โรคฝีดาษลิง โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนในตระกูลลิง ซึ่งเป็นโรคที่ติดเชื้อแพร่กระจายได้รวดเร็วโดยติดต่อผ่านการหายใจ ( Monkeypox )
โรคไข้ฝีดาษลิง พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมาโดยติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์
ฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร?
โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจาก ไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นหลัก โดยค้นพบโรคนี้ครั้งแรกในลิง ซึ่งไปรับเชื้อมาโดยบังเอิญ จึงเป็นที่มาของชื่อโรค “ฝีดาษลิง”
เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใส หรือไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต หากพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
“ฝีดาษลิง” แตกต่างจาก “ไข้ฝีดาษ-ไข้ทรพิษ” อย่างไร
โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox) จัดเป็นกลุ่มโรคไข้ออกผื่น กินระยะเวลานาน 2-4 สัปดาห์ เช่นเดียวกับไข้ฝีดาษลิง แม้ว่าจะเป็นไวรัส Othopoxvirusกลุ่มเดียวกัน แต่จัดเป็นคนละชนิดกัน โดยลักษณะการติดต่อและความรุนแรงของโรคพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
เชื้อไวรัสของโรคไข้ทรพิษจะอยู่ในคนเป็นหลัก โดยจะมีการติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น โดยติดต่อผ่านการหายใจ สามารถติดต่อกันง่ายมาก โดยผ่านละอองฝอยเล็กๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้อย่างเป็นวงกว้าง โดยพบว่า ผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 30% แตกต่างจากไข้ฝีดาษลิง ที่ติดต่อกันผ่านการสัมผัส
มีหลักฐานยืนยันว่า โรคไข้ทรพิษเป็นโรคที่มีการแพร่ระบาดมาอย่างยาวนานมากกว่า 1,000 ปี แต่ปัจจุบันนี้ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษแล้ว เนื่องมาจากการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ โดยประเทศไทยได้ยุติการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งปัจจุบัน ได้มีการเก็บตัวอย่างเชื้อไข้ทรพิษ ไว้สำหรับเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น
การติดต่อของโรคฝีดาษลิง หรือโรคฝีดาษวานร
โรคฝีดาษลิง หรือโรคฝีดาษวานร สามารถแพร่กระจายได้ง่าย แบ่งออกเป็น
1. การติดต่อจากสัตว์สู่คน
- สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ติดเชื้อ
- ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือข่วน
- กินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อ และปรุงสุกไม่เพียงพอ
2. การติดต่อจากคนสู่คน
- สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยทางสารคัดหลั่ง จากผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรือละอองฝอยจากการหายใจ
- มีอาการป่วยประมาณ 2-4 สัปดาห์
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายจากโรคเองได้ อาการรุนแรงมักพบในเด็ก ขึ้นกับปริมาณไวรัสที่ได้รับ
ฝีดาษลิงติดต่อจากคน เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจจากผู้ติดเชื้อ บาดแผล หรือสิ่งของที่ผู้ติดเชื้อสัมผัส การติดเชื้อผ่านละอองฝอยมักต้องใช้เวลาในการสัมผัสตัวต่อตัว จึงทำให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่อยู่อาศัยร่วมกับผู้ติดเชื้อเพิ่มโอกาสติดเชื้อมากขึ้น มีโอกาสติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านทางรกหรือระหว่างคลอด
โอกาสการเกิดโรค และ กลุ่มเสี่ยงโรคฝีดาษลิง
จากลักษณะของการติดต่อ ผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อฝีดาษลิงมาก คือ
- ผู้ที่อาศัยหรือมีการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น ในประเทศแถบแอฟริกา
- ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
- บุคลากรทางการแพทย์
- นักวิจัยที่มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเชื้อฝีดาษลิง
- ผู้อยู่อาศัยร่วมกับผู้ติดเชื้อ
- ผู้ที่มีกิจกรรมทางเพศกับผู้ติดเชื้อ
- ผู้อาศัยติดเขตป่ามีโอกาสสัมผัสกับสัตว์ติดเชื้อมากขึ้น
อาการของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
โรคฝีดาษลิงมักมีระยะเพาะเชื้อ 6-13 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการ โดยอาการของโรคแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
- จะมีอาการไข้
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ปวดหลัง
- เหนื่อยเพลีย
- ต่อมน้ำเหลืองโต
ความรุนแรงของโรคและอัตราการเสียชีวิต
แม้จะมีลักษณะและอาการคล้ายโรคฝีดาษ แต่ฝีดาษลิงมักมีความรุนแรงของโรคต่ำกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ อัตราการเสียชีวิตโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 0-11% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเด็ก ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงหลัง อัตราการเสียชีวิตลดลงเป็น 3-6% โดยผู้ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น คือ เด็ก วัยรุ่น และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากประชาชนวัยผู้ใหญ่บางส่วนเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษมาก่อน ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคฝีดาษลิงได้
การป้องกันโรคฝีดาษลิง
วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ประมาณ 85% ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ที่มีความจำเพาะต่อโรคฝีดาษลิงมากขึ้น การให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรคและการป้องกันตัวเอง
- ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ ใช้แอลกอฮอล์ล้างมือ
- การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค
- หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ไม่ปรุงสุก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์หรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่อาจเป็นพาหะ เช่น สัตว์ฟันแทะ ลิง
อ่านเพิ่มเติม :อย่าพึ่งวางใจโควิด19 ยังไม่จบ
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.