ระวังกินเผ็ดมากเกินไป เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

อาหารรสจัดเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน ยิ่งเผ็ดยิ่งอร่อย เเต่หากทานรสเผ็ดมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคบางอย่างได้ ( Spicy food )

Spicy food

อาหารรสเผ็ดเป็นที่โปรดปรานของคนไทยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ต้มยำที่มีรสชาติร้อนเเรง หากรับประทานรสเผ็ดมากๆ อาจทำให้เเสบปาก เเสบท้อง ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้

พริก นอกจากจะสร้างสีสันในจานอาหาร ยังส่งรสเผ็ด สร้างความแซบในอาหารหลาย ๆ จาน บางคนกินเผ็ดมาก บางคนกินเผ็ดน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งอย่างที่ทราบกัน ว่า ในพริก มีสารแคปไซซิน มีประโยชน์อื่นๆ ต่อร่างกายด้วย แต่ด้วยความเผ็ดร้อนที่เป็นคุณสมบัติประจำตัว หากกินมากไปก็เป็นโทษต่อร่างกายได้ การกินเผ็ดเป็นรสนิยมการรับประทานอาหารที่แพร่หลายในทุกช่วงวัยและพื้นที่ โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งนอกจากความเผ็ดจะช่วยเพิ่มความอร่อยและความกลมกล่อมให้กับอาหารไทยแล้ว อาหารที่เผ็ดยังถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของเมืองไทยที่ทำให้หลายคนติดใจอีกด้วย

ประโยชน์ต่อสุขภาพจากการกินเผ็ด

การทานเผ็ดมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายอย่าง เเต่หากรู้จักทานอย่างพอดี การทานเผ็ดก็มีประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกัน 

ป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วย 

พริกอาจช่วยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เนื่องจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า พริกอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีและเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีได้ นอกจากนี้ พริกยังอาจมีส่วนช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิต มีสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งสารแคปไซซินในพริกอาจมีฤทธิ์ช่วยในการรักษามะเร็งบางชนิดได้ แต่ผลการวิจัยเหล่านี้ยังจำเป็นต้องมีหลักฐานทางการค้นคว้าเพื่อยืนยันประสิทธิภาพดังกล่าวให้ชัดเจน

ช่วยให้อายุยืน

จากงานวิจัยพบว่าการกินเผ็ดอย่างน้อยเพียงวันละครั้ง 6-7 วันต่อสัปดาห์ ช่วยให้อัตราการเสียชีวิตลดลงถึง 14 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ทั้งวิธีการเก็บข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนไม่มีข้อมูลของตัวแปรอื่น ๆ อย่างปริมาณและชนิดของอาหารที่กินของผู้รับการทดลองแต่ละคน 

ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานดีขึ้น

พริกและเครื่องเทศบางชนิด อย่างยี่หร่า อบเชย ขมิ้น พริก และพริกไทย ต่างก็มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย และยังช่วยให้รู้สึกหิวช้าลงด้วย ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้อีกด้วย

ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย

เครื่องเทศบางชนิดอย่างยี่หร่าและขมิ้นอาจมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและจุลินทรีย์ และอาจมีส่วนช่วยในการยับยั้งแบคทีเรียในร่างกายได้เช่นกัน

ป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วย 

พริกอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ พริกอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีและเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีได้ นอกจากนี้ พริกยังอาจมีส่วนช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิต มีสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งสารแคปไซซินในพริกอาจมีฤทธิ์ช่วยในการรักษามะเร็งบางชนิดได้ด้วย

หากรับประทานอาหารรสจัดมากเกินไปอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้

กินเผ็ดอย่างไรให้ปลอดภัย 

แม้ความเผ็ดอาจช่วยเพิ่มความอร่อยในอาหาร หรือคุณอาจเป็นคนที่ชื่นชอบการกินเผ็ดมากเพียงใด แต่ผู้บริโภคทุกคนก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพของตนด้วย ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ เเละควรหลีกเลี่ยงไม่ทานรสเผ็ดในมื้อเช้า เพราะอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เเละอาจปวดท้อง ท้องเสียตามมาได้

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ควรงดของเผ็ด เพราะความเผ็ดจะทำให้อาการต่าง ๆ เหล่านั้นยิ่งรุนแรงมากขึ้น รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีไข้ หรือเพิ่งผ่าตัด ไม่ควรกินของเผ็ด 

ความเผ็ดสามารถส่งผลให้อาการของโรคบางชนิดรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เพราะความเผ็ดทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง 

กินเผ็ดมากส่งผลเสียอะไรต่อสุขภาพบ้าง?

  • ช่องปาก การกินเผ็ดมากเกินไปทำให้เกิดการแสบร้อนในช่องปาก และอาจส่งผลต่อลิ้น เหงือก ริมฝีปาก แก้ม เพดานปาก รวมทั้งทำให้ปากแห้ง หิวน้ำ และสูญเสียการรับรสไปชั่วขณะหนึ่ง
  • ระบบทางเดินอาหาร สารเเคปไซซินเป็นสาเหตุของการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ในกรณีที่เกิดการอาเจียน กรดจากกระเพาะอาหารจะไปทำให้หลอดอาหารเกิดการระคายเคืองได้ 
  • ระบบทางเดินหายใจ กินเผ็ดมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้จากอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มโรคจมูกอักเสบชนิดที่ไม่ได้เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ แต่มีสาเหตุมาจากอาหาร โดยทำให้มีน้ำมูกไหล มีเสมหะในคอ

กินเผ็ดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

โรคกระเพาะอาหาร

นอกจากพฤติกรรมการกินอาหารไม่ตรงเวลาแล้ว การกินเผ็ดมากเกินไปเป็นประจำก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้เช่นกัน เพราะการกินเผ็ดติดต่อกันจนเป็นนิสัย จะทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ บวม แดง ปวดท้อง เเสบท้องได้

โรคกรดไหลย้อน

ส่วนใหญ่เเล้วคนที่เป็นโรคกระเพาะมักจะเป็นกรดไหลย้อนด้วยเช่นกัน กรดไหลย้อนคือภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการเเสบร้อนกลางทรวงอกและลิ้นปี่ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องกรดไหลย้อนอยู่แล้ว ไม่ควรกินของเผ็ดเพราะความเผ็ดจะยิ่งทำให้เกิดกรด หากกรดไหลย้อนเรื้อรังอาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดหูรูดหลอดอาหาร เพื่อป้องกันการเป็นมะเร็งหลอดอาหารในอนาคต

 โรคลำไส้อักเสบ

โรคลำไส้อักเสบเป็นโรคที่ทุกคนสามารถเป็นได้ ไม่เฉพาะคนที่กินเผ็ดเท่านั้น มันคืออาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษ เกิดขึ้นกับคนที่กินอาหารเข้าไปและอยู่ในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ หากในอาหารมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ เช่น เชื้อไวรัส อาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน โดยจะมีอาการปวดท้องบิด ท้องเสีย บางรายที่อาการรุนแรง อาจมีอาเจียนร่วมด้วย และหากเป็นคนที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังแล้ว การกินเผ็ดเพิ่มเข้าไปอีกจะยิ่งทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น เพราะกินเผ็ดมากเกินไปจะไปกระตุ้นให้ผนังลำไส้อักเสบรุนแรงจนอาการกำเริบขึ้นมาอีกได้  

คนที่ชื่นชอบอาหารเผ็ดร้อนควรกินเผ็ดในปริมาณที่เหมาะสมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่าง ๆ ต่อร่างกาย ส่วนผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วย ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการกินเผ็ด และเรียนรู้วิธีเลือกกินอาหารที่เหมาะกับสุขภาพของตนเองด้วยเช่นกัน 

อ่านเพิ่มเติม : ทานมื้อเย็นอย่างไรให้ไม่อ้วน

ควรทานอาหารรสเผ็ดในปริมาณที่พอเหมาะ เเละไม่ควรรับประทานบ่อยเกินไป

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง