เจ็บคอบ่อย อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงของโรค

เจ็บคอเป็นอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งของร่างกาย ที่สร้างความเจ็บปวดสร้างความลำบากในการกลืนอาหาร รวมถึงการเปล่งเสียงด้วย ( sore throat )

เจ็บคออาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อเเบคทีเรีย

เจ็บคอมีหลายสาเหตุ ถ้าคุณมีอาการเจ็บคอบ่อย คุณอาจกำลังเสี่ยงต่อการเจ็บคอเรื้อรัง ทอนซิลอักเสบ คออักเสบ เชื้อไวรัสติดเชื้อก็มีส่วนทำให้คุณเจ็บคอบ่อยได้เช่นกัน

อาการเจ็บคอมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โดยอาการเจ็บคอจากทั้ง 2 สาเหตุ  

1. อาการเจ็บคอจากการติดเชื้อไวรัส (Viral sore throat)

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด มักเป็นผลมาจากโรคหวัด ผู้ที่มีอาการเจ็บคอจากสาเหตุนี้มักจะมีน้ำมูก ไอแห้ง คัดจมูก จามมีไข้อ่อนๆ รู้สึกระคายเคืองในลำคอ เสียงแหบ กลืนลำบาก คอหรือทอนซิลบวมและแดงร่วมด้วย ซึ่งอาการเจ็บคอจากการติดเชื้อไวรัสมักดีขึ้นหรือหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน และยังพบได้บ่อยกว่าอาการเจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย

2. อาการเจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (ฺBacterial sore throat)

มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการจะรุนแรงกว่าเชื้อไวรัส ทำให้มีไข้ ไอแห้ง คอ เพดานปาก ลิ้นไก่และทอนซิลบวมแดง ปวดหัว หนาวสั่น กลืนลำบาก มีจุดหนองรอบต่อมทอนซิล หรือลิ้นเป็นฝ้าขาวร่วมกับอาการเจ็บคอ ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย แต่มักไม่มีน้ำมูลไหล และอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา

โรคประจำตัวที่อาจทำให้คุณเจ็บคอเรื้อรัง เจ็บคอบ่อย

ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ระบุไว้ว่า อาการเจ็บคอเรื้อรัง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย สิ่งสำคัญในการรักษา คือต้องหาสาเหตุของอาการเจ็บคอเรื้อรังให้พบ และรักษาตามสาเหตุ โดยโรคประจำตัวที่มักทำให้มีอาการเจ็บคอเรื้อรัง เจ็บคอบ่อย มีดังนี้

  1. โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (ภูมิแพ้อากาศ) – โรคนี้เกิดจากเยื่อบุจมูกไวผิดปกติ เมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นทำให้เยื่อบุจมูกบวม ทำให้คัดจมูกเรื้อรัง ต้องอ้าปากหายใจ ทำให้เยื่อบุลำคอแห้ง มีอาการเจ็บคอเรื้อรังได้ นอกจากนี้โรคนี้ยังทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอ ระคายคอตลอดเวลา ทำให้มีอาการเจ็บคอเรื้อรังได้เช่นกัน
  2. โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง – โรคนี้จะทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุจมูกเรื้อรัง ทำให้เยื่อบุจมูกบวม มีอาการคัดจมูกเรื้อรัง ทำให้ต้องหายใจทางปากตลอด เกิดเยื่อบุลำคอแห้ง มีอาการเจ็บคอเรื้อรังได้ นอกจากนั้นสารคัดหลั่งจากไซนัส และจมูกที่อักเสบที่ไหลลงคอ จะทำให้มีอาการอักเสบ ระคายเคืองของผนังคอ ทำให้มีอาการเจ็บคอเรื้อรังได้
  3. โรคกรดไหลย้อน – ซึ่งกรดอาจไหลย้อนขึ้นมาที่ผนังคอ ทำให้เยื่อบุ และกล้ามเนื้อของผนังคอมีการอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บคอเป็น ๆ หาย ๆได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการเสียงแหบ กลืนติด กลืนลำบาก มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลาร่วมด้วย

อาการเจ็บคอสร้างความลำบากในการกลืนน้ำลาย

วิธีรักษาและป้องกันอาการเจ็บคอ

เจ็บคอบ่อย ต้องรู้ วิธีบรรเทาอาการเจ็บคอที่ถูกต้อง ได้ผล และปลอดภัย มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

  1. ดื่มน้ำให้มาก ๆ – จิบน้ำตลอดทั้งวันเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในลำคอ และร่างกาย แนะนำน้ำอุ่นผสมกับน้ำผึ้งมะนาวช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ดีทีเดียว
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ – เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายฟื้นฟู และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกำจัดเชื้อไวรัส และแบคทีเรียในร่างกาย
  3. ใช้สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอ – เพื่อช่วยบรรเทาการระคายคอ อาการเจ็บคอ และเพิ่มความชุ่มภายในคอและมีความปลอดภัยสูงไม่มีตัวยาอันตราย
  4. บ้วนปาก หรือกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ – โดยการผสมเกลือ 1 ช้อนชาละลายเข้ากับน้ำอุ่น 1 แก้วจากนั้นนำมาใช้กลั้วคอ หรือบ้วนปาก
  5. รับประทานอาหารอ่อน – เพื่อถนอมเนื้อเยื่อที่อักเสบในลำคอ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม
  6. จัดห้องนอนให้สะอาด ปราศจากฝุ่น – หากคุณตื่นเช้ามาแล้วมีอาการเจ็บคอบ่อยครั้ง อาจเกิดจากแพ้ฝุ่นในห้องนอนจึงควรทำความสะอาดเครื่องนอนห้องนอนเป็นประจำ
  7. กินยาแก้ไอละลายเสมหะ – หากคุณมีอาการเจ็บคอ ร่วมกับอาการไอ มีเสมหะ สามารถกินยาแก้ไอละลายเสมหะที่มีส่วนผสมของตัวยา คาร์โบซิสเทอีน 

เจ็บคอบ่อย เจ็บคอหนักขนาดไหน ควรเข้าพบแพทย์?

ถ้าหากอาการเจ็บคอของคุณเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และดูแลด้วยตนเองก็ยังไม่หายดี หรือมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการแย่ลงดังต่อไปนี้ ติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 1 สัปดาห์ ควรเข้ารับการตรวจรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • เจ็บคอรุนแรง มีไข้สูง
  • กลืนลำบากจนแทบกลืนไม่ได้
  • ปวดศีรษะ หูอื้อ
  • หายใจลำบาก
  • มีเลือดปะปนอยู่ในน้ำลาย หรือเสมหะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดตามไขข้อกระดูก
  • ผื่นขึ้นตามผิวหนัง
  • ปัสสาวะขุ่นพร้อมเลือดปน

เจ็บคอต้องกินยาที่มีส่วนผสมของตัวยา คาร์โบซิสเทอีน

 เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ

 

 

 

 

 

 

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง