ดื่มชาทุกวันดีไหม เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเปล่า

ชาเป็นเครื่องดื่มอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีรสชาติที่หลากหลาย ซึ่งสามารถทานได้ทั้งเครื่องดื่มแบบร้อนและแบบเย็น ( tea )

การดื่มชาในตอนเช้าช่วยให้ร่างกายสดชื่น

การชงชาร้อนดื่มเองสามารถช่วยให้สุขภาพดีได้ เพราะชามีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ แต่ถ้าดื่มชาไม่ถูกวิธีก็ทำให้มีผลเสียต่อร่างกายเราได้เช่นกัน

ชามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

  • การดื่มชาช่วยทำให้เรารู้สึกสดชื่นขึ้นได้ เนื่องจากภายในใบชามีสารโพลีฟีนอล กรดอะมิโน และคาร์โบไฮเดรต
    เมื่อสารเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับน้ำลายจึงช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกายได้นั่นเอง
  • ชา อุดมไปด้วยธาตุและสารอาหารหลากหลายชนิด และคนนิยมดื่มชาเพื่อเป็นการบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นระบบประสาทและร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • การดื่มชาเป็นประจำช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง มีความสดชื่น สามารถช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายได้ มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยชะลอความชราและช่วยบำรุงผิวพรรณได้
  • การดื่มชามีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ สามารถช่วยสลายไขมัน ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยไปเพิ่มการขับคอเลสเตอรอลในร่างกายผ่านทางน้ำดีในอุจจาระ
  • ชามีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และการดื่มชายังช่วยรักษาอาการเจ็บหน้าอกและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย
  • การดื่มชาแก่ๆ สามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และช่วยในการย่อยอาหารจำพวกวิตามินได้อีกด้วย
  • ชามีสารไอโอดีน และฟลูออไรด์ ที่ช่วยป้องกันภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานหนักเกินไป โดยมีสารฟลูออไรด์ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยจะช่วยป้องกันฟันผุและเสริมสร้างมวลกระดูกได้

ประโยชน์ของชาต่อสุขภาพมีอยู่หลายข้อด้วยกัน เนื่องด้วยในน้ำชามีทั้งวิตามิน B, C, E กรดอะมิโน และสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ที่เรียกว่าคาเทซินอย่างสารสารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต ซึ่งมีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคร้ายหลายชนิด รวมทั้งคาเทชินในใบชายังมีส่วนช่วยลดความอ้วนได้ โดยเฉพาะคาเทชินในชาเขียวที่มีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่ามีฤทธิ์เพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมันในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคชาให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุดนั้นควรต้องดื่มอย่างเหมาะสม

หากดื่มชามากจนเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มขวัญใจชาวออฟฟิศคงหนีไม่พ้นเครื่องดื่มยอดฮิตอย่าง กาแฟเย็น ชาเย็น ชาเขียว โกโก้ เพราะเมื่อดื่มแล้วทำให้รู้สึกสดชื่น กระปี้กระเปร่าขึ้นมาทันทีจึงทำให้ใครหลาย ๆ คนต้องซื้อดื่มเป็นประจำทุกวัน หากบริโภคติดต่อกันเป็นประจำอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ เบาหวานอาจจะถามหาหรือจนถึงขั้นเป็นนิ่วในไตได้ เนื่องจากในชามีกรดชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า กรดออกซาลิก ซึ่งจะทำปฏิกิริยาในการจับแคลเซียมในปัสสาวะให้กลายเป็นผลึกเล็ก ๆ หากร่างกายได้รับกรดชนิดนี้ในปริมาณที่มากจนเกินไป จะมีผลก่อให้มีผลึกจากสารออกซาเลตตกค้างอยู่ในไตแล้วทำให้ไปอุดตันบริเวณท่อไต จนไตไม่สามารถขับของเสียได้ตามปกติและก่อให้ก้อนนิ่วแคลเซียมออกซาเลตในไตอีกด้วย เห็นแล้วใช่ไหมว่าความอร่อยของชาเย็นนั้นแฝงไปด้วย อันตรายต่อสุขภาพ

ดื่มชาเย็นเป็นประจำเสี่ยงทำให้นอนไม่หลับ หลับยาก หลับไม่สนิท

บางคนที่ดื่มชาเย็นและเจอปัญหานอนไม่หลับบ่อยๆ แต่อาจคิดไม่ถึงว่าคาเฟอีนที่อยู่ในชาจะส่งผลต่อการนอนหลับได้ด้วย นั่นเป็นเพราะสูตรของบางร้านนั้นจะมีการชงชาเข้มมากๆ จนอาจทำให้ปริมาณคาเฟอีนที่อยู่ในแก้วชานั้นเทียบเท่ากับการดื่มกาแฟเลยนั่นเองค่ะ หลายๆ คนรอบตัวเราดื่มกาแฟได้โดยที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ แต่ดื่มชาเย็นเมื่อไหร่จะหลับไม่ลงเลยก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้วใครที่ดื่มชาเย็นเป็นประจำและรู้สึกว่าหลับไม่สนิท ตื่นเช้ามาก็รู้สึกไม่สดชื่น ให้ลองปรับลดปริมาณและความถี่ในการดื่มชาเย็นลงอาจจะช่วยให้ปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่สนิทดีขึ้นได้ค่ะ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบดื่มชาเย็นเป็นชีวิตจิตใจควรหันมาใส่ใจสุขภาพโดยการดื่มชาเย็นให้ลดน้อยลง เเล้วดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้นจะดีกว่า

 tea

ดื่มชาอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ และหลีกเลี่ยงโทษต่างๆ

หากอยากดื่มชาให้ได้ประโยชน์ในเรื่องของวิตามินต่างๆ และสารคาเทคชินส์ที่ช่วยต้านมะเร็ง และลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดจนเกินไป และควรดื่มในปริมาณที่น้อย แต่เข้มข้น เหมือนเดิมเอสเปรสโซ่ช็อตสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟ การดื่มชาเข้มข้นแบบที่ไม่เจือจาง จะทำให้เราได้รับคุณค่าทางสารอาหารจากชาเต็มๆ ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอื่นๆ ทั้งน้ำตาล และนม ควรชงชาจากใบชาเอง ไม่ดื่มชาไปพร้อมกับอาหาร หรือทานวิตามินเสริม ไม่ให้เด็กดื่มชา หรือให้ดื่มเพียงเล็กน้อย และไม่ควรดื่มชาในปริมาณมาก หรือติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคที่เกี่ยวกับไต และกระดูกได้

 เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง