กล่องโฟมใส่อาหาร อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

ยุคสมัยที่ชีวิตเร่งรีบ การกินอาหารใส่กล่องโฟมเป็นสิ่งที่สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา แต่อาจมีสารก่อมะเร็งแฝงอยู่กับอาหาร ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค( foam box )

หากกินอาหารใส่กล่องโฟมทุกวัน แม้จะกินแค่วันละมื้อ ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้คุณมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงมากกว่าคนปกติ หากเลี่ยงได้ก็จะดีกับสุขภาพเป็นอย่างมาก

กล่องโฟมบรรจุอาหาร และสารสไตรีนในโฟม อันตรายอย่างไร?

"กล่องโฟมบรรจุอาหาร" ใส่กับข้าวอาหารร้อนต้องระวัง หากกล่องโฟมสัมผัสกับอาหารที่ร้อนจัด จะทำให้กล่องโฟมเสียรูปทรงและหลอมละลายทำให้มีสาร “สไตรีน” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ออกมาปนเปื้อนอาหาร ก็จะทำให้ส่งผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ สารสไตรีนและสารเบนซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปะปนกับอาหารเมื่อเรารับประทานเข้าไป จึงก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพ หากใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารที่มีไขมันมาก ก็ยิ่งทำให้สารสไตรีนละลายเจือปนในอาหารได้มากขึ้น

สารจากกล่องโฟม ภัยสุขภาพ

ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการใช้กล่องหรือจานโฟมเพื่อเป็นภาชนะบรรจุอาหารเพื่อใส่กลับบ้านจากร้านค้าต่าง ๆ นั้น ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างมากทั้งที่มีการรณรงค์การลดการใช้เพื่อลดปัญหาสภาวะแวดล้อม ปัญหาสารก่อมะเร็ง และเพื่อสุขภาพต่าง ๆ สารเคมีที่เรากลัวกันนั้นคืออะไร และมีผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร

โฟม เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ผลิตจากพลาสติกที่ได้มาจากของเสียเหลือทิ้ง สีดำ ๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วยสารประเภทโพลีสไตรีน ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดและอาหารทอดที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ได้แก่ สารเบนซีน ที่หากดื่ม หรือรับประทานอาหารที่มีสารเบนซีนปนเปื้อนสูงจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพาะถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งในบรรดาสารเคมีที่ได้จากกล่องโฟมนั้น ที่เป็นอันตรายที่สุดคือ “สารสไตรีน” (Styrene) ที่มีพิษทำลายไขกระดูก ตับ และไต ทำให้ความจำเสื่อม มีผลต่อการเต้นของหัวใจ และเป็นสารก่อมะเร็งโดยอาจก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้

หลีกเลี่ยงการใช้กล่องโฟมใส่อาหาร ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

ปัจจัยที่ทำให้สารสไตรีนจากกล่องโฟมปนเปื้อนอาหาร

1. อุณหภูมิของอาหาร ไม่ว่าร้อนจัด หรือเย็นจัด ก็ทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้ 

2. หากปรุงอาหารด้วยน้ำมัน น้ำส้มสายชู หรือแอลกอฮอลล์ อาหารจะดูดซับสารสไตรีนได้มากขึ้น

3. ระยะเวลา หากทิ้งอาหารไว้ในกล่องโฟมนาน ก็จะยิ่งดูดซับสารสไตรีนมาสะสมได้มากขึ้น

4. หากนำกล่องโฟมบรรจุอาหารเข้าเตาไมโครเวฟ สารสไตรีนก็จะยิ่งไหลออกมาปนเปื้อนอาหารมากขึ้น

5. ถ้าอาหารสัมผัสกล่องโฟมมาก ๆ นาน ๆ ก็ยิ่งสะสมสไตรีนมาก ยิ่งถ้าหากใช้ถุงพลาสติกรองโฟมก่อนใส่อาหาร จะทำให้ได้รับสารสไตรีนมากเป็น 2 เท่า

พิษภัยของกล่องโฟมใส่อาหารที่คุณควรรู้

ทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหาร

เมื่อความร้อนจากการทำอาหารสูงเกินกว่า 70 องศาเซลเซียส ก็แน่นอนว่าสไตรีนและเบนซินจะละลาย พร้อมไหลออกมาแล้วเข้าไปปนเปื้อนในอาหารทุกชนิดที่ใช้กล่องโฟมเป็นบรรจุอาหาร ไม่ว่าจะนำใบตองหรือกระดาษมารองไม่ให้อาหารต้องสัมผัสกับโฟมโดยตรง ก็ไม่สามารถช่วยได้ ยิ่งถ้าใช้พลาสติกรองอาหารบนโฟมก็ยิ่งเพิ่มความอันตรายเป็น 2 เท่า เพราะเมื่อใดที่อาหารยังคงร้อนและมีไขมันในอาหาร สไตรีนก็เข้าไปปนเปื้อนได้เช่นกัน รวมไปถึงการนำกล่องโฟมบรรจุอาหารไปอบในไมโครเวฟก็จะเป็นตัวเร่งให้สารเบนซินและสไตรีนไหลเข้าสู่อาหารได้ง่าย แถมรวดเร็วกว่าเดิมเนื่องจากกล่องอาหารโฟมจะถูกความร้อนโดยตรงทำให้ปะปนอยู่ในอาหารจำนวนมาก และที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือไข่ไก่ดิบที่ยังมีเปลือกห่อหุ้ม เมื่อวางอยู่บนโฟมหรือแผงไข่ที่เป็นพลาสติกก็สามารถปนเปื้อนสารทั้ง 2 ชนิดนี้ได้เช่นกัน 

ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท

สไตรีนไม่ได้ส่งผลเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเท่านั้น แต่ยังเข้าไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลายด้วย จึงทำให้เกิดปัญหาสมาธิสั้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยจะเริ่มออกอาการมึนงง สมองเบลอ จำอะไรไม่ค่อยได้ จนอาจลุกลามสู่การเป็นโรคสมองเสื่อม ยิ่งไปกว่านั้นคืออาจจะทำให้การเคลื่อนไหวมีปัญหาและไม่สามารถทรงตัวได้ตามปกติ ประสาทส่วนกล้ามเนื้อต่างๆ ภายในร่างกายก็ถูกลดประสิทธิภาพลง จึงทำให้อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้อย่างง่ายดายอีกด้วย 

เสี่ยงมะเร็งมากกว่าคนปกติ 6 เท่า

โฟมถูกผลิตมาจากโพลิเมอร์ชนิดโพลิสไตรีน (Polystyrene) พร้อมด้วยส่วนผสมที่มีทั้งเบนซินและโมเลกุลที่คล้ายคลึงกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง ซึ่งถ้าพูดกันแบบตรงๆ คือ กล่องโฟมนั้นเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาจากของเสียในขั้นตอนการกลั่นน้ำมันเป็นของเหลือที่ถูกกลั่นแล้วทิ้ง แต่ด้วยความที่ยังสามารถขึ้นรูปและนำมาทำเป็นโฟมได้ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงเหมือนกับบรรจุภัณฑ์ที่มาจากวัสดุอื่น จึงทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่โฟมกลับมีปฏิกิริยากับความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส โดยจะปล่อยสารสไตรีนกับเบนซินออกมาปะปนกับอาหาร ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มสารตั้งต้นของมะเร็งที่ให้ความเสี่ยงสูงถึง 6 เท่า โดยเฉพาะผู้ที่ใช้งานกล่องโฟมเป็นกล่องบรรจุอาหารเพื่อรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ซึ่งในบ้านเราผู้ที่รับประทานข้าวกล่องโฟมอาหารกล่องโฟมมีจำนวนสูงมากจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งเต้านม, มะเร็งตับ และมะเร็งเม็ดเลือดขาว 

ทำลายอวัยวะภายใน

เรื่องที่น่ากลัวที่สุดของการใช้กล่องโฟมเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์อาหาร คือ การเข้าไปสะสมในร่างกายจนมีปริมาณมากพอที่จะทำลายอวัยวะภายในได้ พิษของสไตลรีนจะเข้าไปจับกระดูก ตับ ไต และหัวใจ จากนั้นก็จะเริ่มทำลายไปเรื่อยๆ พร้อมแสดงอาการให้เห็นคือผิวแห้งแตกแบบไม่มีเหตุผล, ผู้หญิงเริ่มประจำเดือนมาผิดปกติ, มีอารมณ์ฉุนเฉียวโกรธง่าย, หัวใจเต้นเร็วหรือบีบตัวแรงผิดปกติ, กระเพาะอาหารถูกทำลายจนเกิดอาการปวดท้องรุนแรง แล้วอาเจียนออกมาเป็นเลือด, เกิดอาการชักแบบไม่มีสาเหตุ และสุดท้ายคืออาจทำให้เสียชีวิตในเวลาที่รวดเร็ว เป็นต้น ส่วนผู้ที่ได้รับสารสไตรีนในปริมาณที่ไม่สูง แต่รับมาเรื่อยๆ สไตรีนก็จะถูกสะสมอยู่ในเลือด จนทำให้เกิดปัญหาเม็ดเลือดแดงลดลงจนเหลือแต่เม็ดเลือดขาว จึงเกิดการทำลายภูมิคุ้มกันตัวเองและอาจร้ายแรงไปจนถึงขั้นทำลายไขกระดูกเลยทีเดียว

สร้างมลภาวะที่ร้ายแรง

กล่องโฟมใส่อาหารไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังทำให้สภาพแวดล้อมและสัตว์ทุกชนิดต้องได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะขั้นตอนการผลิตนั้นจะมีการปล่อยของเสียออกมาทั้งทางน้ำและทางอากาศ เมื่อนำมาใช้งานแล้วทิ้งเป็นขยะก็ต้องรอให้สลายไปเองตามธรรมชาติถึง 450 ปี ในขณะเดียวกันที่คนทิ้งก็มีมากขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาขยะกล่องโฟมล้นโลก เกิดเป็นการสะสมเป็นอันตรายต่อธรรมชาติที่พร้อมปล่อยสาร CFC ออกมาทำลายชั้นบรรยากาศได้ ด้วยความน่ากลัวนี้จึงทำให้หลายประเทศออกมาต่อต้านและสั่งห้ามการใช้โฟมที่ผลิตจากสารสไตรีนอย่างเด็ดขาด 

เลือกใช้กล่องโฟมอย่างไรให้ปลอดภัยกับสุขภาพ

ในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับกล่องโฟมในท้องตลาด จึงมีการตรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์กล่องโฟมอยู่เสมอ และสารสไตรีนก็ปลอดภัยต่อการใส่อาหารได้ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง ดังนั้นผู้บริโภคอย่างเราๆ จึงสามารถใช้กล่องโฟม (ที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี) ได้อย่างปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม กล่องโฟมยังนับว่าเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก วิธีกำจัดก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน ดังนั้นจะเป็นการดีที่เราลดการใช้กล่องโฟมมาเป็นกล่องกระดาษ หรือใส่กล่องอาหารของตัวเอง เช่นเดียวกันกับการรณรงค์ให้ใช้แก้วของตัวเองใส่เครื่องดื่ม หรือการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

กล่องโฟมใส่อาหารไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังทำให้สภาพแวดล้อมด้วย

เราควรใช้อะไรแทนกล่องโฟมนอกจากกล่องโฟมที่ใช้บรรจุสิ่งของชนิดต่างๆแล้ว อีกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมในการใช้บรรจุอาหารได้อย่างปลอดภัย คือกล่องกระดาษรูปแบบต่างๆ เช่น กล่องข้าวชานอ้อย บรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น สามารถบรรจุอาหารได้อย่างปลอดภัย รวมไปถึงสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เพราะผลิตมาจากชานอ้อย เป็นวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กล่องไฮบริด กล่องกระดาษคราฟท์ กล่องกระดาษลูกฟูกเกรดที่สามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรงอย่างปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม : ใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำทำให้เป็นโรคมะเร็งจริงหรือ





kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง