อากาศร้อนเเบบนี้มักเจอปัญหาผิวไหม้แดด หรือปัญหาผิวคล้ำเสียจากแดดหากดูแลผิวไม่ดีพออาจเกิดปัญหาผิวเสียสะสม (dark skin )
แสงแดดตัวการสำคัญทำร้ายผิว หากต้องเจอเเสงแดดเป็นเวลานานโดยไม่ได้ปกป้องผิว ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนระคายเคือง จนเกิดปัญหาฝ้าแดด ผิวเกิดการหมองคล้ำอย่างเห็นได้ชัด
ผิวไหม้แดด เกิดจากอะไร ?
ปัญหาผิวหน้าไหม้แดด สาเหตุเกิดจากการที่ผิวหนังต้องเผชิญกับแสงแดดจัดเป็นระยะเวลานานเกิน 15 นาที โดยไม่ได้รับการปกป้อง ไม่สวมเสื้อเเขนยาว ไม่กางร่ม ไม่ทาครีมกันแดด หรือตากแดดเป็นเวลายาวนานโดยไม่ทาครีมกันแดดซ้ำ ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อน คัน แดงที่ผิวหนัง มีอาการระคายเคือง เกิดเป็นตุ่มใส และสำหรับผิวหน้า การโดนแดดเป็นระยะเวลานานจะทำให้ผิวเกิดการหมองคล้ำอย่างเห็นได้ชัด และถ้าโดนแดดเป็นสะสมเป็นระยะเวลานาน ก็อาจจะกลายเป็นฝ้าแดดได้
เเสงแดดเเละรังสียูวี ส่งผลเสียต่อผิวอย่างไร
แสงแดด หรือ แสงอาทิตย์เป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายกับเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ผิวอักเสบ สูญเสียคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ผิวคล้ำเสีย เกิดฝ้ากระ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งผิวหนังได้
ครีมกันแดดมีความจำเป็นต่อผิวเเค่ไหน
- หากทำงานที่บ้าน อยู่ในที่ร่มตลอด เหงื่อไม่ออก ก็อาจไม่มีความจำเป็นต้องทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง แต่หากต้องออกไปข้างนอก อยู่กลางแดด ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าครีมกันแดดนั้นจะมี SPF หรือ PA เท่าไหร่ก็ตาม
- ปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสมต่อการทาผิวหน้า 1 ครั้ง ควรบีบครีมกันแดดไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ/เหรียญ 10 บาท หากเป็นรูปแบบน้ำหรือสเปรย์ ควรใช้ในปริมาณที่มากกว่าแบบครีม
- นอกจากใบหน้าแล้ว อย่าลืมทาครีมกันแดดบริเวณคอ ใบหู และลำตัวด้วย
เคล็ดลับการเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับผิว
- เลือกค่า SPF และ PA ให้เหมาะกับชีวิตประจำวันมากที่สุด จะเลือกครีมกันแดดทั้งที สิ่งแรกที่ต้องโฟกัสเลยคือคุณสมบัติในการปกป้องผิวคุณจากแสงแดด ควรจะปกป้องคุณจากรังสี UVA และ UVB ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ดูส่วนผสมก่อนทุกครั้งว่าส่งผลเสียต่อผิวหรือไม่ เช่น ใส่สารกันบูด น้ำหอม เพราะจะทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้ง่าย แอลกอฮอลล์ ทำให้ผิวแห้ง
- เลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิว
- ผิวธรรมดา ผิวแห้ง เหมาะกับครีมกันแดดเนื้อครีม ที่มีส่วนช่วยให้ผิวชุ่มชื่น
- ผิวมันและผิวผสม ผิวแพ้ง่าย เหมาะกับครีมกันแดดเนื้อเจล และน้ำนม เพราะซึมซาบไว ไม่เหนียวเหนอะหนะ เบางเบา ลดความเสี่ยงต่อการอุดตันเป็นสิว
- ทดสอบอาการเเพ้ก่อนนำมาใช้ ทาครีมใต้ท้องแขน 15 นาที แล้วดูว่ามีผิดอาการปกติหรือไม่ อาทิ บวม แดง ร้อน คัน ถ้าหากมีก็ไม่ควรนำมาใช้
วิธีทาครีมกันแดดที่ถูกต้อง
1. ทาครีมกันแดดต้องรู้เวลา
หลายคนเมื่อทาครีมกันแดดแล้วก็ออกลุยทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มที่ โดยไม่รอให้เนื้อครีมลงเข้าสู่ผิว ทำให้ประสิทธิภาพของครีมกันแดดนั้นทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้น ทุกครั้งที่ทาครีมกันแดดจำเป็นที่จะต้องคำนวณเวลา โดยต้องรอให้ครีมกันแดดค่อยๆ ซึมเข้าสู่ชั้นผิว ขั้นตอนนี้อาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 20-30 นาที แล้วแต่คุณสมบัติของครีมนั้นๆ
2. ควรทาครีมกันแดดซ้ำๆ
วิธีทาครีมกันแดดที่ถูกต้องคือ ควรทาครีมกันแดดซ้ำๆ เพราะการทาครีมกันแดดเพียงครั้งเดียวก่อนออกจากบ้าน จะช่วยป้องกันแสงแดดได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ยิ่งถ้าต้องทำกิจกรรมที่ใช้แรงและเสียเหงื่อ อย่างการเล่น กีฬา หรือการเล่นน้ำ จะทำให้ครีมกันแดดค่อยๆ หลุดออกหรือระเหยออกไป จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรจะทาครีมกันแดดทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือสามารถทาซ้ำได้เรื่อยๆ ในช่วงระยะเวลา 90 นาที
3. ปริมาณของครีมกันแดดที่ใช้ต้องเป๊ะ
ในการทาครีมกันแดดแต่ละส่วนของร่างกาย ควรทาด้วยปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรทาน้อยเกินไปหรือมากเกินไป เพื่อให้ครีมกันแดดได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากการทาครีมกันแดด การใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีแล้ว อย่าคิดว่าผิวเราจะไม่โดนแดดทำร้าย100% แน่นอนว่ายังไงเราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ อยู่ที่ว่าจะโดนแดดทำร้ายมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติครีมกันแดด การเลือกครีมกันแดดให้ตรงตามกิจกรรมแต่ละวันของเรา บางคนครีมกันแดดละลายไป แป้งหลุดไป เนื่องจาก เหงื่อออกเยอะ ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือทางน้ำเยอะ ผิวก็ได้สัมผัสกับแสงแดดโดยตรงแล้ว และสาว ๆ ออฟฟิศ ที่ได้รับแสงจากหน้าจอคอมและไฟนีออนก็ทำให้เราหมองคล้ำได้เช่นกัน
เนื้อหานี้เหมาะสมกับหมวดหมู่ ความงาม
อ่านเพิ่มเติม : อันตรายที่คาดไม่ถึงของเเสงแดด
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.