หากคุณนอนดึกเป็นประจำ นอนดึกมีผลเสียอย่างไร ซึ่งต้องบอกเลยว่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายด้าน รวมถึงสุขภาพจิตและร่างกายด้วย ( Stay up late )
หลายคนมักคิดว่าการนอนดึกไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ที่จริงเเล้วอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ร่างกายอ่อนเพลีย อ้วนง่าย ควรปรับพฤติกรรมการนอนเพื่อไม่ให้เสียสุขภาพไปมากกว่าเดิม
การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือนอนมากจนเกินไป ไม่มีแบบไหนส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะทั้ง 2 แบบ ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณร้าย ที่อาจทำให้สุขภาพร่างกายของเราแย่ลง นอนไม่เพียงพอ คือการนอนน้อยจากการนอนไม่หลับ, การที่ต้องทำงาน หรืออ่านหนังสือสอบจนดึก และการใช้ชีวิตแบบคนสมัยใหม่ ที่ต้องมีปาร์ตี้ยามค่ำคืนเกือบทุกวัน เมื่อสะสมนานวันเข้าก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะตื่นสาย, กลิ่นตัวแรง, มีอาการเครียด, หงุดหงิดง่าย และสุดท้ายก็คืออาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เพราะร่างกายและสมองชินต่อการนอนดึก จนทำให้พ่วงปัญหาสุขภาพด้านอื่นตามมาอีกมากมาย
โรคร้ายที่เกิดจากการนอนดึก
โรคอ้วน
การอดนอนทำให้น้ำหนักขึ้น ไม่ใช่ผลจากการรับประทานอาหารและการไม่ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่การนอนดึกก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อ้วนได้เช่นกันเพราะการนอนดึกจนพักผ่อนน้อยทำให้ระบบเผาผลาญไขมันทำงานช้าลง คนนอนดึก ตื่นสายก็พลาดอาหารเช้าไปด้วย อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญของวัน ดังนั้น การนอนดึกและตื่นสายจึงไม่ใช่เรื่องดี
ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ
การนอนดึกส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญ ระบบอื่น ๆ ในร่างกาย ทั้งระบบย่อยอาหารและระบบไหลเวียนโลหิตไม่ทำงานเช่นกัน อาจทำให้ท้องผูกบ่อยทำให้ถ่ายลำบาก หากคุณมีอาการดังกล่าว นี่อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นว่าระบบย่อยอาหารของคุณกำลังมีปัญหา หากชะล่าใจอาจถึงขั้นลำไส้ผิดปกติหรือลำไส้อุดตันได้
โรคเบาหวาน
หากคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง การนอนดึกจะเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคเบาหวาน เพราะคุณอาจจะหิวตอนกลางคืน ยังส่งผลให้รู้สึกว่าร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้น ไม่แปลกที่ระดับกลูโคสและอินซูลินในเลือดจะเพิ่มขึ้นจนอยากกินของหวานตลอดเวลา
ปวดหัว
การตื่นนอนผิดเวลาอาจทำให้ปวดศีรษะต่อเนื่องได้ เนื่องจากอุณหภูมิของร่างกายและการไหลเวียนของเลือดจะปรับตามอุณหภูมิของแสงภายนอก นั่นหมายความว่า เมื่อตื่นสายแล้วลืมตาขึ้นมาเจอแสงแดดจัด ๆ ร่างกายจะต้องดิ้นรนเพื่อปรับตัวให้เข้ากับแสงนั้น หลอดเลือดก็จะบิดเบี้ยวไปด้วย สิ่งนี้อาจทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพื่อเร่งการสูบฉีดเลือดและเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายให้เท่ากับสภาพอากาศภายนอก กระบวนการนี้อาจทำให้เรารู้สึกวิงเวียนได้ง่าย บางคนปวดหัวเวียนศีรษะหลังตื่นนอน หากคุณมีอาการไมเกรน คุณมีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้สูงกว่าคนที่ไม่มีอาการไมเกรน
อารมณ์แปรปรวน
คนนอนดึกหรือนอนน้อยส่งผลให้ฮอร์โมน ระบบการทำงานของสมองฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ จนทำให้หงุดหงิด สมาธิสั้น ตอบสนองต่อสิ่งภายนอกช้า คิดช้า พูดช้า และอาจกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้ ยังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย
โรคหลอดเลือดหัวใจ
เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อคุณนอนไม่เพียงพอ นาฬิการ่างกายของคุณก็จะผิดเพี้ยนไป คุณมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้มีโปรตีนสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดหัวใจ เมื่อหลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันจนขวางการไหลเวียนของเลือด กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นภาวะอันตรายที่อาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน
โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
ในบางคนอาจต้องใช้เวลาเกินกว่า 30 นาที ถึงจะสามารถหลับได้ หรืออาจจะหลับ ๆ ตื่น ๆ ทั้งคืน จนทำให้ตื่นกลางดึก แล้วก็ไม่สามารถหลับอีกเลย และโรคนอนไม่หลับ ยังส่งผลต่อการเข้าห้องน้ำบ่อยทั้งคืน เพราะร่างกายต้องการดูดซับน้ำมากกว่าคนปกติ ซึ่งจะต้องมีอาการแบบนี้เกิน 1 เดือน ถึงจะเรียกว่าการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง
เพราะการนอนไม่หลับจะทำให้ฮอร์โมน “เทสโทสเทอโรน” ต่ำลง ซึ่งทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลงไปด้วย จากการตรวจของแพทย์ จะเห็นได้ว่าผู้ที่เสื่อมสรรถภาพทางเพศส่วนใหญ่ มักจะมีสาเหตุมาจากการพักผ่อนน้อย หรือนอนไม่หลับเลยทั้งคืน
โรคซึมเศร้า
การนอนไม่หลับเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้เป็นอันดับแรกของโรคซึมเศร้า เพราะการนอนดึกจะส่งผลเสียต่ออารมณ์หลังตื่นนอน บางคนอาจมีอาการหงุดหงิด และมีอารมณ์แปรปรวนง่าย
ความจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องนอนหลับให้ครบ 8 ชั่วโมงเสมอไป เพราะการนอนเพียง 5-6 ชั่วโมงที่หลับลึก และไม่มีการสะดุ้งตื่นบ่อยสามารถทำให้รู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่าได้ไม่น้อยไปกว่าการนอนครบ 8 ชั่วโมง
อาการนอนหลับไม่เพียงพอ
- ตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น อยากจะนอนต่ออีก
- มีอาการง่วงในระหว่างวันอยู่เรื่อยๆ
- สามารถหลับไปภายในเวลา 5 นาที เมื่อมีโอกาสได้นอน
ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
การนอนน้อย นอนดึก หรือการนอนหลับไม่เพียงพออาจเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยให้ร่างกายควบคุมการนอน หรือตื่น ซึ่งมักจะมีปัญหา หรือได้รับผลกระทบมาจากสาเหตุอื่นๆ ดังนี้
- สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น อยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมากเกินไป หรือมีเสียงดังเกินไป
- การเปลี่ยนแปลงตารางเวลานอน เช่น ผู้ที่ต้องทำงานเข้ากะ หรือต้องสลับกะอยู่ตลอดเวลา ร่างกายอาจปรับเวลาไม่ทันจึงทำให้ง่วงในช่วงที่ทำงานได้
- เจ็ตแล็ก (Jet lag) เกิดขึ้นได้เมื่อต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีโซนเวลาไม่เท่ากันทำให้ร่างกายปรับไม่ทัน
- ผลกระทบจากยาและแอลกอฮอล์ ยาบางชนิด หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน อาจมีผลให้ไม่รู้สึกง่วง จนนอนดึก แต่หากดื่มในช่วงเวลาอื่น ๆ อาจไม่ส่งผลกระทบ
วิธีแก้ปัญหาการนอนดึก
มีหลายวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาการนอนดึกได้ อาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือกิจวัตรประจำวันบางอย่างในเบื้องต้น โดยปัญหาการนอนดึกมีวิธีแก้ดังนี้
- พยายามจัดการกับงานที่เครียดในช่วงต้น ๆ ของวัน ส่วนงานที่ไม่ค่อยใช้ความคิดมาก ให้เก็บไว้ทำในตอนท้ายของวัน
- กำหนดเวลานอนให้เป็นกิจวัตรโดยมีช่วงเวลาผ่อนคลายก่อนเข้านอน
- ไม่ทำกิจกรรมอื่น ๆ บนเตียงนอน เช่น ดูทีวี ใช้เตียงนอนเพียงเพื่อนอนหรือกิจกรรมทางเพศเท่านั้น
- สวมแว่นตาเลนส์สีเหลืองหรือสีส้มอ่อนเมื่อต้องทำงานดึก เพราะจะช่วยป้องกันแสงสีน้ำเงินมากระทบดวงตา และเมื่อถึงบ้านดึก ควรรีบเข้านอนทันที
- จำกัดการบริโภคคาเฟอีน หรือหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนในช่วงบ่าย
- หลีกเลี่ยงการบริโภคแอลกอฮอล์ก่อนนอน เพราะอาจทำให้ต้องตื่นระหว่างคืน แต่หากดื่มแอลกอฮอล์ในตอนเย็น ๆ ก็อาจช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ ที่มีคาเฟอีน หรือน้ำอัดลม
- เข้านอนให้ตรงเวลา ร่างกายจะจดจำเวลานอนเอง
- หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดท้อง เนื่องจากจะมีอาการกดไหลย้อน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกก่อนนอน เพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว นอนไม่หลับ
จะเห็นได้ว่าการนอนดึกนั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เราควรหันมาใส่ใจเรื่องการนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรคภัย เเละยังช่วยให้ผิวพรรณสดใสขึ้น ไม่หมองคล้ำ ช่วยลดอายุได้อีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม : นอนน้อยส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่น้อย
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.