ทำสีผมบ่อย เสี่ยงอันตรายต่อร่างกายอย่างไร

การทำสีผมเป็นที่นิยมอย่างมากในยุคนี้ เพราะสีผมสามารถช่วยเปลี่ยนลุคเพิ่มเสน่ห์ เสริมความมั่นใจให้ดูดีขึ้นได้ ( Hair dyes )

Hair dyes

การทำสีผมบ่อยๆ สารเคมีจากยาย้อมผมอาจทำให้เส้นผมไม่แข็งแรง หลุดร่วงง่าย หนังศีรษะระคายเคือง ผมแห้งเสีย และอาจนำไปสู่มะเร็งหนังศีรษะได้ หากทำติดต่อกันเป็นเวลานาน

ย้อมผม-ทำสีผมบ่อย อันตรายแค่ไหน

ผลิตภัณฑ์ยาย้อมผม เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน มีจำหน่ายทั่วไป บางคนทำสีผมอยู่บ่อยครั้ง และมักใช้ผลิตภัณฑ์ยาย้อมสีผมติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งสารเคมีที่อยู่ในยาย้อมผม สามารถทำอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพของเราได้ หากขาดความระมัดระวังในการใช้สารเคมีที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ย้อมผมมากที่สุด คือสาร พาราฟินีลินไดอะมีน หรือเรียกสั้นๆว่า PPD พบทั้งในผลิตภัณฑ์ย้อมผมประเภทชั่วคราว และถาวร มักก่อให้เกิดการแพ้มากที่สุดในกลุ่มผู้ใช้งาน โดยความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ ระยะเวลาในการย้อม และสภาวะของร่างกายของแต่ละบุคคล

โดยอาการที่เกิดขึ้นได้แก่
อาการบวมบริเวณเปลือกตา ใบหน้า และริมฝีปาก โดยในขั้นแรกผิวหนังมีผื่นแดงเป็นตุ่มใส และมีน้ำเหลือง มีอาการคันมากบริเวณศีรษะ ใบหน้าและต้นคอ ในบางรายที่มีอาการแพ้มากจะทำให้หายใจลำบาก นอกจากนี้ ทำให้เกิดจ้ำเขียวเป็นผื่น
ดังนั้นก่อนใช้จึงจำเป็นต้องมีการทดสอบการแพ้ก่อนทุกครั้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องติดตาม ความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด โดยการควบคุมปริมาณของ PPD ในผลิตภัณฑ์ย้อมผมไม่ให้เกินร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก

ย้อมผม ทำสีผม บ่อยๆ จะเกิดอันตรายอย่างไร

  • อาจเกิดการกระตุ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้เกิดการอักเสบ หรือผื่นแพ้สัมผัสได้
  • สารในน้ำยาย้อมผม ยิ่งมีความเข้มของสีมาก ยิ่งทำให้เกิดการแพ้ได้มาก
  • ควรหลีกเลี่ยงยาย้อมผมที่มีสาร Resorcinol และพาราฟีนีลีนไดอะมีน PPD ในปริมาณมาก เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัสได้
  • หากมีปัญหากับผิวหนังบนหนังศีรษะ เช่น มีแผล, มีรังแคมาก ควรหลีกเลี่ยงการทำสีผม เพราะสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่มักอยู่ในยาย้อมผม อาจทำให้บนหนังศีรษะ เกิดอาการระคายเคืองมากขึ้น

อาการของโรคผื่นแพ้สัมผัส

หากมีอาการแพ้สารเคมีในน้ำยาย้อมผม อาจมีอาการผื่นแพ้สัมผัส ที่สามารถพบได้ เช่น 

  • บวม แดง คันหนังศรีษะ และผิวหนังบริเวณรอบศรีษะ
  • อาจเกิดเป็นผื่นลมพิษ หรือตุ่มน้ำพอง
  • อาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสสารเคมีตัวเดิมๆ
  • หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง

การย้อมผม อาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง?

ในอดีต เมื่อราว 20 – 30 ปีก่อน น้ำยาย้อมผม อาจมีสารเคมีที่ค่อนข้างอันตราย และอาจก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ แต่ในปัจจุบัน สารเคมีที่ใช้ในน้ำยาย้อมผม ค่อนข้างปลอดภัยได้มาตรฐาน จึงมั่นใจได้ว่า ไม่มีการพบสารก่อมะเร็งดังกล่าวอีกต่อไป แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากอาการแพ้สารเคมีเกิดขึ้นได้ในบางรายอยู่ดี

 น้ำยาย้อมผม อาจมีสารเคมีที่ค่อนข้างอันตราย และอาจก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งได้

วิธีดูแลรักษาเส้นผม และหนังศีรษะอย่างถูกต้อง

  1. ทำความสะอาดเส้นผม และหนังศีรษะด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพเส้นผมของเรา เช่น ยาสระผมที่เน้นเรื่องการบำรุงผมแห้ง ผมทำสี ขจัดรังแค หรือลดความมันบนหนังศรีษะ ฯลฯ
  2. ไม่ใช้น้ำอุ่นจัดในการสระผม เพราะอาจทำให้เส้นผม และหนังศีรษะแห้งจนเกินไป
  3. สระผมวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน เพื่อรักษาความสะอาดของเส้นผม และหนังศีรษะ โดยไม่ทำให้เส้นผม และหนังศีรษะแห้งจนเกินไป
  4. หลีกเลี่ยงการเป่าผมด้วยความร้อน เพราะอาจทำให้เส้นผม และหนังศีรษะแห้ง และถูกทำลายได้ง่าย
  5. รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผม โดยเฉพาะอาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น นมถั่วเหลือง ไข่ ถั่ว เนื้อสัตว์ รวมถึงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักใบเขียว และเครื่องในสัตว์ เป็นต้น
  6. งดการสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่อาจทำให้เส้นผมเปราะหักขาดง่าย และเพิ้มความเสี่ยงในการเกิดผมหงอก
  7. ไม่ทำสีผมบ่อยจนเกินไป เพื่อลดการรบกวน และทำลายเส้นผม และหนังศีรษะจนเกินไป

“น้ำยาเปลี่ยนสีผม” มีชนิดไหนบ้าง 

  • ชนิดถาวร เป็นกลุ่มยาย้อมผมที่สีติดแน่นทนนานมาก และการที่สีติดทน ไม่ค่อยหลุดลอกง่าย ๆ หมายความว่า เส้นผมมีสารเคมีสะสมอยู่มาก จะเห็นผมขาว ผมหงอกอีกครั้งก็ตอนที่ผมยาวขึ้น หรือมีผมเส้นใหม่งอกออกมา
  • ชนิดกึ่งถาวร เป็นการเปลี่ยนสีผมที่ลึกไปถึงแกนผม ติดทนระดับหนึ่ง สีผมจะเริ่มหลุดหลังผ่านการสระผม 5 - 10 ครั้ง
  • ชนิดชั่วคราว เป็นน้ำยาเปลี่ยนสีที่ไม่ซึมลึกถึงในเส้นผม แต่จะเคลือบเส้นผมภายนอก ทำให้สีผมเปลี่ยนไปตามต้องการ  สีผมจะเริ่มหลุดลอกหลังผ่านการสระผมไปแล้ว  1 - 2 ครั้ง
  • ชนิดกัดสีผม ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมชนิดนี้คือ น้ำยากัดสีผมที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเม็ดสีในเส้นผม ใช้เพื่อทำให้ผมสีเข้มเปลี่ยนเป็นโทนสีสว่าง ก่อนใช้น้ำยาเปลี่ยนสีผมเป็นสีที่ต้องการอีกครั้ง  
  • ชนิดไม่มีแอมโมเนีย ถือเป็นยาย้อมผมที่ค่อนข้างนิยม ไม่มีแอมโมเนีย ลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ แต่สีก็อาจไม่ติดทนเท่าชนิดอื่น
  • ชนิดธรรมชาติ คือผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมออร์แกนิคที่ทำจากพืช สีไม่ติดทนนัก เพราะไม่ซึมลึกถึงแกนผม แต่ปลอดภัย  ไม่ทำลายสุขภาพเส้นผม กลิ่นไม่ฉุน ไม่ทำให้ระคายเคืองต่อผิว

ไม่ใช้น้ำอุ่นจัดในการสระผม อาจทำให้เส้นผม และหนังศีรษะแห้งจนเกินไป

วิธีบำรุง ไม่ให้ผมแห้งเสียจากการทำสีผม มีอะไรบ้าง

ใช้ทรีทเมนต์ผมในการบำรุง

ใช้ทรีทเมนต์ในการบำรุงผม เป็นหนึ่งในวิธีที่ไม่ควรมองข้าม และควรเลือกใช้ทรีทเมนต์ผมสำหรับทำสีโดยเฉพาะ เพราะทรีทเมนต์ลักษณะนี้จะมีส่วนผสมที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงมากกว่า และอนุภาคขนาดเล็กกว่าครีมนวด บำรุงผมได้ตั้งแต่เกล็ดผมไปจนถึงด้านในของเนื้อผม

ใช้มาส์กในการบำรุงผม

นอกจากเรื่องทรีทเมนต์ผมแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง และไม่ควรมองข้าม คือ เรื่องของการมาส์กผม ซึ่งมาส์กก็จะช่วยให้เกิดการบำรุงผมอย่างล้ำลึกเช่นเดียวกัน ถือเป็นตัวช่วยในระดับ A List ที่ฟื้นบำรุงผมแห้งเสีย ผมแตกปลายได้เป็นอย่างดี สำหรับขั้นตอนนี้

เล็มปลายผมอย่างสม่ำเสมอ

อย่าลืมที่จะเล็มปลายผมอย่างสม่ำเสมอ ด่านแรกที่ทุกคนต้องเจอหลังทำสีผม คือ ผมแตกปลาย มีวิธีการแก้ไขง่าย ๆ คือคอยเล็มปลายผม เพื่อให้ผมดูสุขภาพดีและง่ายต่อการบำรุง

หมักผม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

หมักผม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ การหมักผมด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงผม ที่มีส่วนผสมความชุ่มชื้น หรือส่วนผสมของน้ำมัน บำรุงได้อย่างล้ำลึก เพื่อลดความแห้งเสีย และสร้างความแข็งแรงของเส้นผม ให้ผมมีน้ำหนัก และดูเงางามมากขึ้นหลังทันทีหลังสระผม

งดว่ายน้ำไปสักระยะ 

หลายคนอาจสงสัยว่าทำสีผมแล้วเกี่ยวอะไรกับว่ายน้ำ ? คำตอบคือในสระว่ายน้ำมีการนำสารคลอรีนมาผสมเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค แต่ในทางกลับกันก็ทำให้สีผมของสาว ๆ หลุดง่าย หรือบางเคสทำให้สีผมเพี้ยนไปเลยก็มี ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้สีผมสวยๆเฟดไว ควรงดไปว่ายน้ำสักระยะจะดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม : ทริคเลือกทรงผมตามรูปหน้า เสริมบุคลิกให้ดูดี ไม่มีตกเทรนด์

kanyarat sakunkim

kanyarat sakunkim

2 comments

Andy Anderson

Andy Anderson

March 12, 2022

Mary Williams

Mary Williams

March 12, 2022

Tell us what you think!

You are replying to Mary Williams. You can post a new comment instead.

บทความที่เกี่ยวข้อง