มือชา สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรชะล่าใจ

อาการมือชา พบได้มากในช่วงวัยทำงานถึงวัยผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อย่าเมินเฉยควรรีบรักษาตั้งเเต่เนิ่นๆ ( Numb hands )

Numb hands

อาการมือชา สาเหตุที่พบบ่อยคือการที่เส้นประสาทถูกกดทับ เกิดจากการขยับใช้งานส่วนนั้นซ้ำๆ หรืออยู่ในท่าเดิมนานๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ต่างเป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

อาการมือชา เกิดจากอะไร

อาการชาเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบได้บ่อย คือ บริเวณมือและเท้า เช่น มือชา เท้าชา ชาปลายนิ้วมือ โดยลักษณะของอาการชาอาจเป็นได้ทั้งสูญเสียความรู้สึก รู้สึกแบบผิวหนังหนาๆ เป็นปื้นๆ หรือมีความรู้สึกที่แสดงออกมากกว่าปกติ เช่น ยิบๆ ซ่าๆ เหมือนเข็มทิ่ม ปวดแสบร้อน เสียวคล้ายไฟช็อต โดยลักษณะของอาการชาเหล่านี้ อาจเป็นอาการของโรคหรือเป็นสัญญาณแรกของโรค เช่น อาการชาจากการขาดวิตามิน จากโรคเบาหวาน อาการชาที่เกิดจากบางสาเหตุ หากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการเสียหายของเส้นประสาทอย่างถาวร ทำให้การรักษาหรือฟื้นฟูกลับมา ต้องใช้เวลามากกว่าปกติ หรือรักษาแล้วอาจเกิดความพิการหลงเหลืออยู่ได้ 

  • อาการปวดจะมีมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานในลักษณะการเกร็งอยู่นาน ๆ เช่น การจับมีด กรรไกร การทำงานช่างที่ใช้ค้อน หรือใช้เครื่องมือที่มีแรงสั่นสะเทือน ตั้งแต่เครื่องเป่าผมจนถึงเครื่องกระแทกเจาะคอนกรีต
  • มักจะมีอาการปวดในเวลากลางคืนหรือเวลาตื่นนอนเช้า บางรายที่ถูกกดทับอยู่นาน ๆ จะเริ่มมีอาการอ่อนแรงของมือ เช่น จะรู้สึกว่าไม่ค่อยมีแรง
  • เวลากำมือโดยเฉพาะการใช้มือหยิบของเล็ก ๆ จะทำได้ลำบากและมีกล้ามเนื้อลีบที่ฝ่ามือ

สาเหตุมือชา

อาการปวดและชาเกิดขึ้นเนื่องจากมีความดันสูงในช่องอุโมงค์ที่เส้นประสาทลอดผ่านที่บริเวณฝ่ามือ เนื่องจากมีการอักเสบและการหนาตัวของเนื้อเยื่อพังผืดที่คลุมช่องอุโมงค์นี้ เกิดการกดทับเส้นประสาทและเส้นประสาทในรายที่เป็นอยู่นาน ๆ ก็จะเกิดเนื้อเยื่อพังผืดบาง ๆ รัดเส้นประสาทอีกชั้นหนึ่ง ทำให้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล

เส้นประสาทหลักของมือถูกกดทับในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ทำให้บริเวณที่เส้นประสาทไปเลี้ยงนั้นเกิดอาการชาและปวด กลุ่มนี้สังเกตได้จากอาการชามือมักเป็นที่ด้านใดด้านหนึ่ง สาเหตุเกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดเบียดในตำแหน่งที่ชัดเจน 

โดยอาการมือชาที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงฝ่ามือด้านนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง

อาการชาที่เกิดจากระบบเส้นประสาทส่วนปลาย

  • ภาวะรากประสาทถูกกดทับ จากกระดูกต้นคอเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกเคลื่อน
  • ภาวะการกดทับของเส้นประสาทในแขนขา โดยมักพบในตำแหน่งที่เส้นประสาทอยู่ตื้น และสัมพันธ์กับการนั่งหรือทำท่าเดิมนานๆ ทำท่าทางใดๆ ซ้ำๆ หรือมากเกินไป เช่น การนั่งไขว้ขา การใช้มือทำงานคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน ใช้มือและนิ้วเล่นโทรศัพท์นานๆ ถือของหนัก นักกีฬาที่ต้องใช้มือหรือข้อมือเป็นหลัก ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการอ่อนแรง หรือมีกล้ามเนื้อในลีบได้หากถูกกดทับนานๆ
  • การบาดเจ็บที่เส้นประสาทโดยตรง เช่น ได้รับอุบัติเหตุ ทั้งนี้ ขึ้นกับตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกรบกวนด้วย โดยมักจะมีอาการชาแบบสูญเสียความรู้สึกและอ่อนแรงร่วมด้วย
  • โรคทางพันธุกรรม ที่ทำให้เส้นประสาทหรือปลอกประสาทส่วนปลายเสื่อม เช่น Charcot Marie Tooth Syndrome โดยผู้ป่วยมักมีประวัติคนในครอบครัวมีอาการเกี่ยวกับปลายประสาท มักมีอาการผิดรูปของเท้าหรือมือร่วมด้วย
  • การติดเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อไวรัสงูสวัด ซิฟิลิส เฮชไอวี
  • ภูมิคุ้มกันแปรปรวนชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง
  • ความเจ็บป่วยทางร่างกายที่รุนแรง

อาการชาเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะมือเเละเท้า

อาการชาแบบไหนที่ควรรีบมาพบแพทย์

อาการชาที่เกิดร่วมกับอาการปวด มักทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญหรือรบกวนชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและบรรเทาอาการอันไม่พึงประสงค์ดังกล่าว แต่อาการชาที่มีลักษณะร่วมอื่นๆ ที่ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ทำการรักษา และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

  • อาการชาที่มีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
  • อาการชาที่มีอาการผิดรูปหรือมีแผลร่วมด้วย
  • อาการชาร่วมกับมือเท้าร้อนหรือเย็นผิดปกติ
  • อาการชาที่มีลักษณะรับความรู้สึกของตำแหน่งไม่ได้ เสียการทรงตัว
  • อาการชาที่มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น มีอาการในตำแหน่งอื่นๆ เพิ่มขึ้น หรือตำแหน่งที่ต่อเนื่องกัน

เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง ป้องกันอาการมือชาได้

  1. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 เพราะเป็นกลุ่มวิตามินที่สำคัญต่อการบำรุงระบบประสาท เช่น ถั่ว ธัญพืช ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น 
  2. รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 6 เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม ไข่แดง ข้าวกล้อง ถั่วต่างๆ 
  3. รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 12 เช่น  เนื้อแดง ปลา สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น  
  4. รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฝรั่ง ส้ม มะขามป้อม มะละกอสุก บลอกโคลี คะน้า 
  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี 1 ที่บริเวณลำไส้เล็ก

รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี ช่วยป้องกันอาการมือชาได้้

อาการมือชาไม่ใช่โรค แต่เรียกว่าเป็นกลุ่มอาการ เนื่องจากอาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หรือมีอาการหลายอย่างรวมกัน เช่น บางคนมือชาน้อยแต่ปวดเยอะ บางคนปวดเยอะแต่ชาน้อย หรือบางคนมีอาการกล้ามเนื้อมือลีบลง ใช้งานได้ไม่ถนัด 

ด้วยความที่อาการแต่ละคนไม่เหมือนกัน และอาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย จึงควรได้รับการวินิจฉัยที่ละเอียดถี่ถ้วน การได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออร์โธปิดิกส์ด้านมือและข้อมือโดยตรง 

อ่านเพิ่่มเติม : กินผลไม้อย่างไร ให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุด

 

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง