โซดาไฟอันตรายถึงชีวิต

โซดาไฟ เป็นสารเคมีอันตรายแต่ก็มีประโยชน์หลากหลายทั้งในชีวิตประจำวัน และในด้านอุตสาหกรรม ( Sodium hydroxide)

Sodium hydroxide

โซดาไฟ ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำของเราหลายอย่าง ทั้งน้ำยาทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เเละยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลากหลาย เเต่หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจมีอันตรายถึงชีวิต

โซดาไฟคืออะไร

โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีคุณสมบัติเป็นด่างและมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง สารนี้สามารถดูดซับความชื้นได้ดีและละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เมื่อละลายในน้ำจะกลายเป็นสารละลายที่มีความเป็นด่างสูง มีลักษณะเป็นเกล็ดใส ๆ หรือเม็ดคล้ายทรายหยาบ และสามารถอยู่ในรูปของผงขุ่น ๆ ได้เช่นกัน โซดาไฟถูกใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิตสบู่ ผลิตภัณฑ์ซักฟอก การฟอกย้อม และการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากคุณสมบัติในการทำลายคราบสกปรกและการกัดกร่อนสิ่งสกปรกที่ติดแน่น อีกทั้ง โซฟาไฟ ยังถูกนำมาใช้ในครัวเรือนเพื่อแก้ปัญหาท่อตันด้วย

ประโยชน์ของโซดาไฟ ใช้ทำอะไรได้บ้าง

แม้โซดาไฟจะมีความอันตรายสูง แต่ก็มีประโยชน์อย่างมากในการใช้งาน ทั้งในอุตสาหกรรมและครัวเรือน เช่น

  • การผลิตสบู่ โซดาไฟเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสบู่ โดยทำปฏิกิริยากับไขมันหรือกรดไขมันเพื่อเปลี่ยนเป็นสบู่ที่เราใช้กันทั่วไป
  • การแก้ไขปัญหาท่อตัน โซดาไฟถูกใช้เพื่อขจัดคราบสกปรกและสิ่งอุดตันในท่อระบายน้ำ โดยใช้โซดาไฟก้อนหรือโซดาไฟที่ละลายน้ำเพื่อเทราดในบริเวณที่มีการอุดตัน
  • การปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำ โซดาไฟถูกใช้ในการบำบัดน้ำเสียเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ให้เหมาะสมกับการปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม
  • การฟอกย้อมไหม โซดาไฟมีบทบาทสำคัญในกระบวนการฟอกย้อมไหม โดยเฉพาะในขั้นตอนการลอกกาวไหม การใช้โซดาไฟจะช่วยต้มและละลายกาวไหมออกจากเส้นไหม ทำให้ได้เส้นไหมที่สะอาดและพร้อมสำหรับการย้อมสี

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้โซดาไฟ

เนื่องจากโซดาไฟมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง หากใช้งานไม่ถูกต้องหรือขาดความระมัดระวัง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้น ควรปฏิบัติตามข้อควรระวัง ดังนี้

  1. อย่าเทโซดาไฟลงท่อโดยตรงโซดาไฟสามารถกัดกร่อนท่อระบายน้ำได้ จึงควรผสมโซดาไฟกับน้ำก่อนที่จะเทลงท่อ เพื่อป้องกันการกัดกร่อน
  2. ระวังการสูดดม โซดาไฟสามารถปล่อยไอที่เป็นอันตรายออกมา ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ปอดอักเสบหรือน้ำท่วมปอดได้ ดังนั้น ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากหรือเครื่องช่วยหายใจ
  3. เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากโซดาไฟเป็นสารเคมีอันตราย จึงควรเก็บให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันการเผลอหยิบหรือกินเข้าไป
  4. การใช้งานในอุตสาหกรรม ควรปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ทั้งในด้านการจัดเก็บและการใช้งาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
  5. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ผู้ที่ต้องใช้โซดาไฟควรสวมใส่แว่นตาครอบกันสารเคมี หน้ากาก ถุงมือยาง และรองเท้าที่ป้องกันสารเคมี เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารอันตราย
  6. การจัดเก็บในโรงงานอุตสาหกรรม ควรเก็บโซดาไฟในภาชนะที่แห้งและปิดสนิท มิดชิด ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่เป็นห้องทึบ และไม่ควรจัดเก็บไว้ใกล้กับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพื่อป้องกันปฏิกิริยาที่อาจทำให้เกิดอันตราย

โซดาไฟมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง หากใช้งานไม่ถูกต้องหรือขาดความระมัดระวัง อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต

ห้ามใช้โซดาไฟกับสิ่งต่อไปนี้

  1. สารฟอกขาว (Bleach) โซดาไฟสามารถทำปฏิกิริยากับสารฟอกขาว (โซเดียมไฮโปคลอไรท์) ทำให้เกิดก๊าซคลอรีนที่เป็นพิษ โดยการใช้โซดาไฟล้างห้องน้ำอาจเป็นอันตราย อาจปล่อยก๊าซพิษออกมา เมื่อสูดดมไอระเหยทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้เสียชีวิตได้
  2. พื้นผิวไม้ การใช้โซดาไฟบนพื้นผิวไม้สามารถทำลายเนื้อไม้และทำให้สีหรือเคลือบผิวเสื่อมสภาพได้
  3. พื้นผิวโลหะบางชนิด นอกจากอลูมิเนียมแล้ว โซดาไฟยังสามารถกัดกร่อนโลหะบางชนิด เช่น สังกะสีและดีบุก
  4. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอื่น หลีกเลี่ยงการผสมโซดาไฟกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้โดยเฉพาะ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาที่ไม่คาดคิด
  5. กรด การผสมโซดาไฟกับกรด เช่น กรดซัลฟูริกหรือกรดไฮโดรคลอริก จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและปล่อยความร้อนสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดการกระเด็นและอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา
  6. อลูมิเนียม โซดาไฟสามารถทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียมได้ โดยจะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้

กำจัดโซดาไฟอย่างไร?

สำหรับขั้นตอนการกำจัดสารเคมีที่เหลือหรือการทิ้งโซดาไฟนั้นมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

    1. ต้องไม่ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป แต่ต้องแยกขยะออกมาเสมอโดยทิ้งในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิด 

    2. ใช้เทปพันถุงให้เรียบร้อยพร้อมติดป้ายขยะสารเคมีปนเปื้อน หรือทิ้งในถังขยะสำหรับทิ้งสารเคมีโดยเฉพาะ 

    3. ห้ามทิ้งรวมกับถังขยะทั่วไป ทิ้งลงพื้นดิน หรือทิ้งลงในแม่น้ำเด็ดขาด 

    4. ต้องระวังเรื่องการเทโซดาไฟลงในภาชนะที่เป็นสังกะสี ดีบุก หรืออลูมิเนียม เพราะจะทำให้เกิดไฮโดรเจนซึ่งมีความไวไฟจนอาจทำให้เกิดประกายไฟและเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ตามมาได้

ปฐมพยาบาลอย่างไร เมื่อโดนโซดาไฟ

   • หากร่างกายสัมผัสกับโซดาไฟจนมีอาการบาดเจ็บ ควรจะมีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงก่อนเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

    • หากโซดาไฟเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดซ้ำหลาย ๆ ครั้งทันที

    • หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงก็ควรใช้สบู่และน้ำทำความสะอาดอย่างเร่งด่วน และใช้ยาแก้แผลไฟไหม้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและผิวหนังไหม้จากการถูกโซดาไฟกัด

    • หรือหากเข้าปาก แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างท้องทันที

หากโซดาไฟเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดซ้ำหลาย ๆ ครั้งทันที

แม้ว่าโซดาไฟจะเป็นสารเคมีที่มีอันตรายแต่ก็มีประโยชน์หลากหลายควบคู่กันไป สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ซึ่งหากรู้จักคุณสมบัติ วิธีการใช้งาน และข้อควรระวังในการใช้งาน ก็จะช่วยให้สามารถใช้โซดาไฟในชีวิตประจำวันรวมถึงใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย

อ่านเพิ่มเติม : บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง