คงจะเคยได้ยินกันมาว่า “น้ำด่าง” คือน้ำที่ดีต่อร่างกาย แต่อีกหลาย ๆ คน อาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อนว่าน้ำด่างมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร ( alkali water )
หากพูดถึงน้ำด่าง ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับใครหลายคน อาจเกิดคำถามว่าการดื่มน้ำด่างมีข้อดีข้อเสียอย่างไร หากดื่มทุกวันจะมีประโยชน์หรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย
น้ำด่าง คืออะไร?
น้ำด่าง หรือน้ำอัลคาไลน์ คือ น้ำที่มีความเป็นด่างหรือค่า pH ประมาณ 8 – 9 ซึ่งสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไปที่มีค่า pH อยู่ที่ 7 ทำให้มีรสชาติขมเล็กน้อย ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม และธาตุเหล็ก โดยค่าความเป็นด่างสูงจะช่วยปรับสมดุลความเป็นกรดด่างในร่างกาย และช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุได้ดีขึ้น อีกทั้งมีค่าเป็นลบสูง ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถต้านสารอนุมูลอิสระได้ดี แต่ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่า ค่าความเป็นกรด-ด่างของเลือด ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้จากเพียงแค่การดื่มน้ำ
น้ำด่างมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?
เนื่องจากน้ำด่าง มีค่าความเป็นด่างสูง และอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้การดื่มน้ำด่างมีข้อดีหลากหลายประการ ดังนี้
- ช่วยลดความเป็นกรดในกระแสเลือดและปรับสมดุลของร่างกาย
- มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
- ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร และระบบเผาผลาญ
- มีแร่ธาตุที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- มีแร่ธาตุที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ช่วยป้องกันความเสื่อมของกระดูก
- ปรับสมดุลการทำงานของระบบขับถ่าย ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก บรรเทาปัญหาท้องผูกได้
- ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยชะลอความแก่ชรา
- ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกายได้มากกว่าน้ำดื่มทั่วไป
- ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง
- บรรเทาอาการกรดไหลย้อน
- ทำให้เส้นผมแข็งแรง น้ำดื่มที่มีค่า pH เป็นด่าง จะช่วยเติมธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม สตรอนเซียม โมลิบดีนัม เหล็ก และซีลีเนียมในร่างกาย แร่ธาตุเหล่านี้สามารถช่วยรักษาสุขภาพของเส้นผมได้
น้ำด่างมาจากที่ไหนบ้าง
น้ำด่างเกิดขึ้นจาก 2 แหล่งที่มาด้วยกัน คือ จากแหล่งธรรมชาติที่มีน้ำไหลผ่านแร่ธาตุหรือชั้นหินปูน และจากการผลิตของเครื่องกรองน้ำที่ใช้เทคนิคและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อปรับค่าความเป็นด่างให้สูงขึ้น
น้ำด่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
น้ำด่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นน้ำที่มีความเป็นด่างตามธรรมชาติ เกิดขึ้นจากการที่น้ำไหลผ่านชั้นหินหรือสถานที่ที่มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น แหล่งกักเก็บน้ำใต้ดินตามธรรมชาติ น้ำตกจากภูเขาสูง และน้ำพุแร่
น้ำด่างจากเครื่องกรองน้ำ
น้ำด่างจากเครื่องกรองน้ำ มาจากการใช้กระบวนการแยกประจุไฟฟ้าของน้ำ หรือที่เรียกว่ากระบวนการอิเล็กโทรลิซิส ด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าโดยตรงไปยังน้ำ ผ่านแผ่นตัวนำไฟฟ้าขั้วลบ (Cathode) ทำให้ได้น้ำอัลคาไลน์ที่มีแร่ธาตุที่มีความเป็นด่างและมีค่า pH สูง
ดื่มน้ำด่างทุกวันเป็นอันตรายต่อร่างกายไหม
น้ำด่างมีสรรพคุณช่วยบรรเทากรดเกินในกระเพาะอาหารที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก และบรรเทาปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากการที่ร่างกายมีสารอนุมูลอิสระมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น กระดูกพรุน, ภูมิแพ้ผิวหนัง และอื่นๆ อีกมาก การดื่มน้ำที่มีความเป็นด่างสูงจะช่วยปรับสมดุลให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณต้องการดื่มน้ำด่างแทนน้ำดื่มทั่วไปก็สามารถดื่มได้ทั้งวันและทุกวัน นอกจากนี้น้ำด่างยังกำจัดสารปนเปื้อนที่อาจมาจากน้ำซึ่งเรามองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าของตัวเองอีกด้วย
ดื่มน้ำด่างจากแหล่งที่ได้มาตรฐาน
ควรดื่มน้ำด่างจากแหล่งผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ หรือใช้เครื่องกรองน้ำที่มีฟังก์ชันในการผลิตน้ำด่างที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากการดื่มน้ำด่างอย่างแท้จริง
ข้อเสียของน้ำด่าง
ถึงแม้ว่าน้ำด่างจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้านตามที่ผมได้เขียนไว้ แต่ถ้าเราดื่มน้ำด่างมากเกินไป ก็อาจมีผลข้างเคียงกับร่างกายได้ถ้ามีความเป็นด่างมากไป ได้แก่
- มีภาวะสับสน
- มือสั่น
- รู้สึกวิงเวียนศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- มีอาการอาเจียน คลื่นไส้
- รู้สึกชาที่ใบหน้า มือ และเท้า
- ปวดกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน
น้ำด่างอันตรายกับใครบ้าง
ทั้งนี้น้ำด่างอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคไต เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมา นอกจากนี้น้ำด่างอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะเหนื่อยง่าย มีอาการบวมน้ำ หรืออยู่ช่วงระหว่างรักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากการดูดซึมแร่ธาตุจากน้ำด่างเข้าสู่ร่างกายจะต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ อาจทำให้เหนื่อยง่ายยิ่งขึ้น ส่วนเด็กก็ไม่ควรดื่มน้ำด่างด้วยเช่นกัน เนื่องจากระบบทางเดินอาหารยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ หรือหากพบความผิดปกติหลังจากดื่มได้ไม่นาน ควรหยุดดื่มทันทีแล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด แต่หากคุณต้องการดื่มน้ำด่างจริง ๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมก่อนดื่ม
อ่านเพิ่มเติม : ดื่มชาทุกวันดีไหม เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเปล่า
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.