เป็นแผลในปากไม่หายสักที อย่านิ่งนอนในอาจไม่ใช่เรื่องเล็ก

แผลในปากหรือที่เรียกว่าร้อนใน นอกจากทำให้เจ็บปวดเวลากินอาหารเเล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากด้วย (Aphthous Ulcer )

Aphthous Ulcer

เมื่อไหร่ที่เริ่มเป็นร้อนใน แปลว่าร่างกายกำลังผิดปกติบ่งบอกว่าภูมิคุ้มกันเริ่มอ่อนแอ นอนไม่พอ เครียด หรือมีปัญหาเชื้อโรคสะสมในช่องปาก ทำให้เกิดการความเจ็บปวดได้

แผลร้อนในปากคืออะไร

แผลร้อนในปาก (Aphthous Ulcer) คือ รอยโรคแผลที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ บริเวณเนื้อเยื่อบุผิวช่องปาก โดยจะเริ่มจากเป็นจุดแดง หรือตุ่มเล็ก ๆ ก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นแผลเปิดที่มีลักษณะรูปวงรี มีสีขาว และขอบเป็นสีแดงนูนออกมา การเป็นแผลในปากนั้น มักพบบริเวณที่กระพุ้งแก้มและริมฝีปากด้านใน อาจเกิดเป็นแผลเดียว หรือหลายแผลก็ได้ และสามารถทำให้เกิดอาการแสบ และความเจ็บปวดได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงมาก โดยเฉพาะในเวลาที่ได้รับการกระตุ้นจากอาหารที่มีรสเผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัด หรือเวลาใช้น้ำยาบ้วนปากอาจทำให้แผลเกิดการระคายเคืองได้

สาเหตุและวิธีแก้ร้อนในปาก

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า แผลร้อนในเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpe Simplex Virus (HSV) เหมือนกับโรคเริม นั่นเป็นความคิดที่ผิด เพราะจริง ๆ แล้ว แผลร้อนในปากไม่ได้เกิดจากเชื้อไวรัส แต่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่เมื่อรวมกันแล้วจะเกื้อหนุนกันจนทำให้แผลร้อนในในช่องปาก ตัวอย่างเช่น

  • การได้รับบาดเจ็บในปาก เช่น การกัดกระพุ้งแก้ม แปรงฟันแรงเกินไป หรือการกระแทกจากการเล่นกีฬา
  • การแพ้อาหารแฝงต่าง ๆ เช่น นม ช็อกโกแลต กาแฟ
  • การแพ้สารเคมี
  • การรับประทานอาหารที่มีกรดสูง เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือหวานจัด บ่อยเกิดไป
  • การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินบี เหล็ก สังกะสี กรดโฟลิก
  • ระดับฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้หญิงที่มีประจำเดือน หรือผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด หรือกังวล
  • ผู้เป็นที่เป็นโรค มีภาวะ หรือปัญหาที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 
  • ผู้ที่จัดฟัน เครื่องมือของทันตเเพทย์บางชนิดมีความคมอาจทำให้เกิดบาดแผลที่กระพุ้งเเก้มหรือบริเวณเหงือกได้ 
  • มีแผลกดทับ หรือเสียดสีจากฟันปลอมที่หลวมเกินไป หรือเหล็กดัดฟันไม่พอดีกับฟัน
  • ความเครียดสะสม การพักผ่อนน้อยเกินไป

การป้องกันการเกิดแผลในปาก เนื่องจากสาเหตุในการเกิดแผลในปากนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดจึงอาจไม่สามารถป้องกันได้ แต่อาจลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดแผลในปากได้ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานที่อาหารร้อนจัด และรับประทานอาหารรสจัดแต่พอดี
  • แปรงฟันอย่างเบามือ
  • ระมัดระวังขณะเคี้ยวอาหาร
  • รักษาความสะอาดช่องปากอยู่เสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด

วิธีดูแลช่องปากเมื่อมีแผลในปาก

เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม

สำคัญอย่างมาก สำหรับคนที่มีแผลในปาก นั่นคือ การเลือกใช้แปรงสีฟันขนนุ่มๆ แทนแปรงสีฟันขนแข็ง เนื่องจากแปรงสีฟันขนนุ่มจะไม่ทำร้ายเหงือกและฟันในขณะแปรง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เหงือกอ่อนไหวเป็นพิเศษ มีแผลในช่องปาก ผู้ใส่รากฟันเทียม รวมถึงผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องดูแลเหงือกไม่ให้เป็นแผล

ยาทาแผลในปาก

ยารักษาแผลในปาก หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “ยาป้ายปาก” เป็นตัวช่วยที่ทำให้แผลในปากหายได้เร็วขึ้น ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น ยารูปแบบเพสต์ มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง ยารูปแบบเจลมีลักษณะเป็นเจลขุ่นหรือใสที่มีตัวยาละลายอยู่ ส่วนตัวยาเองก็จะมีทั้งยาสเตียรอยด์ ยาชา สารสกัดจากสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้รักษาและบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ รวมถึงสามารถเลือกใช้ตามอาการได้ด้วย

วิตามินบี วิตามินซี และสังกะสี

หากเป็นแผลในปากจากการขาดสารอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามินบี วิตามินซีและแร่ธาตุอย่างสังกะสี หากไปพบแพทย์ก็อาจจะได้รับการจ่ายยาจำพวกอาหารเสริมเหล่านี้กลับมาด้วย ซึ่งเป็นไอเท็มที่ควรรับประทานเพื่อชดเชยสารอาหารชนิดนั้นๆ ที่ขาดหายไปให้กับร่างกาย

น้ำแข็งหรือน้ำเย็น

กรณีที่มีอาการปวดบริเวณบาดแผลให้อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ หรือดื่มน้ำเย็นๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดรวมถึงช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นของเยื่อบุช่องปากให้ไม่แห้งจนทำให้รู้สึกเจ็บแผลเพิ่มมากขึ้นด้วย

งดรับประทานอาหารรสจัด หรือของร้อน

การรับประทานอาหารที่มีรสจัด ไม่ว่าจะรสชาติเผ็ด เปรี้ยว หรือการทานของร้อน สามารถทำให้เเสบบริเวณที่มีบาดแผลจนเกิดการอักเสบได้ อาจทำให้แผลหายช้าหรือมีขนาดใหญ่มากกว่าเดิม ตัวช่วยที่ทำให้แผลในปากหายได้เร็วคือ อาหารอ่อนๆ ที่รับประทานง่าย เช่น โจ๊ก ซุป ข้าวต้ม นม แกงจืด

เลือกใช้แปรงขนนุ่มเพื่อลดการอักเสบของเเผลในช่องปาก

หากสงสัยว่าทำไมแผลร้อนในไม่หายสักทีควรไปพบเเพทย์เพื่อตรวจรักษา เพราะการมีบาดแผลเรื้อรังในช่องปากจากพันผุ
ฟันบิ่น ปลอมหลวม ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองซ้ำๆ จนเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งช่องปากได้ อย่านิ่งนอนใจควรรีบทำการรักษาตั้งเเต่เนิ่นๆ

อ่านเพิ่มเติม :มีเลือดออกเวลาแปรงฟัน ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม 

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง