กำจัดหนูให้อยู่หมัด ด้วยวิธีใกล้ตัว

หนู เป็นสัตว์ตัวเล็กที่เป็นพาหะนำโรคเเละแพร่พันธ์ุได้เร็ว เราคงไม่อยากต้อนรับแขกที่มาพร้อมความน่ารำคาญและยังมีเชื้อโรคมากมายเข้ามาในบ้านของเรา( rat )

rat

หนู เป็นสัตว์ฟันเเทะที่มีเชื้อโรคมากมาย อาศัยในบริเวณที่สกปรกอับชื้น หนู เป็นพาหะของโรคต่าง ๆ เช่น โรคฉี่หนู บางโรคอาจทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

หน้าฝนเเบบบนี้มักมีน้ำท่วมขังหากเราไปโดนน้ำสกปรก ย่ำโคลนที่ปนเปื้อน เชื้อเลปโตสไปโรซิส ซึ่งเป็นเชื้อที่มาจากฉี่ของ หนู พาหะนำโรคของโรคนี้ ก็จะทำให้เป็นโรคฉี่หนูได้ หากมีประวัติการเดินลุยน้ำ และมีอาการปวดศรีษะ ไข้ขึ้นสูง ปวดตามกล้ามเนื้อ ควรรีบพบแพทย์ทันที หากปล่อยไว้นานอาการอาจมากถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

อันตรายจากโรคที่มีหนูเป็นพาหะ

หนูบ้านเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กซึ่งมักอาศัยอยู่ตามอาคารบ้านเรือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีเศษอาหารอย่างห้องครัวจะเป็นที่ชื่นชอบของหนูเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าหนูจะเป็นสัตว์ขนาดเล็กแต่โรคที่มาพร้อมกับหนูนั้นส่งผลอันตรายต่อมนุษย์อย่างเราจนบางครั้งอาจอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะฉะนั้นการกำจัดหนูภายในบ้านจึงเป็นเรื่องที่เราควรใส่ใจเพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับสมาชิกภายในบ้านได้ ตัวอย่างโรคที่มีสัตว์จำพวกหนูเป็นพาหะมีดังนี้

  • พาหะนำโรคฉี่หนู : เป็นโรคที่เกิดจากการที่เราไปสัมผัสฉี่ของสัตว์ซึ่งไม่ใช่มีเพียงเฉพาะสัตว์จำพวกหนูเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงสัตว์จำพวกโค, กระบือ, แมว และสุนัข แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในหนูโดยจะมีอาการเบื้องต้นคล้ายกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ หากพบอาการควรเข้ารับการรักษาทันที
  • พาหะนำกาฬโรค  : เป็นโรคที่เคยคร่าชีวิตคนในอดีตมาแล้วนับไม่ถ้วนซึ่งเป็นโรคที่แพร่ระบาดในหนูและติดต่อมายังคนได้ ดังนั้นหากบ้านไหนพบหนูเป็นจำนวนมากควรปรึกษากับบริษัทกำจัดหนูเพื่อหาแนวทางวิธีกำจัดหนูอย่างถูกวิธี
  • พาหะนำโรคติดเชื้อไวรัสฮันตา  : เป็นโรคที่ไม่ค่อยพบในประเทศไทยแต่ก็เป็นโรคที่สืบเนื่องมาจากหนูที่เป็นพาหะซึ่งมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หากพบว่ามีความดันต่ำจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • พาหะนำโรคไข้หนูกัด : เป็นโรคที่เกิดจากการถูกหนูกัดถ้าหนูตัวนั้นมีพาหะนำโรคจะส่งผลอันตรายต่อร่างกายโดยมีอาการเป็นไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บตามข้อต่อต่างๆ มีจุดเลือดออก หากไม่รีบเข้ารับการรักษาอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้

ทำความรู้จักโรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู หรือไข้ฉี่หนู (Leptospirosis - เลปโตสไปโรซิส) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในปัสสาวะของหนู สุนัข วัว และควาย โดยปัสสาวะจากสัตว์พาหะเหล่านี้ มักจะปนเปื้อนอยู่ในดิน หรือแหล่งน้ำขังต่าง ๆ

ระวัง คุณอาจติดเชื้อเลปโตสไปโรซิส ได้จาก 2 ทางหลัก ๆ คือ 

1. ติดเชื้อผ่านบาดแผล ที่แช่อยู่ในน้ำ หรือสัมผัสดิน ซึ่งมีเชื้อปนเปื้อน

2. ติดผ่านเยื่อบุตา จมูก ปาก เช่น มือไปสัมผัสแหล่งน้ำที่มีเชื้อ แล้วเผลอเอามือนั้นมาขยี้ตา แบบนี้ก็ติดโรคฉี่หนูได้เช่นกัน

อาการหลักของโรคฉี่หนู

แต่ละคน จะมีระยะฟักตัวของโรคไม่เท่ากัน บางคนอาจแสดงอาการเร็วภายใน 2 วัน ในขณะที่บางคนอาจใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ จึงแสดงอาการ  โดยอาการหลัก ๆ ของโรคฉี่หนู  มีดังนี้

  • ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากที่บริเวณขากับน่อง
  • มีไข้สูง หนาวสั่น 
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • บางรายอาจมีอาการตาแดง หรือเลือดออกใต้ตาขาว   

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อก่อโรคฉี่หนู

  • คนที่ทำงานฟาร์มปศุสัตว์หรือสัมผัสเนื้อหรือมูลของสัตว์
  • คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ
  • ผู้ที่ชอบเดินป่า ท่องเที่ยวตามแม่น้ำ ทะเลสาบ น้ำตก
  • ผู้ที่อาบน้ำตามแม่น้ำ ลำคลอง ที่เป็นแหล่งน้ำจืดทั้งหลาย
  • ชาวประมงที่หาสัตว์ตามแหล่งน้ำจืด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคฉี่หนู

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยคือ ภาวะไตวายเฉียบพลัน สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเกี่ยวกับปอดที่ร้ายแรงอย่างการมีเลือดออกในปอด ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • การแท้งในหญิงตั้งครรภ์
  • ภาวะแข็งตัวของเลือดในหลอดอาหาร
  • กล้ามเนื้อลายสลายตัว
  • โรคเกี่ยวกับตา เช่น ม่านตาอักเสบ
  • โรคหลอดเลือดในสมอง เลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หลอดเลือดสมองอักเสบ
  • อาการแพ้ที่ทำให้มีไข้หรือเกิดผื่นที่ขา
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • ภาวะหัวใจวาย

การป้องกัน

  • เลี่ยงการลุยน้ำ หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน 
  • สวมรองเท้าบูท และถุงมือยาง ถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำ
  • ปิดพลาสเตอร์ หากมีบาดแผลเพื่อไม่ให้แผลสัมผัสกับน้ำ
  • ทานอาหารปรุงสุก สด ใหม่ ผัก ผลไม้ ต้องล้างให้สะอาด
  • ล้างมือ อาบน้ำ เมื่อลุยน้ำมา ต้องชำระล้างร่างกายทันที
  • ทำความสะอาดบริเวณบ้าน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมภายในบ้านไม่ให้มีหนูอยู่อาศัย

ปัญหาหนูท่อระบาดก่อให้เกิดผลเสียตามมาหลายด้าน มีวิธีป้องกันอย่างไรให้ปลอดภัยในระยะยาว

พื้นที่ลับตาอย่างฝ้าบนเพดานหรือบริเวณใต้หลังคา เป็นบริเวณที่เจ้าของบ้านไม่ค่อยใส่ใจมากนัก ซึ่งก็ทำให้นานวันเข้า พื้นที่เหล่านี้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าสัตว์ฟันแทะอย่างหนู ที่สร้างความเสียหายให้กับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการแทะสายไฟ หรือการเป็นที่อยู่ของครอบครัวหนูอีกด้วย บทความนี้มีวิธีเช็คและวิธีไล่หนู ออกจากฝ้าเพดานบ้านให้ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป

ทำความสะอาดบ้านและจัดบ้านให้ไม่มีมุมอับ

หนูชอบอยู่ในบ้านเพราะว่ามีของกินให้มันตลอดเวลา ดังนั้นทุกครั้งเวลาทำอาหารหรือรับประทานอาหารเสร็จ ควรเช็ดทำความสะอาดและเอาขยะไปทิ้งนอกบ้านทันที ไม่เปิดโอกาสให้หนูได้กลิ่นอาหารและเข้ามาคุ้ยขยะในบ้านไป นอกจากนี้การจัดบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ไม่มีที่สกปรก ไม่มีมุมอับที่เต็มไปด้วยข้าวของที่เก็บเอาไว้ ก็จะช่วยให้หนูไม่กล้าออกมาจากจุดที่มันอยู่ และไม่กล้าทำรังไว้ในบ้านของเราด้วย 

ปิดช่องทางเดินหนู

วิธีไล่หนู ปกติแล้วฝ้าหรือเพดานของบ้านมักจะเป็นชั้นลอยๆ ที่ไม่ได้มีกั้นห้องแต่อย่างใด กลายเป็นเส้นทางสัญจรอย่างดีของครอบครัวหนู ที่จะวิ่งไปหาอาหารได้ง่ายๆ ดังนั้นหากมีงบประมาณ หรือกำลังทำการรีโนเวทบ้านอยู่ ให้ช่างช่วยปิดช่องทางเดินของหนูไว้ และสำรวจทางเข้าอื่นๆ รอบบ้าน เช่น ท่อน้ำทิ้งขนาดใหญ่ หรือหาตะแกรงมาครอบปิดไว้ก็ช่วยให้หนูไม่สามารถเข้ามาตั้งรกรากในบ้านได้

กับดักหนูด้วยกาวหรือกรง

สำหรับวิธีไล่หนูด้วยกาวดักหนูหรือกรง ใส่เหยื่อล่อเป็นอาหารที่มีกลิ่น เพื่อให้หนูเข้ามาติดกับ วิธีนี้ต้องหมั่นเช็คจุดที่ดักเอาไว้ เมื่อไหร่ที่ดักหนูได้ควรรีบเอาไปทิ้งก่อนที่จะส่งกลิ่นเหม็นออกมา แต่หากบริเวณของบ้านเริ่มมีกลิ่นให้เอาลูกเหม็นไปวางก็จะช่วยขจัดกลิ่นสาบหนูและยังช่วยไล่แมลงอื่นๆ ด้วย

เลี้ยงแมว

เป็นที่รู้กันดีว่า มีแมวอยู่ที่ไหน ไม่มีหนูอยู่ที่นั่น เพราะหนูเป็นอาหารของน้องเเมวเหมียว ดังนั้น หากคุณเป็นคนรักสัตว์ขนปุกปุยและขี้อ้อน นี่เป็นวิธีการวิธีกำจัดหนู ไล่หนูที่ธรรมชาติและมีประสิทธิผลที่สุด

ใช้สมุนไพรไทยไล่หนู 

สมุนไพรไล่หนูถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำต่อๆ กันมา เช่น สะระแหน่ มะกรูด กะเพรา หรือสามารถใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นสมุนไพรเหล่านี้ ไล่หนูให้ออกจากบ้านของเรา โดยการนำสมุนไพรเหล่านี้ไปวางตามจุดที่คิดว่าเป็นที่อยู่ของหนู เมื่อหนูได้กลิ่นหอมของสมุนไพร มันจะค่อยๆ หนีหายไปจากบ้านของเราท่อรั่วคือเเหล่งน้ำของหนู

จ้างบริษัทกำจัดหนู

บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้สารเคมีและเหยื่อต่างๆ อย่างเช่นที่ คิงส์ เซอร์วิส เราให้บริการด้านงานกำจัดปลวก กำจัดหนู มด แมลง และสัตว์รบกวน ด้วยเหยื่อกำจัดปลวก ที่เป็นมืออาชีพในการกำจัดแมลงและสัตว์รบกวน ทำให้มั่นใจได้ว่า การบริการมีคุณภาพ ปลอดภัย เเละเห็นผล

หนู เป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยในที่เปียกชื้นเเละมีสิ่งสกปรก

การกำจัดหนู และควบคุมการแพร่เชื้อ

เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากหนู ควรรักษาสุขอนามัยของตนเอง ดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ดี ลดการแพร่พันธุ์และกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู เช่น บริโภคอาหารที่สะอาดและปรุงสุกอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับหนูหรือสัตว์ตระกูลฟันแทะ ปิดช่องทางการเข้าออกไม่ให้หนูเข้าสุู่อาคาร ที่พักอาศัย และสถานที่ทำงานด้วยการใช้หน้าต่างประตูมุ้งลวดหรือตะแกรงดักบริเวณท่อระบายน้ำ ใช้กรงดัก กาวดักหนู หรือยาเบื่อหนูบริเวณที่หนูหาอาหารหรือทางผ่านของหนู เป็นต้น

วิธีไล่หนูด้วยวิธีธรรมชาติ บางครั้งอาจเป็นวิธีที่เห็นผลช้า แต่หากทำอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถไล่หนูถาวรได้เช่นกัน ซึ่งดีกว่าการไล่หนูโดยใช้สารเคมี ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในบ้านเเละปลอดภัยกับสัตว์เลี้ยงเเละสิ่งเเวดล้อม

อ่านเพิ่มเติม : เคล็ดลับดูแลบ้านต้อนรับหน้าฝน

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง