คุณรู้หรือไม่ว่าการใช้เเปรงสีฟันอันเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน มักจะมีแบคทีเรียสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุให้สุขภาพช่องปากตามมา ( toothbrush )
แปรงสีฟันที่ใช้นานเกินไป ปัญหาสุขภาพช่องปากจะตามมามากมาย เพราะมีแบคทีเรียจำนวนมากซ่อนอยู่ และแบคทีเรียอาจเข้าไปในกระแสเลือดได้ผ่านแผลในเหงือกโดยที่เราไม่รู้ตัว
เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หลายคนมองข้ามไป เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินคำแนะนำจาก ทันตเเพทย์ ให้เปลี่ยนแปรงสีฟันทุกๆ 3 เดือนแต่บางคนพอถึงเวลาก็ยังไม่ยอมเปลี่ยน เพราะแปรงสีฟันยังไม่บาน หรือยังใช้ได้อยู่ ซึ่งการทำแบบนั้นอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้! เพราะว่าแปรงสีฟันเก่า ถึงแม้จะไม่บาน หรือยังมีสภาพดี แต่สิ่งที่เรามองไม่เห็นก็คือ จำนวนเชื้อโรค และแบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ในขนแปรงสีฟัน กว่า 10 ล้านตัว ที่เราอาจมองไม่เห็น
ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อไหร่ ทำไมต้องเปลี่ยน
เบื้องต้นของการดูเเลสุขอนามัยในช่องปากที่ดี ทันตแพทย์จะแนะนำให้คุณหมั่นเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกๆ 3 เดือน ถ้าคิดคร่าวๆ เเล้วแปรงของคุณผ่านการใช้งานมาเเล้วกว่า 180 ครั้ง (เฉลี่ยจากการแปรงฟัน 2 ครั้ง/ วันอย่างสม่ำเสมอ) ลองคิดดูสิว่าถ้ายิ่งคุณใช้แปรงสีฟันมาเเล้ว 6 เดือนโดยที่ไม่เปลี่ยนเลยแปรงของคุณก็ผ่านการใช้งานมาอย่างโชกโชนไม่น้อยกว่า 360 ครั้ง
แต่สำหรับสุขอนามัยที่ดีที่สุด คุณหมออยากบอกว่า ทุกๆ ครั้งที่คุณป่วย เป็นหวัด, เป็นไข้, แผลในปาก หรือแม้แต่อาการเจ็บคอ ก็ควรจะเปลี่ยนแปรงสีฟันทันทีเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่ยังคงค้างอยู่บนแปรงสีฟันของคุณ เหตุผลสำคัญก็คือ ระหว่างที่เราไม่สบายมีเชื้อโรคมากมาย เมื่อเราแปรงฟันขณะเราไม่สบายก็เหมือนการแพร่เชื้อโรค ไปสู่แปรงสีฟัน มีทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย แอบซ่อนอยู่ในขนแปรงสีฟันที่เป็นต้นเหตุของโรคติดต่อ (โรคติดต่อหลายๆชนิดก็มีสาเหตุมาจากการใช้แปรงสีฟันร่วมกันระหว่างบุคคลด้วย)
แต่ถ้าเราใช้แปรงสีฟันนานเกิดกว่า 3 เดือนแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น สิ่งแรกเลย แปรงสีฟันถือว่าเป็นแหล่งรวม ของเชื้อโรค แบคทีเรีย มากมายหลายชนิด ทำให้เกิดคราบหินปูนสะสมเนื่องจากแปรงสีฟันเสื่อมประสิทธิภาพในการใช้งาน เป็นที่มาของอาการเหงือกอักเสบ เเละเเบคทีเรียที่สะสมอยู่นั้สามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้อย่างง่ายดาย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเชื้อโรคเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างมากมาย มีคราบพลัคอยู่บริเวณผิวฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา ฟันหลือง ไม่ขาวสะอาด และคราบหินปูน ซึ่งเป็นที่มาของปัญหากลิ่นปาก ฟันผุ และด้วยลักษณะของแปรงที่บานเสียรูปทรงนั้น จะเป็นอันตรายต่อเหงือก เป็นสาเหตุของเหงือกอักเสบนั่นเอง
วิธีสังเกตสภาพแปรงสีฟัน
สังเกตจากรูปร่างขนแปรงที่เปลี่ยนไป แปรงสีฟันที่ใช้งานนานๆ จะเริ่มมีปลายขนแปรงที่บาน มีสีแปรงเริ่มเปลี่ยนไป เเละหนักเข้าถ้ามีการสะสมของเเบคทีเรียมากๆ อาจทำให้แปรงมีกลิ่น ยิ่งถ้าเมื่อไหร่ที่เราเกิดอาการไม่สบาย ป่วย เจ็บคอ เป็นไข้ ติดเชื้อในช่องปากแปรงสีฟันก็เป็นเเหล่งเพาะเชื้อได้อย่างดีเลย
เคล็ดไม่ลับของการเลือก แปรงสีฟัน รวมถึงการเก็บหลังใช้งาน เพื่อช่วยลดการสะสมเชื้อโรค ดังนี้
- ควรเลือกแปรงที่มีขนนุ่มพอดี ไม่ควรเลือกขนแปรงที่แข็งมาก เพราะอาจจะทำให้ทำให้เกิดแผลในช่องปากได้
- ทำความสะอาดแปรงสีฟัน ทุกครั้งหลังการใช้งาน เพื่อลดเชื้อ แบคทีเรีย ไม่ให้สะสมอยู่ในแปรงสีฟัน
- ไม่วางแปรงสีฟัน ไว้ในที่อับชื้น มากจนเกินไป ควรวางแปรงสีฟัน ไว้ในพื้นที่ ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และตั้งหัวแปรงตั้งขึ้นด้านบนทุกครั้ง
- ไม่เก็บแปรงสีฟัน ในกล่องที่ปิดความมิดชิด มากจนเกินไป เพราะจะทำให้แบคทีเรีย เกิดการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น
- ไม่ใช้แปรงสีฟัน ร่วมกับผู้อื่น
- ไม่แปรงฟัน ด้วยความรุนแรง เพราะจะเป็นการทำลายเนื้อฟัน และทำให้เหงือก เกิดเป็นแผลขึ้นได้
สำหรับเแปรงสีฟันเก่าที่เราเปลี่ยนแล้ว ก็ควรจะทิ้งเลยจะเป็นการดีที่สุด เห็นเเล้วใช่ไหมหละว่าการเปลี่ยนแปรงสีฟัน ทุก ๆ 3 เดือน มีความจำเป็นอย่ามัวเเต่เสียดายอยู่เลย เพราะปัญหาช่องปากที่ตามมาเป็นอันตรายกว่าที่คิด แล้วคุณล่ะ เปลี่ยนแปรงสีฟัน ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่กัน
เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ สุขภาพ
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.