กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค

เป็นคนกินเยอะ กินจุ เเต่น้ำหนักไม่ขึ้นเลยเห็นแบบนี้ อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะจริง ๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้กินเยอะ แต่น้ำหนักยังอยู่กับที่ คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพอยู่ก็ได้ ( fat )

ทานอาหารที่มีไขมันสูง

บางคนอยากลดน้ำหนัก แต่น้ำหนักไม่ลงให้ง่าย ๆ คุมอาหาร ออกกำลังกาย ทำหลายวิธีก็ไม่ค่อยลง ต่างจากบางคนที่อยากเพิ่มน้ำหนัก แต่กินเท่าไรก็ไม่อ้วน อาจมีโรคแอบเเฝงอยู่

ทำไมบางคน กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน?

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ร่างกายคนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน และภายในร่างกายเราเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน ปัจจัยทางพันธุกรรม โภชนาการ และพฤติกรรมต่าง ๆ ระบบเผาผลาญ ล้วนมีบทบาทต่อน้ำหนักของเราทั้งนั้น 

กินเยอะแต่ผอม อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เป็นโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

โรคไทรอยด์นั้นมีทั้งชนิดอ้วน และชนิดผอม ไทรอยด์ชนิดผอมนั้นเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูง จึงมีการเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติ และมักมีอาการเหล่านี้ ใจสั่น มือสั่น ตื่นเต้น ตกใจง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักไม่ขึ้น เหนื่อยง่าย ประจำเดือนน้อยลง เป็นต้น หากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้เข้าพบแพทย์

มะเร็ง

เป็นโรคที่มีคนเป็นจำนวนมากที่สุด แน่นอนว่าเป็นอีกโรคที่ทำให้ผู้ป่วยผอมลงได้อย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้จะกินอาหารมากแล้วก็ตามที โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ เป็นต้น สาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร ความเครียด
หรือผลข้างเคียงจากการรักษา

มีพยาธิแย่งอาหารในร่างกาย

สำหรับใครที่กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน อาจเคยโดนทักว่า “กินเท่าไรก็ไม่อ้วน พยาธิเยอะแน่ ๆ” เนื่องจากพยาธิจะคอยแย่งอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย แต่ในกรณีนี้ ร่างกายจะต้องมีพยาธิอยู่เป็นจำนวนมาก จนมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสียเรื้อรังจนน้ำหนักลด เป็นต้น หลายคนที่มีภาวะผอมเกินกว่าเกณฑ์ไปซื้อยาถ่ายพยาธิมากินเอง แต่ก็ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น นั่นก็เพราะร่างกายไม่ได้มีพยาธิ หรือมีน้อยมากนั่นเอง

ขาดสารอาหาร

อาการนี้เกิดจากภาวะโภชนาการบกพร่อง ส่งผลก่อให้เกิดร่างกายขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาการนี้ มักเกิดจาก ผู้ที่ลดน้ำหนักหรือผู้รักสุขภาพแบบผิดๆ หรือ ผู้ที่หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งหรือเนื้อสัตว์ จนทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเหมาะสม ซึ่งนอกจากจะกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนแล้ว ก็เกิดอาการอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรงร่วมด้วย

โรคเอดส์

กลุ่มอาการของความเจ็บป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอดส์ หรือเอชไอวี ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เนื่องจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง สำหรับคนที่ป่วยโรคเอดส์ระยะที่สาม จะมีน้ำหนักลดลง ผอมลง แบบแห้งทั้งตัว เหลือแต่หนังหุ้มกระดูกได้เลยทีเดียว

ภูมิต้านทานต่ำ

ร่างกายเรานั้น จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่คอยต้านทาน กำจัดเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย หากเรามีภูมิคุ้มกันต่ำ ก็จะทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ จนกระทบกับน้ำหนักตัว เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกายเลย ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การติดเชื้อไวรัส โลหิตจาง ขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น ฉะนั้นหากคุณเป็นคนที่ผอมต่ำกว่าเกณฑ์ ลองเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ก็อาจจะช่วยให้กลับมามีน้ำมีนวล ไม่ผอมจนเกินไปได้

ลำไส้อักเสบเรื้อรัง

โรคนี้เกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร โดยผู้ป่วยมักมีอาการท้องเสียเป็นหลัก เหมือนลำไส้ต่อตรง กินแล้วถ่ายๆ แต่บางรายอาจจะมีอาการเสริม เช่น ขาดสารอาหาร ถ่ายเป็นเลือด หรือ น้ำหนักลดลง ซึ่งก็ต้องรีบพบแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะไม่ใช่โรคที่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้นานอาจจะพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

แฮมเบอร์เกอร์อาหารจังก์ฟู้ด

เคล็ดลับการกินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน

  • ดื่มน้ำ ก่อนกินอาหาร 30 นาที - ให้ดื่มน้ำเปล่า 1-2 แก้ว หรือประมาณ 16 ออนซ์ก่อนกินอาหาร 30 นาที ช่วยลดความอยากอาหารลงได้
  • กินอาหารโปรตีนสูงในมื้อเช้า - อาหารประเภทโปรตีนนั้นย่อยยาก ช่วยให้อิ่มนาน และอยู่ท้อง การกินอาหารโปรตีนสูงในมื้อเช้าจะช่วยลดความอยากกินจุบจิบ
  • ดื่มน้ำอุ่นผสมมะนาวทุกเช้าหลังตื่นนอน - การดื่มน้ำอุ่นโดยบีบมะนาวผสมลงไปเล็กน้อย จะช่วยย่อยอาหารได้ดี ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยดีท็อกซ์ กระตุ้นการขับถ่าย
  • ดื่มชาเขียว - ชาเขียวช่วยกระตุ้นการเผาผลาญได้ดี การดื่มชาเขียวแบบชงสด ไม่ใส่น้ำตาลใดๆ จะช่วยสลายไขมันเก่า ป้องกันไขมันใหม่ได้
  • กินน้อย ๆ เน้นกินหลายมื้อ - ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ ให้ทำงานตลอดทั้งวัน โดยแต่ละมื้อควรเน้นอาหารที่ไม่มัน ไม่แป้ง หรือเน้นโปรตีนเป็นหลัก
  • กินอาหารแคลอรี่ต่ำ - การเลือกอาหารแคลอรี่ต่ำจะเป็นวิธีที่ช่วยจำกัดพลังงานที่ต้องกินในแต่ละวัน กินอาหารให้น้อยกว่าพลังงานที่ต้องใช้ต่อวัน
  • กินอาหารเผ็ด - อาหารเผ็ด ช่วยเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายได้ดี

การกินอาหาร ควรควบคู่ไปกับการออกกำลังกายด้วยจึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว ออกกำลังกายอย่างมีแบบแผน
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การออกกำลังกาย เตรียมความพร้อมของร่างกาย อย่าไปออกกำลังกายในขณะที่ร่างกายหิว เพราะนั่นจะยิ่งกระตุ้นให้คุณอยากกินอาหารมากขึ้นกว่าเดิม

 ดูเเลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง