โรคยอดฮิตที่มาพร้อมกับหน้าฝน

เข้าสู่หน้าฝนเเล้ว เป็นฤดูที่โรคต่างๆเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะสภาพอากาศมีความชื้นสูง เป็นสาเหตุให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็ว (Seasonal Disease)

ไข้หวัดเป็นโรคยอดฮิตในฤดูฝนอากาศเปลี่ยนเเปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตก ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันภูมิคุ้มกันลดลง เป็นที่มาของโรคติดต่อยอดฮิต เช่น โรคไข้หวัด คนส่วนใหญ่จะไม่สบายบ่อยในฤดูนี้

ช่วงนี้ประเทศไทยก็ได้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้เรามารู้จักกับโรค ที่ชอบมากับหน้าฝนกันว่ามีโรคอะไรบ้าง

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

โรคในกลุ่มนี้มีหลายโรค เช่น

  • โรคไข้หวัดใหญ่
  • โรคหลอดลมอักเสบ
  • โรคปอดอักเสบ และปอดบวม

เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนบวกกับการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ในอากาศจากการไอ จาม ของผู้ป่วยเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าฝนที่อากาศชื้น จะยิ่งทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่ายมาก เพียงแค่สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับเชื้อไวรัส หรือสัมผัสกับน้ำมูกที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว ดังนั้นวิธีการป้องกันคือ หากมีอาการป่วย หรือต้องอยู่ในที่ชุมชนแออัด ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม ที่สำคัญควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ

  • โรคไข้หวัด หรือไข้หวัดทั่วไป พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อกว่า 200 ชนิดอาการสามารถหายได้เองใน 3 – 4 วัน หากผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
  • โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิดโดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีอาการรุนแรง คือ ชนิด A และ B ส่วน สายพันธุ์ชนิด C มักไม่รุนแรงไข้หวัดใหญ่จะแสดงอาการ ไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีกล้ามเนื้ออักเสบ และอาการทางระบบหายใจตั้งเเต่ น้ำมูก ไอมาก หรือ หากรุนเเรงอาจมีอาการหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ เสียชีวิต และอาจมีอาการที่ระบบอื่นอย่างระบบประสาท เช่น ไข้สูงเเล้วชัก ซึม หรือ ไข้สมองอักเสบได้
  • โรคปอดอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ที่พบโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อนิวโมคอคคัส โดยโรคปอดอักเสบนี้จมักเป็นอาการต่อเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่

ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ

เนื่องจากอาหารสดตามตลาดอาจได้รับเชื้ออีโคไลจากน้ำฝนที่ปนเปื้อน ซึ่งเชื้ออีโคไลนี้เป็นเชื้อที่ทำให้ ลำไส้อักเสบติดเชื้อจึงทำให้เกิดความผิดปกติในระบบย่อยอาหารตามมา การไม่ล้างมือให้สะอาด ใช้มือหยิบจับของที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำเข้าปากส่งผลให้เกิดภาวะถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งติดต่อกัน หรือมากกว่าใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก และอาจมีอาเจียนร่วมด้วย

ผิวหนังอักเสบ 

น้ำฝนที่ขังตามพื้นถนนนานๆ เข้าจะกลายเป็นน้ำเน่าเหม็น เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค หากกระเซ็นมาโดนตัว เราก็มีโอกาสเสี่ยงต่อผิวหนังอักเสบได้ ยิ่งไปกว่านั้น น้ำสกปรกยังอาจทำให้แผลติดเชื้อ เกิดเชื้อรา คัน เกิดตุ่มหนองและฝีได้ ดังนั้น แนะนำให้ล้างมือล้างเท้าบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หลังจากกลับเข้าบ้าน 

โรคฉี่หนู

มักแพร่ระบาดในพื้นที่ที่มีน้ำขัง ซึ่งเราจะได้รับเชื้อจากฉี่หนูที่ขังในน้ำผ่านทางผิวหนังที่มีแผล ผู้ป่วยโรคฉี่หนูมักมีไข้สูง เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว โดยเฉพาะน่อง หลัง และต้นคอ หากมีอาการดังกล่าวและเคยไปย่ำน้ำขังมา ควรรีบพบแพทย์และแจ้งแพทย์ด้วย

โรคตาแดง

โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้ออะดีโนไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกที่กระเด็นเข้าตา หรือมีการใช้มือที่ไม่สะอาดไปขยี้ตา หรือจากการหายใจหรือไอจามรดกัน  รวมถึงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อก็มีโอกาสติดเชื้อโรคตาแดงได้เช่นกัน โรคตาแดงติดต่อกันง่ายมากๆ และมักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ จึงต้องระมัดระวังโดยการไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เเละหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

ไข้เลือดออก 

โรคร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายจะเพาะพันธุ์ได้ดีในหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาท่วมขัง หากใครมีไข้สูงมาก ไข้ไม่ยอมลด เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย เซื่องซึม ขอให้รีบไปพบแพทย์โดยสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคไข้เลือดออกก็ได้ ยิ่งหากโดนยุงกัดมาอาจสันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก จะได้ทำการตรวจอย่างถี่ถ้วนเเละรักษาได้ทัน

การป้องกัน

  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งรอบๆ บริเวณบ้าน
  • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกัน
  • ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆ ให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมี กำจัดลูกน้ำในภาชนะที่เก็บน้ำไว้ใช้ ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าวสัปดาห์ละครั้ง
  • ในผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว หลังจากหายป่วยจากโรคเป็นเวลา 1  ปี ควรรับการฉีดวัคซีนไข้เหลือดออก เพราะผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว หากกลับมาเป็นซ้ำ ส่วนมากอาการจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ฤดูฝนเป็นฤดูที่คนไม่สบายบ่อยที่สุด

ฤดูฝนนี้ใครไม่อยากป่วยก็อย่าลืมโฟกัสเรื่องความสะอาดให้ดี ล้างมือล้างเท้าบ่อยๆ หมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ที่สำคัญหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรไปรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
และได้รับการรักษาอย่างตรงจุด

นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยให้อาการป่วยหายเร็วขึ้น

 เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ

 

 

 

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง