางเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอ
  3. จัดห้องนอนให้โปร่งโล่ง อากาศระบายได้ดี ร่างกายที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอจะทำให้สมองเซื่องซึมและง่วงนอนตลอดเวลา
  4. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงก่อนเวลาเข้านอน
  5. นั่งสมาธิหรือกิจกรรมเบา ๆ เพื่อผ่อนคลายก่อนเข้านอน
  6. รับประทานอาหารเป็นเวลาสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการกินจนแน่นก่อนเวลาเข้านอน
  7. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน สูบบุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนช่วงเวลาเช้านอน

อ่านมาถึงตรงนี้เเล้ว หากใครพบว่ามีอาการดังที่กล่าวมา เเสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคนอนเกินอยู่หรือเปล่านะ ทางที่ดีควรฝึกให้ตัวเองนอนเป็นเวลา เเละนอนเเต่พอดี นอกจากทำให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอเเล้ว ยังไม่ต้องกลัวว่าจะเสี่ยงต่อโรคต่างๆ หรือส่งผลให้สมองความจำไม่ดีตามมาอีก ลุกขึ้นมาหากิจกรรมทำ ส่งเสริมให้ร่างกายเเข็งเเรง ไม่น่าเบื่อ ไม่ต้องห่วงว่านอนมากไปตัวบวม  เเถมยังส่งผลให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว ยืดเส้นยืดสาย ไม่เป็นโรคอ้วน ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ด้วยนะ

การนอนเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด

 อ่านเพิ่มเติม : 

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง