มะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบของผู้หญิง

มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงลำดับต้น ๆ ที่ผู้หญิงต้องระวัง หากมีอาการผิดปกติตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้ป่วยก็มีโอกาสที่จะรักษาได้ทัน ( Cervical Cancer )

Cervical Cancer

ผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกอันดับสองรองจากมะเร็งเต้านม แต่เป็นมะเร็งชนิดเดียว ที่รู้ก่อนจะป้องกันและรักษาให้หายได้ด้วยการใส่ใจตัวเอง ตรวจภายในเป็นประจำสม่ำเสมอ

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่บริเวณปากมดลูกที่มีการเจริญและแบ่งตัวแบบผิดปกติ ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นหากเราป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ก็จะทำให้ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้นั่นเอง

อาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก

อาการมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกมักไม่มีแสดงอาการความผิดปกติใด ๆ  มะเร็งปากมดลูกในระยะนี้จะตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองเท่านั้น ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการตรวจแปปสเมียร์ เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุปากมดลูก หรือการตรวจHPV DNA test เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวี

และหากปล่อยทิ้งไว้มะเร็งปากมดลูกจะเริ่มเข้าสู่ระยะลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง และเริ่มมีอาการผิดปกติต่าง ๆ แสดงให้เห็น โดยอาการมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกขณะหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และประจำเดือนมากหรือนานผิดปกติ เป็นต้น
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวมีปริมาณมากหรือมีกลิ่นผิดปกติไปจากเดิม 
  • ปวดท้องน้อยหรือหัวหน่าว ปวดเอว ปวดหลังด้านล่าง หรือปวดร้าวลงขา
  • ขาบวมข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
  • น้ำหนักลดลงมากโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกอ่อนเพลีย ความอยากอาหารลดลง
  • หากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจไปกดเบียดท่อไตจนทำให้เกิดภาวะไตวายได้
  • ถ้ามะเร็งลุกลามไปยังกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้มีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย หรือมีปัสสาวะไหลออกทางช่องคลอด
  • ถ้ามะเร็งลุกลามไปยังลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หรือที่เรียกว่าลำไส้ตรง (rectum)อาจจะมีอาการถ่ายอุจจาระบ่าย ถ่ายเป็นเลือด ท้องผูก ถ่ายลำบาก มีเลือดออกทางทวารหนัก หรือมีอุจจาระออกทางช่องคลอด

มะเร็งปากมดลูกหากรักษาตั้งเเต่เเรก สามารถหายเป็นปกติได้

สัญญาณเตือนจากอาการของมะเร็งปากมดลูก

  1. มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ ทั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว รวมถึงการมีประจำเดือนมามาก หรือกะปริบกะปรอยในระหว่างรอบเดือนด้วย
  2. มีตกขาวผิดปกติออกจากช่องคลอด เช่น ตกขาวที่มีเลือด มีหนอง มีเศษเนื้อปน รวมทั้งสี กลิ่น และปริมาณที่ผิดปกติ
  3. มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้ไม่รู้สึกอยากอาหารจนทำให้น้ำหนักลดลง
  4. มีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรงหรือเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการทานอาหารได้น้อยลง หรือมีภาวะโลหิตจาง
  5. ปวดบริเวณท้องน้อยผิดปกติ อาจทำให้ขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระได้ผิดปกติ เช่น ปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก หรือมีเลือดออกมา
  6. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หากเตรียมตัวพร้อมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์แล้ว แต่ยังรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์อยู่ อาจเป็นสัญญาณเล็กๆ ของอาการมะเร็งปากมดลูกได้
  7. ขาบวม จะเกิดขึ้นในกรณีที่มะเร็งปากมดลูกได้ลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว

ใครบ้างที่เสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

  • ผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย จะมีความเสี่ยงมากขึ้น
  • ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้หญิงที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • มีประวัติเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ มาก่อน เช่น เริม หนองใน ซิฟิลิส หรือโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์
  • เคยคลอดบุตรมากกว่า 3 คนขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่
  • ผู้หญิงที่มีประวัติทานยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน (มากกว่า 5 ปี)

อาหารที่ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

แม้ต้นตอการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก จะอยู่ที่การติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่ทุกคน ๆ สามารถลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยการเพิ่มความแข็งแรงให้เซลล์ร่างกาย และเพิ่มสารป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่าง ๆ โดยการเลือกกินอาหารที่มีสารช่วยต้านมะเร็งปากมดลูก วันนี้เรามี อาหารที่ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

  • อาหารที่เต็มไปด้วย วิตามินอี เช่น ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายกำจัดเชื้อ HPV ได้เร็วขึ้น
  • อาหารที่อุดมไปด้วย วิตามินซี เช่น ผลไม้ ผักใบเขียว มะนาว ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็ง
  • อาหารที่มี โฟเลต เช่น ธัญพืช ผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว ทำให้ระบบประสาทปกติ ควบคุมพันธุกรรมให้ปกติ
  • อาหารที่ประกอบด้วย วิตามีเอ และ สารเบต้าแคโรทีน เช่น ผักผลไม้ที่มีสีเขียวจัด ส้ม แดง เช่น แครอท ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ
  • อาหารที่มีสาร ซีลีเนียม เช่น กระเทียม ยีสต์ ถั่ว เห็ด ซึ่งสามารถต้านมะเร็งได้หลายชนิด
  • สาหร่ายทะเล สารต้านอนุมูลอิสระ ลดการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
  • น้ำมันปลา มีสาร DHA หยุดการเจริญเติบโตของเชื้อ HPV ได้
  • โคเอนไซม์คิวเท็น สารต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมการผลิตพลังงานของร่างกาย

โรคมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้หรือไม่

โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ ถึงแม้ป้องกันไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ด้วยการป้องกันดังนี้

  • การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ควรฉีดทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ควรฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกหรือตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไป
  • การตรวจแปบสเมียร์ ร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • งดสูบบุหรี่

ไวรัส HPV ไม่เพียงแต่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ยังรวมไปถึงมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และหูดอวัยวะเพศด้วย ดังนั้นการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีน HPV ให้ครบถ้วนตั้งแต่อายุยังน้อยย่อมช่วยให้ห่างไกลโรคได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม : โรคมะเร็งถึงหายเเล้ว เเต่กลับมาเป็นซ้ำได้

การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ควรฉีดทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง