เคยได้ยินไหมว่าหากไม่กินแป้งจะทำให้ลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น แต่บางครั้งเมื่องดแป้งแล้ว น้ำหนักก็ยังไม่ลงสักที และในบางรายน้ำหนักกลับเพิ่มขึ้น ( Starchy food )
หลายคนเข้าใจว่าการงดแป้งจะทำให้ผอมลง เเท้จริงเเล้วหากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพออาจทำให้เราขาดพลังงาน สมองไม่ทำงาน เหนื่อยง่าย อยากอาหารมากขึ้นกว่าเดิม
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ อะไร
คาร์โบไฮเดรต คือหนึ่งในกลุ่มของสารอาหารหลักและเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกายที่สามารถพบได้ในหลายรูปแบบ เช่น น้ำตาล แป้ง ใยอาหาร หรือพบเห็นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ข้าว ถั่ว ธัญพืชชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยวไปจนถึงขนมปังและเบเกอรี่โดยคาร์โบไฮเดรตจะมีหน่วยที่เล็กที่สุดคือน้ำตาลกลูโคส(Glucose)เป็นน้ำตาลที่อยู่ในเลือดสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย
คาร์โบไฮเดรตแบ่งเป็น 2 ประเภทคือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
- คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว หรือน้ำตาลเชิงเดี่ยว มักพบในน้ำตาลที่ผ่านการขัดสี เช่น น้ำตาลทรายขาว และยังพบได้ในอาหารอื่นๆที่ให้คุณค่าทางโภชนาการเช่นกัน ได้แก่ ผลไม้ หรือน้ำนม ซึ่งเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่ควรเลือกรับประทาน ไม่มีน้ำตาลปรุงแต่งและอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ควรเลี่ยงอาหารที่ปรุงแต่งด้วยน้ำตาล เช่น คุกกี้ ซีเรียล พาย น้ำผลไม้ ลูกอม เป็นต้น
- คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อาหารจำพวกแป้งและเส้นใยอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากธัญพืชอย่างขนมปัง แครกเกอร์ เส้นพาสต้า ข้าว ผักใบเขียว ถั่วต่าง ๆ
ทั้งนี้ควรเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนชนิดผ่านการขัดสี เช่น ข้าวขาว หรือขนมปังขาว ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้สูญเสียคุณค่าทางสารอาหาร
ประโยชน์ของการรับประทานอาหารประเภทแป้ง
การรับประทานอาหารประเภทแป้งในปริมาณที่เหมาะสม อาจให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
- เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
อาหารประเภทแป้งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย โดยร่างกายจะย่อยอาหารประเภทแป้งและเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลกลูโคส จากนั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และส่งไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานเมื่อทำกิจกรรม เช่น การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การใช้ความคิดและการหายใจ
- อาจลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง
อาหารประเภทแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ ประกอบด้วยไฟเบอร์ แร่ธาตุ และวิตามิน ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคมะเร็ง
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหาร
อาหารประเภทแป้งจำพวกผัก ผลไม้ และธัญพืช มักมีใยอาหารสูง อีกทั้งยังมีน้ำและวิตามินต่าง ๆ ที่ดีต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ช่วยเพิ่มกากใย และอาจช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้
ไม่กินแป้งผลเสียเป็นอย่างไร
ซึ่งจะได้มาจากการย่อยสลายของคาร์โบไฮเดรต และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เป็นพลังงานของเซลล์สมอง เมื่องดแป้งจะมีอาการดังนี้
- อ่อนเพลีย
- วิงเวียน และปวดศีรษะ
- ใจสั่น มือสั่น
- หน้ามืด
- ตาลาย
- เหงื่อออก
- หงุดหงิด
- วิตกกังวล
โทษของการรับประทานอาหารประเภทแป้ง
การรับประทานอาหารประเภทแป้งที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ในปริมาณที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยเผาผลาญพลังงาน อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่หากรับประทานอาหารประเภทแป้งที่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว พาสต้า ในปริมาณมาก และไม่มีการออกกำลังกาย อาหารประเภทแป้งเหล่านี้อาจเปลี่ยนเป็นไขมัน เก็บสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงในหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน และเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคมะเร็งบางชนิดได้
กินแป้งอย่างไรไม่ให้อ้วน
- เน้นการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ร่างกายจะใช้เวลาย่อย ดูดซึมนานกว่าแบบเชิงเดี่ยว ทำให้อิ่มเร็ว ไม่หิวง่าย
- เลือกบริโภคข้าวไม่ขัดสี หรือธัญพืชเต็มเมล็ด
- เพิ่มปริมาณผัก ผลไม้
- ลดไขมัน น้ำตาล โซเดียม ในอาหารและเครื่องดื่ม
คาร์โบไฮเดรตที่ควรจะได้รับของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัตราการเผาผลาญ และกิจกรรมที่ใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน แต่จะอยู่ในช่วง 1,200-2,000 กิโลแคลอรี่ นอกจากนี้หากได้รับไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดการใช้โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานทดแทน ส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบแบน ผิวหนังเหี่ยวย่น ซูบผอมอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม : ลดน้ำหนักเท่าไร ก็ไม่ผอมลงสักที
2 comments
Andy Anderson
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.
Mary Williams
March 12, 2022
This is some additional paragraph placeholder content. It has been written to fill the available space and show how a longer snippet of text affects the surrounding content. We'll repeat it often to keep the demonstration flowing, so be on the lookout for this exact same string of text.