นอนละเมอ บ่งบอกปัญหาการนอน

อาการนอนละเมอ หลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติที่ใครก็เป็นได้ เเต่เเท้จริงเเล้วเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงคุณภาพการนอน ( sleepwalk )

 sleepwalk

ละเมอมักเกิดกับเด็กๆ เเต่จะหายไปเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา ผู้ใหญ่ก็สามารถเกิดได้เช่นกัน อาการจะคล้ายกับโรคหรือความผิดปกติของการนอนหลับอื่นๆ

อาการละเมอเป็นอย่างไร ?

อาจพบว่าการนอนละเมอบ่อยครั้งหรือนาน ๆ ครั้ง มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่นอนหลับไปแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง และอาการละเมอจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น

พฤติกรรมหรืออาการเมื่อละเมอ มีดังต่อไปนี้

  • ลุกขึ้นมาแล้วเดินไปมาในบ้าน หรือลุกขึ้นนั่งลืมตา
  • ลุกมาทำกิจกรรมที่เคยทำปกติในชีวิตประจำวัน เช่น เข้าห้องน้ำ แต่งตัว พูดคุย
  • ขณะที่ละเมอจะไม่มีการตอบสนอง
  • หลังจากละเมอแล้วกลับมานอนหลับได้อย่างรวดเร็ว
  • เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสับสนมึนงงชั่วขณะหนึ่ง
  • เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาไม่สามารถจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ หรืออาจจำได้เล็กน้อย
  • อาจมีปัญหาในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ในระหว่างวัน เพราะการเละเมอเป็นการรบกวนการนอนหลับอย่างหนึ่ง
  • บางรายอาจมีความหวาดกลัวกับการนอนหลับ เพราะละเมอบ่อยครั้ง

นอนละเมอเกิดจากอะไร?

ปกติอาการนอนละเมอจะเกิดขึ้นในเด็กอายุ 4-8 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน ถึงแม้สาเหตุของการนอนละเมอยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่สันนิษฐานได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นได้จากปัจจัยแวดล้อม เช่น ความเครียดสะสม การพักผ่อนไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยารักษาโรคบางชนิด การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือภาวะการถูกรบกวนขณะนอนหลับ เช่น

  • ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • อาการขาอยู่ไม่สุขขณะนอนหลับจนรบกวนการนอน
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • โรคกรดไหลย้อน
  • อาการไมเกรน

สาเหตุของการนอนละเมอ เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย

  1. การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ
  2. ความเครียดและความวิตกกังวล อาจทำให้ละเมอทำหรือพูดในสิ่งนั้นๆ ออกมา
  3. การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จนทำให้ไม่รู้ตัวว่านอนไปตอนไหน
  4. อาการป่วยหรือมีไข้สูง (โดยเฉพาะเด็กเล็ก) มีโอกาสทำให้มีอาการเพ้อระหว่างนอน หรือละเมอพูดเรื่องต่างๆ ได้
  5. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาที่ให้ฤทธิ์กล่อมประสาท
  6. กรรมพันธุ์ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องนี้เช่นกันการนอนละเมอในวัยเด็กจะสามารถหายไปได้เองเมื่อโตเข้าสู่วัยรุ่น จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หากไม่ถึงขั้นเกิดอันตรายกับตัวเอง 
  7. ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มโอกาสให้มีการละเมอ ได้แก่
    • กรรมพันธุ์ โอกาสที่จะทำให้นอนละเมอจะเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า หากพบว่ามีประวัติของคนในครอบครัวละเมออยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะพ่อและแม่นอนละเมอ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ลูกนอนละเมอเช่นกัน
    • อายุ ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการละเมอจะเกิดกับวัยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ แต่หากเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่มักจะมาจากปัญหาด้านสุขภาพ

การพักผ่อนไม่เพียงพออย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุของการนอนละเมอได้

ละเมออย่างไรถึงควรไปพบแพทย์ ?

การละเมอมักไม่ค่อยมีความรุนแรง แต่หากทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไข เช่นมีอาการดังนี้

  • ละเมอมากกว่า 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ง่วงนอนระหว่างวันมากและบ่อยครั้ง
  • เกิดอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บ เช่น ละเมอออกจากบ้าน ขับรถ หรือกระโดดจากที่สูง
  • รบกวนการนอนหลับของผู้อื่นหรือผู้นอนละเมอเกิดความอับอาย
  • ผู้ใหญ่ที่พบว่าตนเองเริ่มนอนละเมอ หรือพบบุตรหลานวัยรุ่นยังนอนละเมออยู่
  • หากละเมอโดยมีสาเหตุจากภาวะทางการแพทย์ เช่น โรคกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข อาการชัก ควรได้รับการรักษาและปรึกษาแพทย์

วิธีแก้นอนละเมอ รู้เคล็ดลับก็ป้องกันได้

เราสามารถป้องกันการนอนละเมอได้ด้วยการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสริมสุขนิสัยที่ดีในการนอนหลับ เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ตื่นและนอนให้เป็นเวลา ลดการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พยายามทำให้ตัวเองผ่อนคลายก่อนเข้านอน ไม่เล่นคอมพิวเตอร์ ไม่เล่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมอได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้หากพบว่ากินยาบางตัวแล้วมีอาการละเมอเกิดขึ้น อาจปรึกษาแพทย์ให้เปลี่ยนยาเพื่อลดผลข้างเคียง

นอนละเมอป้องกันและรักษาได้อย่างไร ?

โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรักษาการนอนละเมอ โดยเฉพาะละเมอที่เกิดในวัยเด็กจะสามารถหายไปได้เองเมื่อโตเข้าสู่วัยรุ่น เบื้องต้นสามารถดูแลผู้ที่นอนละเมอได้ คือ หากผู้ที่ละเมอลุกออกจากเตียง ให้ค่อย ๆ พากลับมานอนบนเตียงโดยที่ไม่จำเป็นต้องปลุกให้ตื่น เป็นต้น นอกจากนั้น สามารถป้องกันและเตรียมพร้อมสำหรับการนอนละเมอได้ ดังต่อไปนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามเข้านอนในเวลาเดิมทุก ๆ คืน
  • พยายามทำให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ อาบน้ำอุ่น หรือหายใจเข้า-ออกลึก ๆ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นก่อนนอน ไม่ว่าจะเป็นสื่อจากเสียงหรือภาพ  
  • ปรับเปลี่ยนบรรยากาศในห้องนอนให้มืดพอสำหรับการนอนหลับ หรือกำจัดเสียงรบกวนต่าง ๆ
  • งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนช่วงใกล้เวลานอนและเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนนอน

การนอนละเมอเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ได้มีความรุนแรงหรือน่ากลัวอะไร แต่จะพบว่าบางรายสามารถทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว เเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากพบว่าคนใกล้ตัวกำลังนอนละเมอ ควรช่วยหาทางป้องกันหรือรักษาหรือปรึกษาแพทย์ต่อไป

การนอนละเมอสามารถหาวิธีป้องกัน หรือปรึกษาเเพทย์ได้ อ่านเพิ่มเติม : เปิดไฟนอนมีผลต่อสุขภาพ อ้วนง่ายไม่รู้ตัว

 
kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง