ปวดหัวไมเกรน อันตรายที่ต้องรักษามากกว่ากินยาเเก้ปวด

ปวดหัวบ่อยๆ เป็นประจำรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนปวดๆ หายๆ แต่บางคนก็ปวดต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวัน ( Migraine Headache )

Migraine Headache

อาการปวดหัวเรื้อรังไม่หายสักที จะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมี ความเครียด อากาศร้อน อดนอน ผู้ที่เป็นไมเกรนมักอยากอยู่ในห้องมืดและเงียบ เพราะจะทำให้อาการดีขึ้น

ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญ คือ ปวดตุ้บๆ ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาการปวดจะเป็นพักๆ เป็นๆ หายๆ ความรุนแรงของอาการปวด มีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 ชม.อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมี ความเครียด อากาศร้อน แสงจ้า หรืออดนอนขณะปวดไมเกรนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจไวต่อแสงหรือเสียง ดังนั้นผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ในห้องมืดและเงียบ เพราะจะทำให้อาการปวดดีขึ้น

ทำไม เราจึงปวดหัวบ่อยๆ

ปกติแล้วอาการปวดหัวสามารถพบได้ทั่วไป บางคนอาจปวดเพียงเล็กน้อย บางคนอาจปวดมาก ซึ่งสาเหตุของการปวดหัวนั้นมีหลายอย่าง เช่น ปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวไมเกรน หรือมีความผิดปกติด้านอื่นๆ ในร่างกาย เช่น มีเนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองโป่งพอง โพรงจมูกอักเสบ หรือสายตาผิดปกติ และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความรุนแรงแตกต่างกัน

ปวดหัวไมเกรนอันตรายไหม

การปวดหัวไมเกรนป็นการปวดหัวที่ไม่ได้เกิดจากรอยโรคในสมอง ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง เนื้องอกในสมอง รวมทั้งไม่ใช่อาการนำของโรคหลอดเลือดในสมองทั้งตีบหรือแตก แต่การปวดหัวไมเกรนอาจรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้หยุดงานบ่อย หรืออาจส่งผลให้เกิดภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้าได้

ปวดศีรษะแบบไหนถึงเรียกว่า ไมเกรน

  • ปวดศีรษะข้างเดียวหรือเริ่มปวดจากข้างเดียวก่อนแล้วค่อย ๆ เริ่มปวดทั้ง 2 ข้าง
  • ปวดตุบ ๆ คล้ายมีอะไรเต้นหรือเหมือนโดนอะไรบีบตรงบริเวณขมับปวดเป็นระยะ ๆ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน 
  • การปวดจะกินระยะเวลานานหลายชั่วโมง แต่จะไม่นานเกิน 1 วัน
  • ความรุนแรงของอาการปวด มีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งส่วนใหญ่ประมาณ 4-7 ชม.
  • อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีความเครียด อากาศร้อน แสงจ้า หรืออดนอน

สาเหตุของการปวดไมเกรน

ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการปวดศีรษะไมเกรนเกิดจากอะไร แต่ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนมีหลายประการ ได้แก่

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง
  • ความเครียด
  • สภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้าหรือแสงแฟลช เสียงดัง กลิ่นที่รุนแรง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การนอนไม่พอ หรือมากเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป
  • การสูบบุหรี่
  • อาการถอนคาเฟอีน
  • การอดอาหาร หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ

ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งของการปวดหัวไมเกรน

การรักษาอาการปวดหัวไมเกรน

ปัจจุบันการปวดศีรษะไมเกรนยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน

  • การใช้ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน การรับประทานยาทันทีเมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    • ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดแบบไม่รุนแรง
    • ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดที่รุนแรงมากขึ้น (จำเพาะเจาะจงกับการปวดศีรษะไมเกรน)
    • ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • การใช้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
    • กลุ่มยาลดความดัน
    • กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า
    • กลุ่มยากันชัก

แม้ว่าอาการปวดหัวไมเกรนจะไม่เกิดอันตรายต่อสมอง แต่ก็สร้างความรำคาญและรบกวนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้มาก แถมยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวได้ ดังนั้น หากสามารถป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้ จะดีกว่าปล่อยให้อาการกำเริบแล้วค่อยมารักษา

แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนที่เหมาะสมคือ การปรับจากพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน นอกจากนี้ การใช้ยาเพื่อป้องกันและรักษา ก็นับได้ว่ามีประสิทธิภาพที่ดีเลยทีเดียว แต่ยาบางชนิดก็อาจมีผลข้างเคียงที่ต้องระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรเลือกใช้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน 

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยป้องกันการปวดหัวไมเกรนได้

อ่านเพิ่มเติม : วิธีบำบัดความเครียด เพิ่มพลังความสุขให้ชีวิตง่ายๆ

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.