บุหรี่ไฟฟ้า มีกลิ่นหอมเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ใช้งานง่ายพกสะดวกสบาย ตอบโจทย์ทุกคนได้ดี (Electronic cigarettes )
บุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่าพอตมีให้เลือกหลายแบรนด์ ที่สำคัญใช้งานได้สะดวก เนื่องจากมีระบบการใช้งานแบบอัตโนมัติ ที่ทุกคนสามารถสูบได้ทันที มีกลิ่นหอมเย้ายวนใจ
บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไรทำไมถึงได้รับความนิยม
บุหรี่ไฟฟ้า (E-Cigarettes) คืออุปกรณ์ใช้สูบบุหรี่ที่ใช้แบตเตอรี่ในการสร้างความร้อนและสารในไอระเหย จึงไม่มีควันจากการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป และได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การสูบบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่ต่างจากการสุบบุหรี่ปกติ และนำไปสู่โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอื่น ๆ ประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ เช่น นิโคติน โพรไพลีนไกลคอล กลีเซอรีน แม้จะไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ แต่เมื่อสูบเข้าไปในปอด ร่างกายจะได้รับนิโคติน และสารพิษอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้สูบและคนรอบข้าง
บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไหม มีโทษต่อร่างกายอย่างไร
ในปัจจุบัน แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้า จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักสูบ แต่กลับมีผลการวิจัยออกมาเป็นจำนวนมากว่าแท้ที่จริงแล้ว บุหรี่ไฟฟ้า ที่ทั้งพกพาง่ายและมีกลิ่นหอม กลับกลายเป็น บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย ไม่ต่างจากบุหรี่มวน เลยสักนิด
สารแต่งกลิ่นและรสในบุหรี่เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารทั่วไป มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น สารไดอะซิติล (Diacetyl) อาจเป็นสาเหตุของปัญหาระบบทางเดินหายใจและปอด
ส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ เนื่องจากมีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น นิโคติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้เกิดอาการเสพติดการสูบบุหรี่ โลหะหนัก และสารเคมีอื่น ๆ ทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายผู้สูบและคนใกล้ชิดหลายด้าน แม้บุหรี่ไฟฟ้าจะไม่มีควันก็ตาม โดยโทษของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีดังนี้
- ส่งผลเสียต่อสมอง สมาธิ ความคิด และความจำแย่ลง เกิดความผิดปกติทางอารมณ์
- ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจขาดเลือด (Heart Attack)
- ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดในสมองเเตก
- เกิดอาการไอแห้ง หายใจหอบ เกิดโรคหืด หรือทำให้อาการหอบหืดแย่ลง เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด
- เกิดโรคหลอดลมฝอยตีบตัน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาสารไดอะซิติล สารแต่งกลิ่นและรสในบุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการไอแห้ง หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก เนื่องจากหลอดลมฝอยในปอดหนาขึ้นและตีบตัน
- เกิดปัญหากับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- อันตรายต่อทารกในครรภ์ การสูบบุหรี่ไฟฟ้าขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ปอดและสมองได้รับความเสียหาย
- เป็นอันตรายต่อเด็ก เนื่องจากการกินหรือกลืนนิโคตินเหลวอาจทำให้เสียชีวิตได้
- อันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร สารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน และระบบการย่อยอาหาร
ผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ที่เริ่มทดลองสูบด้วยการใช้บุหรี่ไฟฟ้า อาจทำให้เกิดการเสพติดนิโคตินเหลว และนำไปสู่การสูบบุหรี่ปกติทั่วไปในอนาคต
บุหรี่ไฟฟ้าจึงมีอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่มวน
แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เกิดมะเร็งปอด แต่มีหลักฐานยืนยันว่าเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน
บุหรี่มวน
- บุหรี่แบบดั้งเดิม ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ผลที่ตามมาของการสูบบุหรี่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือมะเร็งปอด ซึ่งเป็นสาเหตุของการตายจำนวนมากทั่วโลก นอกจากมะเร็งแล้ว ควันบุหรี่ยังทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมโป่งพอง ภาวะเหล่านี้อาจทำให้การทำงานของปอดบกพร่องอย่างรุนแรงและลดคุณภาพชีวิตได้
- การสูบบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเเละหลอดเลือด สารเคมีในควันบุหรี่ทำลายเยื่อบุหลอดเลือด ทำให้เกิดคราบพลัคและหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะไปจำกัดการไหลเวียนของเลือดและอาจส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
- ผลของการสูบบุหรี่มวนที่มักถูกมองข้ามคือผลเสียต่อสุขภาพช่องปาก ผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะเป็นโดรคเหงือก ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียฟันและปัญหาเกี่ยวกับฟันที่ร้ายแรงอื่น ๆ สารเคมีในบุหรี่บั่นทอนความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับการติดเชื้อ ทำให้ผู้สูบบุหรี่มีความไวต่อการติดเชื้อในช่องปากมากขึ้น
บุหรี่ไฟฟ้า
- แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามักวางตลาดเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าบุหรี่แบบดั้งเดิม แต่ก็ไม่ได้ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ข้อกังวลเมื่อใช้บุรี่ไฟฟ้าคือความเสียหายของปอดที่อาจเกิดขึ้นจากการสูดดมละอองและสารเคมีที่อยู่ในไอของบุหรี่ไฟฟ้า
- การศึกษาพบว่าไอของบุหรี่ไฟฟ้าอาจมีสารอันตราย เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์และอะโครลีน ซึ่งอาจทำให้ปอดอักเสบและเสียหายได้
- บุหรี่ไฟฟ้าอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด จากรายงายที่สามารถค้นพบได้มีข้อมูลของบุหรี่ไฟฟ้าสามารถเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ นอกจากนี้ นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้ายังทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย
วิธีเลิกบุหรี่ให้หายขาด
หลังจากที่ทุกคนได้อ่านโทษ ของทั้งบุหรี่มวน และ บุหรี่ไฟฟ้า ไปแล้ว ก็จะพบได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ชนิดไหนก็ล้วนอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น ดังนั้นวิธีการเลิกบุหรี่ ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น บทความนี้จึงรวบรวมวิธีเลิกบุหรี่มาให้ทุกท่าน เผื่อจะนำไปใช้กับตัวเองหรือคนใกล้ตัวที่คุณรัก และอยากให้เลิกบุหรี่ได้อย่างเห็นผล
การหยุดสูบทันที หรือการ “หักดิบ”
ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรืออย่าทำอะไรเดิมๆ สถานที่เดิมๆ เช่น สูบบุหรี่เมื่อดื่มกาแฟก็ให้หยุดดื่มกาแฟ หรือดื่มในสถานที่ที่ไม่สามารถดูดบุหรี่ได้ นั่นหมายความสถานที่ใดที่เอื้อต่อการสูบบุหรี่เราจะต้องหลีกเลี่ยง
ดื่มน้ำมากๆ
ควรดื่มน้ำไม่ต่ำกว่าวันละ 10 แก้วหรือปริมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพราะน้ำจะเป็นตัวช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายและจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนั้นให้เลือกรับประทานอาหาร โดยผู้ที่เลิกบุหรี่ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภท เผ็ด เค็ม มัน หวาน เพราะอาหารประเภทเหล่านี้ก็เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้สูบอยากสูบบุหรี่
รับประทานผักผลไม้
โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยว ที่เป็นตัวช่วยที่ดีในการลดอาการอยากสูบบุหรี่ ผลไม้ควรเป็นผลไม้สดเท่านั้น และทางออกที่ดีนั่นคือการออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายทุกวัน วันละอย่างน้อย 30 นาที ยิ่งออกกำลังกายมากเท่าไหร่ปอดก็จะยิ่งแข็งแรง
พกลูกอมหรือหมากฝรั่ง
หาลูกอม หมากฝรั่งติดตัวไว้ตลอด เพราะหากมีอาการอยากสูบบุหรี่ขึ้นมา จะได้เคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมแทนการสูบบุหรี่ ช่วยลดความอยากลงได้
มีความมุ่งมั่นตั้งใจ
อย่าละความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่ หากในครั้งแรกยังล้มเหลว แต่จงเชื่อมั่นว่าครั้งต่อไปต้องทำสำเร็จแน่นอน ความพยายามเเละความมุ่งมั่นจะทำให้เราทำได้
การใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่วัยรุ่นหนุ่มสาว เด็ก และเยาวชน ทำให้ต้องมีการจับตาเฝ้าระวัง รวมทั้งมีวิธีการแก้ไขและป้องกัน เพื่อลดการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ปกป้องเด็ก เยาวชน และคนหนุ่มสาวจากการติดนิโคตินไปตลอดชีวิต รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะตามมา ทั้งนี้ทุกฝ่ายจะต้องทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ
อ่านเพิ่มเติม : ประโยชน์ของกัญชา รักษาโรคอะไรได้บ้าง
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.